Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การรักษาความดันเลือดสูง
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การรักษาความดันเลือดสูง

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2550 00:00

การรักษาความดันเลือดสูง
ถาม
ผู้ป่วยชายอายุ 42 ปี พบว่ามีประวัติเป็นความดันเลือดสูงมา 2 ปี ได้กินยา HCTZ 1/2 x 1 pc และ atenolol (50 มก.) 1/2 x 1 pc มาตลอด. ความดันเลือดควบคุมได้ดี (<140/90 มม.ปรอท) มาตรวจสุขภาพประจำปีพบผลเลือดมีความผิดปกติดังนี้ (อื่นๆ ปกติ)

 

1. Uric â 9.1 มก./ดล.
2. SGOT 58 U/L, SGPT 82 U/L.

ผู้ป่วยไม่ดื่มสุรา ไม่ได้กินยาอย่างอื่นประจำ ไม่มีอาการปวดข้อ สุขภาพแข็งแรงดี.

ขอเรียนถามดังนี้

1. ยาความดันเลือดที่กินอยู่ ควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร.
2. ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สูงควรทำอย่างไร.
3. ต้อง investigative เพิ่มหรือไม่ เรื่อง hepatic impairment.

ตอบ ข้อมูลที่ให้มาจำกัด ที่ควรได้เพิ่มเติม ได้แก่

1. น้ำหนักตัว หรือ BMI เส้นรอบเอวผู้ป่วย.
2. ประวัติเกี่ยวกับ hepatitis.

ข้อมูลข้างต้นมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยความผิดปกติของการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการปรับเปลี่ยนยารักษาภาวะความดันเลือดสูง

1. ยาความดันเลือดสูงที่ผู้ป่วยได้อยู่เป็นยาที่ดี แต่ HCTZ ที่ได้อาจจะเป็นสาเหตุให้กรดยูริกสูงขึ้น ฉะนั้นการพิจารณาเปลี่ยนยา HCTZ เป็นยาความดันเลือดกลุ่มอื่น ที่ไม่มีผลต่อกรดยูริก ได้แก่

ก. ACEI เช่น enalapril
- ข้อดี คือ ไม่มีผลเสียต่อระดับไขมัน.
- ข้อควรระวัง 1. ผลข้างเคียงมาก เช่น ไอแห้ง. 2. หากระดับยูริกในเลือดยังสูงอยู่และ ผู้ป่วยมีอาการบ่งชี้ที่จะต้องใช้ยา allopurinol เพื่อลดกรดยูริก การใช้ยา ACEI ร่วมกับ allopurinol จะทำให้มีโอกาสเกิดการแพ้ยา allopurinol ได้สูงขึ้น.

ข. Calcium channel blocker เช่น amlodipine, felodipine เป็นต้น.
- ข้อดี ไม่มีผลเสียต่อระดับไขมันและยูริก
- ข้อควรระวัง ขาบวมแบบ pitting edema

2. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สูง
ก. ค่ากรดยูริกที่สูง
ภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูง ส่วนใหญ่มักจะเป็น 1๐ hyperuricemia หากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของโรคเกาต์ หรือนิ่วจากกรดยูริก ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าได้ประโยชน์จากการรักษา. การดูแลที่เหมาะสมคือ

(1) หาสาเหตุทุติยภูมิ (secondary hyperuricemia) ได้แก่
(ก) โรคความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น lymphoproliferative disease, myeloproliferative disease, polycuthemia vera เป็นต้น.
(ข) อ้วน.
(ค) ดื่มแอลกอฮอล์.
(ง) Hypothyroidism.
(จ) Hyperparathyroidism.
(ฉ) ยา ได้แก่
- Aspirin (ขนาดมากกว่า 2 กรัม/วัน).
- Diuretics.
- Levodopa.
- Ethambutol.
- Pyrazinamide.

(2) หาภาวะแทรกซ้อนของ hyperuricemia
(ก) Gouty arthritis.
(ข) โรคไตจากยูเรต (urate nephropathy) ซึ่งจะพบร่วมกับเกาต์.
(ค) นิ่วในไตจากยูเรต.

(3) หาภาวะที่มักพบร่วมด้วย คือ กลุ่ม metabolic syndrome เช่น DM, cholesterol, โรคอ้วน.

ข. ค่า transaminase enzyme เข้าใจว่าสูงกว่าปกติเล็กน้อย เนื่องจากได้ทราบว่า ค่าปกติของห้องปฏิบัติการคือเท่าไร บนสมมติฐานว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันและค่า liver function test อื่นๆ ปกติจะต้องตรวจหา

(1) ภาวะ fatty liver โดยเฉพาะ non alcoholic fatty liver
(2) Chronic viral hepatitis B และ C.

วินัย วนานุกูล พ.บ.
ศูนย์พิษวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคตามระบบ
  • โรคติดเชื้อ
  • โรคผิวหนัง
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • ความดันเลือดสูง
  • นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์
  • รศ.นพ.วินัย วนานุกูล
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 7,223 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa