Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » รู้เท่าทันมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รู้เท่าทันมะเร็งต่อมลูกหมาก

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 เมษายน 2550 00:00



                                      


คำถาม แนวโน้มมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเช่นไร

คำตอบ สถิติของโรงพยาบาลศิริราช ในปี พ.ศ. 2548 บ่งชี้ว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากรายใหม่จัดอยู่ในอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด โดยส่วนหนึ่งอยู่ในระยะแพร่กระจายไปยังกระดูก และอวัยวะอื่นของร่างกาย เมื่อเทียบกับสถิติในปี พ.ศ. 2539 คนไข้มะเร็งต่อมลูกหมาก มีจำนวนมากเป็นอันดับที่ 5.

คำถาม การดำเนินโรคของมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นอย่างไร

คำตอบ ระยะเริ่มต้นผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร หรือบางรายปัสสาวะบ่อย มีเลือดปนบ้าง อาจมีเลือดออกหลังจากร่วมเพศ ระยะท้ายของมะเร็งอาจกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ทำให้ไตวาย ส่วนใหญ่กระจายไปถึงกระดูกก็ทำให้ปวดกระดูก กระดูกเปราะหัก ไปกดทับเส้นประสาท จนอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตได้ ถ้ามะเร็งไปที่กระดูกโอกาสรอดก็น้อย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยในระยะท้ายนี้จะอยู่ได้ 2 ปี.

คำถาม กลุ่มเสี่ยงมักจะเป็นชายที่มีอายุประมาณเท่าไร

คำตอบ โดยทั่วไปผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ความเสี่ยง คือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ขาดการผักผ่อน มีความเครียดประจำวัน กินอาหารเนื้อสัตว์ไขมันสูง และพันธุกรรม.

คำถาม ขั้นตอนในการรักษาทำอย่างไร

คำตอบ ถ้าเป็นระยะเริ่มต้น เราสามารถผ่าตัดรักษาเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมด หรือตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก. หรืออาจใช้การฉายรังสี หรือฝั่งแร่กัมมันตรังสีเข้าไปในต่อมลูกหมาก ในระยะปานกลางการผ่าตัดอาจไม่เพียงพอ ต้องให้ยาด้วย แต่หากมะเร็งต่อมลูกหมากรุกลามเข้าไปที่กระดูกคงรักษาไม่ได้แล้ว.

คำถาม หากผู้ป่วยต้องผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกจะมีผลกระทบกับผู้ป่วยอย่างไรบ้าง

คำตอบ ภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ แต่ไม่นานนักก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่อาจจะลดทอนสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด.

สิทธิพร ศรีนวลนัด พ.บ., F.R.C.S.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • มะเร็ง
  • คุยสุขภาพ
  • นานาสาระ
  • ต่อมลูกหมาก
  • นพ.สิทธิพร ศรีนวลนัด
  • อ่าน 4,523 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa