• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เจ็บหัวใจ (ตอนที่ 7)

เจ็บหัวใจ (ตอนที่ 7)

ตัวอย่างคนไข้รายที่ 4 หญิงจีนอายุ 64 ปี ถูกพามาที่ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง กลางดึกด้วยอาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่ออกมาประมาณครึ่งชั่วโมง
ลูกชายซึ่งเป็นหมอเป็นคนพามาเอง และเล่าว่า

ลูกคนไข้ : คุณแม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เคยเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเมื่อ 2 ปีก่อน รักษากับอาจารย์ท่านหนึ่งอยู่เป็นประจำ แต่ช่วงนี้ท่านไปเมืองนอก แล้วคุณแม่เกิดไม่สบาย ผมขอโทษที่โทร.ตามอาจารย์มาดูคุณแม่กลางดึก อาจารย์ช่วยรักษาคุณแม่ด้วยครับ”
หมอ :คุณแม่มีโรคอย่างอื่นด้วยหรือเปล่า”
ลูกคนไข้ : “มีครับ คุณแม่มีโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง และไขมันในเลือดสูงด้วยครับ อ้อ ไตของคุณแม่ก็ไม่ค่อยดีครับ ครีอะตินีนในเลือดประมาณ 2.5 มก% ครับ” (ครีอะตินีนในเลือดคนปกติจะน้อยกว่า 1.2 มก% ในคนสูงอายุควรจะน้อยกว่า 1.5-2.0 มก%)
คุยกับคนไข้คร่าวๆแล้ว หมอก็หันไปทักทายคนไข้
หมอ : “สวัสดีครับ ตอนนี้แน่นหน้าอกมามั้ยครับ”
ขณะทักทายและถามอาการคนไข้ หมอสังเกตเห็นว่าคนไข้มีอาการเครียด กังวล กระสับกระส่ายเล็กน้อย จับชีพจรและมือคนไข้พบว่าชีพจรแรงดีและมืออุ่นเป็นปกติ แต่หายใจแรงและถอนหายใจบ่อยๆ
คนไข้ :แน่นหน้าอกมาก หายใจไม่ออก หมอช่วยเร็วๆหน่อย”
หมอ : ครับ” หมอหันไปบอกพยาบาล “ช่วยให้ออกซิเจนหน่อย และเอายาอมใต้ลิ้นมาให้คนไข้เดี๋ยวนี้”
คนไข้ :ยาอมใต้ลิ้นไม่ต้อง อมมาหลายเม็ดแล้ว ไม่เห็นหายเลย แสบลิ้นไปหมดแล้ว หมอฉีดยาดีกว่า”
หมอ
: “ครับ ขอหมอตรวจสักนิดก่อน จะได้รู้ว่าจะใช้ยาฉีดชนิดไหนนะครับ”
หมอตรวจคนไข้อย่างคร่าวๆ ไม่พบสิ่งผิดปกติ นอกจากอาการหายใจเร็วและถอนหายใจบ่อยๆ ความดันเลือด 180/100 และคนไข้เครียด หงุดหงิด และไม่ร่วมมือเท่าที่ควร
หมอฉีดยาคลายกังวลเข้าเส้นช้าๆ จนคนไข้สงบลงแล้วตรวจใหม่อีกครั้ง ความดันเลือดลดลงเป็นปกติ หายใจดีขึ้น ไม่พบอะไรผิดปกติเพิ่ม จึงให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนไข้ที่ทำไว้หลายต่อหลายครั้งในระยะ 6 เดือนนี้

หมอ :ฉีดยาแล้วสบายขึ้นมั้ยครับ”
คนไข้ : “ดีขึ้น แต่ยังแน่นๆอยู่ ทำไมชั้นจึงแน่นและเหนื่อยบ่อยๆล่ะหมอ อมยาก็ไม่หาย 6 เดือนมานี้เข้าโรงพยาบาลไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ยาก็กินเป็นประจำไม่เคยขาดสักมื้อเดียว มีลูกเป็นหมอก็ไม่เห็นช่วยอะไรแม่ได้ กลุ้มใจจริง แล้วหมอคนเก่าหายไปไหนล่ะ” แล้วคนไข้ก็ร้องไห้
ลูกคนไข้ :โธ่ คุณแม่ ผมก็พยายามช่วยคุณแม่เต็มที่แล้ว อาจารย์คนเก่าท่านไปนอก จึงให้อาจารย์ช่วยดูแลแม่ไปก่อน คุณแม่ไม่ต้องตกใจ ประเดี๋ยวก็ดีขึ้นครับ”
หมอ :ครับ อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆครับ เดี๋ยวหมอฉีดนี้”ยาให้อีกหน่อย จะได้ดีขึ้นกว่า
แล้วหมอก็ฉีดยาเดิมที่เหลืออยู่ให้จนหมดหลอด คนไข้ก็หลับไป
หมอ :
คุณแม่หลับแล้ว หมอลองเล่าเรื่องคุณแม่ให้ผมฟังหน่อยว่า ทำไมคุณแม่จึงต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ และตอนอยู่บ้านเป็นอย่างไร”
ลูกคนไข้ : “ผมก็ไม่ทราบครับ แต่คุณแม่เจ็บหัวใจบ่อยๆ ในระยะ 6 เดือนนี้ อาจารย์ที่รักษาอยู่วินิจฉัยว่าเป็นอาการเจ็บหัวใจไม่คงที่ (unstable angina) ให้อยู่โรงพยาบาล 2-3 วัน พอดีขึ้นก็ให้กลับครับ
“ขณะอยู่บ้าน ก็ให้คุณแม่นั่งๆนอนๆ อยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำงานอะไร ข้าวปลาอาหารและแม้แต่ยาก็มีคนจัดให้คุณแม่อย่างเรียบร้อย มีเด็กรับใช้อยู่กับคุณแม่ตลอดเวลาผมก็ไม่ทราบว่าจะช่วยอะไรคุณแม่ได้อีก
“อาจารย์ที่รักษาอยู่บอกว่าน่าจะสวนหัวใจและผ่าตัด แต่คุณแม่ไม่ยอม เพราะกลัวการผ่าตัด และเป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคไตอยู่ด้วย”
หมอ :แล้วคุณแม่มักจะมีอาการมากเวลาไหน”
ลูกคนไข้ :ไม่แน่นอนครับ บางครั้งก็เป็นตอนเช้ามืด ตี 4 ตี 5 บางครั้งก็เป็นตอนสายๆ บ่ายๆ บางครั้งก็เป็นกลางดึกตี 1 ตี 2 พี่ผมต้องโทรศัพท์มาเรียกผมไปดูคุณแม่ เพราะคุณแม่อยู่กับพี่คนโต
“ช่วงหลังๆนี่ เขารู้ว่าผมไปดูคุณแม่แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ต้องส่งโรงพยาบาลอยู่ดี เวลาคุณแม่มีอาการมากๆหรืออมยาแล้วไม่ดีขึ้น เขาก็ส่งโรงพยาบาลเลย แล้วโทรศัพท์บอกผมให้ตามมาที่โรงพยาบาลครับ”
หมอ : “ก่อนที่คุณแม่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเมื่อ 2 ปีก่อน มีเหตุการณ์อะไรในบ้านก่อนหน้านั้นมั้ยครับ และในระยะ 6 เดือนนี้ที่คุณแม่มีอาการบ่อยๆ มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในระหว่างนี้หรือก่อนหน้านี้หรือไม่”
ลูกคนไข้ : “เอ ไม่เห็นมีอะไรนี่ครับ ทุกอย่างในบ้านก็เรียบร้อยดี พี่ชายและพี่สะใภ้ก็เอาใจใส่คุณแม่ดี ลูกๆทุกคนก็แวะไปเยี่ยมเยียนคุณแม่สม่ำเสมอ หลานๆก็ไม่ได้ไปกวนอะไรคุณแม่
“เอ...หรือว่าอาจจะเป็นเพราะคุณพ่อเสียไปเมื่อ 3 ปีก่อน และน้องคนสุดท้องเสียเมื่อ 6-7 เดือนก่อน คิดๆไปแล้วรู้สึกว่า เวลามันจะคาบเกี่ยวกันพอดี”
หมอ :คุณพ่อและน้องเสียชีวิตเพราะอะไรครับ”
ลูกคนไข้ : “อุบัติเหตุรถยนต์ทั้ง 2 กรณีครับ”
หมอ : หลังเหตุการณ์ทั้ง  2 คุณแม่โศกเศร้าอยู่นานมั้ย”
ลูกคนไข้ : “หลังคุณพ่อเสีย คุณแม่โศกเศร้ามาก และหลังจากนั้น รู้สึกว่าจะซึมๆลงไป และหงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยพูดเล่นกับลูกหลานเหมือนแต่ก่อนครับ
“พวกเราก็พยายามชวนคุณแม่ออกไปเที่ยว ไปวัด และไปบ้านลูกคนนั้นคนนี้บ้าง แต่คุณแม่ก็ไม่ค่อยยอมไปไหน จนในที่สุดคุณแม่ก็เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
“หลังอยู่โรงพยาบาลเกือบ 2 สัปดาห์ กลับไปพักฟื้นที่บ้าน พวกเราเลยไม่กล้าพาคุณแม่ไปเที่ยวที่ไหนอีก และคุณแม่ก็ไม่อยากไป พวกเราก็กลัวว่าจะทำให้คุณแม่เหนื่อยและเจ็บหัวใจอีก
“เมื่อ  6-7  เดือนก่อน หลังน้องเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำและบาดเจ็บสาหัส อยู่โรงพยาบาลได้ 5-6 วันก็เสียชีวิตแม่ก็โศกเศร้ามากอีก เพราะเป็นลูกคนสุดท้องที่สนิทกับแม่มาก”
หมอ :ถ้าเช่นนั้น เหตุการณ์ทั้ง 2 นี้คงเกี่ยวข้องกับการกำเริบของอาการและโรคที่คุณแม่เป็นอยู่
“เอาไว้ให้คุณแม่ตื่นก่อน แล้วผมจะคุยกับคุณแม่อีกที เพื่อจะดูให้แน่ว่า เหตุการณ์นี้มันเกี่ยวข้องหรือไม่
“คืนนี้ให้คุณแม่นอนโรงพยาบาลก่อนก็แล้วกัน เพราะผมไม่เคยรักษาคุณแม่มาก่อน จึงบอกไม่ได้ว่าอาการที่เป็นอยู่นี้รุนแรงหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย ให้อยู่โรงพยาบาลสักวันก่อนก็แล้วกัน”
ลูกคนไข้ :ครับ ผมก็จะขอให้อาจารย์ รับแม่ไว้อยู่แล้ว เพราะถ้าผมพากลับบ้าน แล้วคุณแม่เกิดเจ็บขึ้นมาอีก พี่ๆน้องๆเล่นงานผมแย่เลย”
คนไข้หลับสนิทตลอดคือ รุ่งเช้ามีสีหน้าแจ่มใสขึ้น การตรวจร่างกายซ้ำไม่พบอะไรผิดปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผลเลือดพบน้ำตาล(เบาหวาน)สูงเล็กน้อย ไขมันสูงเล็กน้อย ไตเสื่อมเท่าเดิม อย่างอื่นอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หมอ :
สวัสดีครับ เช้าวันนี้รู้สึกดีขึ้นมั้ยครับ”
คนไข้ :แล้วหมอว่าชั้นดีขึ้นมั้ยล่ะ”
หมอ :ดีขึ้นครับ ความดันเลือดก็ปกติ แล้วน้ำตาลก็สูงนิดหน่อยเท่านั้น วันนี้ยังแน่นหน้าอกมั้ยครับ”
คนไข้เอามือกดๆที่หน้าอก และหายใจลึกๆ 2-3 ครั้งแล้วบอกว่า
คนไข้ :ดีขึ้น แต่ยังรู้สึกเจ็บบ้าง หมอว่าชั้นต้องผ่าตัดมั้ย ชั้นกลัว ชั้นไม่อยากให้ใครผ่ากลางอกแล้วแหวะอกชั้น พูดถึงแล้วยังขนลุกเลย”
หมอ : “ผมยังไม่แน่ใจครับ เพราะเพิ่งตรวจคุณเป็นครั้งแรกแล้วหมอของคุณก็เคยแนะนำให้คุณผ่าตัด ในช่วงนี้หมอของคุณไม่อยู่ และลูกคุณขอให้หมอช่วยดูแลแทนก่อน หมอจึงไม่ควรให้ความเห็นในเรื่องนี้ เพราะถ้าไม่ตรงกับหมอของคุณแล้วคุณจะยิ่งสับสนใหญ่”
คนไข้ : “อ๋อ ชั้นไม่สับสนหรอก เพราะชั้นไม่อยากผ่าอยู่แล้ว วันนี้หมอเปลี่ยนยาชั้นตั้งหลายอย่างใช่มั้ย”
หมอ : “ใช่ครับ เพราะคุณกินยาเก่ามาหลายสัปดาห์แล้ว แต่ยังมีอาการบ่อยๆ ผมจึงลองเปลี่ยนยาดู เผื่อจะดีขึ้น
หมออยากถามอาการเจ็บป่วยของคุณหน่อย เพราะเมื่อคืนนี้ตอนคุณมาโรงพยาบาลคุณไม่สบายมาก จึงต้องฉีดยาให้คุณก่อน ยังไม่ได้ถามประวัติคุณเลย”
คนไข้ :อ้าว ลูกชั้นไม่ได้เล่าให้หมอฟังเหรอ ก็ชั้นเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง โรคไต แล้วก็โรคอะไรต่ออะไรไม่รู้เยอะแยะไปหมด กินยาทีละกำมือ เบื่อจะตายไป เมื่อไหร่จะหายก็ไม่รู้”
หมอ :โรคที่คุณเป็นเป็นโรคเรื้อรัง จึงต้องรักษาไปเรื่อยๆครับ แต่ถ้าคุณระวังตัวดีก็อาจจะไม่ต้องกินยามาก และไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆครับ”
คนไข้ : “หมอว่าชั้นไม่รักษาตัวเหรอ วันๆได้แต่นั่งกับนอน ลูกๆเค้าไม่ยอมให้ทำอะไร เพราะกลัวโรคหัวใจกำเริบ ยาก็มีคนจัดให้กินทุกมื้อ ไม่เคยขาด แล้วหมอจะให้ชั้นรักษาตัวอย่างไรอีก”
หมอ :ครับ ลูกหลานคงเข้าใจผิดคิดว่านั่งๆนอนๆแล้วจะทำให้โรคหัวใจดีขึ้น ซึ่งที่จริงแล้ว การนั่งๆนอนๆจะดีเฉพาะในขณะที่โรคหัวใจกำเริบเท่านั้น
“เมื่ออาการดีขึ้น หรืออาการคงที่แล้ว การออกกำลังโดยเริ่มแต่น้อยก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นๆ จะทำให้อาการดีขึ้น และทำให้โรคหัวใจดีขึ้นด้วย
“คุณนั่งๆนอนๆทั้งวัน แล้วกลางคืนคุณนอนหลับเหรอ”
คนไข้ : “ไม่ค่อยหลับหรอก ไม่ค่อยหลับมาตั้งแต่เตี่ยเขาเสียชีวิตแล้ว และในช่วง 6 เดือนนี้ ยิ่งไม่หลับใหญ่ เมื่อเจ้าตี๋คนเล็กตามพ่อไปอีกคน” ว่าพลางคนไข้ก็ร้องไห้สะอึกสะอื้น
หมอ :หมอขอโทษที่ทำให้คุณเสียใจ เหตุการณ์มันก็ผ่านไปตั้งนานแล้วไม่ใช่หรือครับ คุณคิดว่าหมอจะช่วยให้คุณหายเสียใจได้อย่างไรบ้าง”
คนไข้ :ชั้นก็ไม่รู้เหมือนกัน พอตกกลางคืนก็คิดถึงเตี่ยเขาและเจ้าตี๋เล็ก บางคืนก็ฝันถึงเขาจนตกใจตื่น แล้วก็นอนไม่หลับอีก
“ลูกๆเขาพาไปวัดบ้าง เอาเทปพระมาให้ฟังบ้าง แต่ชั้นก็ยังคิดถึงเขาอยู่ดี ” แล้วคนไข้ก็ร้องไห้สะอึกสะอื้นต่อ
หมอ :เอาล่ะครับ หมอรู้สาเหตุแล้ว คุณสบายใจได้แล้วครับ หมอจะให้ยา แล้วภายในไม่กี่วันคุณจะค่อยๆดีขึ้นครับ”

จากประวัติดังกล่าว สาเหตุที่สำคัญหรือชนวนที่ทำให้โรคของผู้ป่วยกำเริบขึ้น คือ สภาพทางจิตใจ หรือความโศกเศร้าถึงคนรัก(พ่อและลูก)ที่จากไปนั่นเอง
หมอจึงให้ยาแก้อาการซึมเศร้าและยานอนหลับแก่คนไข้กลับไปกินที่บ้าน พร้อมกับยาเบาหวาน ยาลดความดันเลือดและยาหัวใจ แต่ได้หยุดยาลดไขมันในเลือด และยาอีกหลายตัวที่คิดว่าไม่จำเป็นออก เพราะคนไข้เบื่อยาเต็มที

 

                                                                                                                          (อ่านต่อฉบับหน้า)