ปวดศีรษะ (ปวดหัว)
- ถ้าปวดหัวรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน, อาเจียนมาก, ตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน, ปวดร้าวมาที่แขน, มือ เท้าชาหรืออ่อนแรง, เดินเซ, หรือก้มคอไม่ลง, หรือปวดถี่และแรงขึ้นทุกวัน, หรือปวดติดต่อกันตลอดเวลาเกิน 3 วัน ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
-
ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้
- ใช้ยาหม่องทานวด. ถ้าไม่หายให้กินยาแก้ปวด ยาแก้ปวด. ถ้าไม่หายใน 1 สัปดาห์ ควรไปหาหมอ.
- ถ้าปวดเพราะเครียด ให้รักษาแบบกังวลหรือเครียด กังวลหรือเครียด.
- ถ้าปวดหัวจากลมตะกัง (ไมเกรน) ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่จะเป็นๆ หายๆ ในช่วง อายุ 15-55 ปี. มักเริ่มด้วยอาการตาพร่า เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้, แล้วเริ่มปวดตุบๆ ตรงขมับข้างเดียว หรือ 2 ข้าง, ปวดรุนแรงขึ้นๆ และนาน 4-72 ชั่วโมง โดยมีประวัติเป็นๆ หายๆ เป็นประจำเวลามีสิ่งกระตุ้น. มักเริ่มปวดครั้งแรกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว.
การรักษาให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้กิน ยาแก้ปวด ทันทีเมื่อเริ่มมีอาการปวด (หากปล่อยให้ เป็นนานเกินครึ่งชั่วโมง ยาแก้ปวดอาจใช้ไม่ได้ผล). ถ้าเป็นไปได้ หลังกินยาแล้วควรนอนหลับสักตื่น (ถ้าหลับได้จะหายปวด) หรือนั่งพักในห้องสลัวๆ เงียบๆ และอากาศปลอดโปร่ง หายใจเข้าออกแรงๆ ผ่อนคลายอารมณ์สักครู่.
- ควรหาสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวด (เช่น ถูกแสงแดดหรือแสงจ้าๆ, ใช้สายตาเพ่งมาก, ได้ยินเสียงดัง, ได้กลิ่นฉุนๆ, เหนื่อยเกินไป, นอนไม่พอ, หิวจัด, อากาศร้อนไปหนาว ไป, ใกล้มีประจำเดือน, อารมณ์ขุ่นมัว, กินยาคุมกำเนิด, เหล้า, เบียร์, ไวน์, ช็อกโกแลต, ถั่วต่างๆ, ยานอนหลับ) แล้วหลีกเลี่ยงเสีย จะได้ไม่ปวดบ่อย.
- ถ้าเป็นบ่อยๆ หรือปวดหัวข้างเดียวที่เพิ่งเป็นในคนอายุมากกว่า 40 ปี ควรไปหาหมอ.
- ในกรณีที่เป็นไมเกรนบ่อยๆ หมออาจใช้ยาช่วยป้องกัน เช่น กินยาอะมิทริปไทลีน ขนาด 10 มก. ก่อนนอนทุกคืนอย่างน้อย 3 เดือน.
- อ่าน 16,005 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้