Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การทำ sentinel lymph node biopsy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การทำ sentinel lymph node biopsy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤษภาคม 2550 00:00


การทำ sentinel lymph node biopsy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

                             
                                                                             
ภาพที่ 1

Q ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ บอกว่าตัดเต้านมไปและเอาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ไปตรวจ 2 เม็ดแล้วไม่มีกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ก็เลยสงสัยว่าทำไมไม่ต้องเอาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ไปตรวจทั้งหมด

A
ทำได้ครับ เรียกว่า sentinel lymph node biopsy เนื่องจากในปัจจุบันมีศึกษาพบว่า การกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้นั้นจะเป็นไปในทิศทางที่แน่นอน กล่าวคือน้ำเหลืองจากทุก quadrants จะ drain ไปยังบริเวณ areola area ก่อนแล้วจึง drain ต่อไปยังรักแร้ (ภาพที่ 1). ดังนั้น ถ้าเราสามารถ ตรวจพบต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกในรักแร้ที่เซลล์มะเร็งจะกระจายไปถึงและนำไปตรวจได้ ก็สามารถหลีกเลี่ยงการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ทั้งหมดได้ถ้าต่อมนี้ไม่มีมะเร็งกระจายมาถึง ซึ่งจะทำให้ลดภาวะแทรกซ้อน ากการผ่าตัดนี้ เช่น แขนบวมหรือแขนชา จากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ได้.

Q ถ้าต่อมแรกนี้มีมะเร็งกระจายมาถึงก็ไม่ต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้เหมือนกันใช่หรือไม่ครับ เพราะเราก็รู้แล้วว่ามีการกระจายไปถึงแน่ๆ
A
ไม่ใช่ครับ ต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด เพื่อให้ได้ staging ที่แน่นอน.

Q ทำได้ในผู้ป่วยทุกรายใช่หรือไม่ครับ
A
ถ้าไม่มีข้อห้าม ก็ทำได้ทุกรายครับ ถือเป็น standard treatment แล้วในปัจจุบัน.

Q ข้อห้ามของการผ่าตัดวิธีนี้มีอะไรบ้างครับ
A
กรณีที่เป็นข้อห้ามของการทำ sentinel lymph node biopsy ได้แก่
1. คลำต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ได้จากการตรวจร่างกาย.
2. ก้อนเป็น inflammatory breast cancer (T4).
3. ผู้ป่วยตั้งครรภ์.
4. ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน.
5. ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดบริเวณรักแร้มาก่อน.
6. ผู้ป่วยได้รับเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด (neoadjuvant chemotherapy).

ซึ่งกรณีเหล่านี้ทางเดินน้ำเหลืองมีการถูกทำลายหรืออุดตัน ทำให้เราไม่สามารถตรวจพบ sentinel lymph node หรือแม้ว่าจะตรวจพบได้ ต่อมนั้นก็อาจจะไม่ใช่ sentinel lymph node ที่แท้จริง.

Q แล้วเรามีวิธีหา sentinel lymph node ได้อย่างไรครับ
A
มี 3 วิธีครับ
1. ใช้ isosulphane blue dye ฉีดเพื่อให้สีไป stain ที่ sentinel node.
2. ใช้ radio-isotope ฉีดเพื่อให้ไปจับที่ node แล้วใช้ gamma probe detect sentinel node.
3. Combined technique คือใช้ทั้ง 2 วิธี ร่วมกัน ซึ่งผู้นิพนธ์ก็ใช้วิธีนี้.
ส่วนตำแหน่งที่ใช้ฉีด ก็สามารถฉีดได้ทั้ง intratumor, peritumor และ subdermal.

Q วิธีนี้ทำแล้วมีข้อดีกว่าการเลาะต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดอย่างไรครับ
A
เนื่องจากเราเลาะต่อมน้ำเหลืองออกไปน้อย จึงลดโอกาสการเกิดแขนบวม, โอกาสการเกิด seroma และอาการชาบริเวณท้องแขน.

Q การผ่าตัดวิธีนี้ทำได้ทุกโรงพยาบาลหรือไม่ครับ
A
คงต้องเป็นโรงพยาบาลที่มีพยาธิแพทย์เพื่อตรวจ frozen section ได้ ทำให้ศัลยแพทย์สามารถตัดสินใจในขณะผ่าตัดได้ว่าจะเลาะต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดหรือไม่ครับ.

Q การผ่าตัดวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงหรือไม่ครับ
A
ประมาณ 5,000-10,000 บาทครับ.

สรุป sentinel lymph node biopsy ปัจจุบันถือเป็น standard treatment ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม สามารถทำได้ถ้าไม่มีข้อห้าม ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิด morbidity จากอาการแขนบวมหรือแขนชาน้อยลง.

บรรณาธิการ
วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา พ.บ. ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้นิพนธ์
ยอดยิ่ง วาสุถิตย์ พ.บ., อาจารย์
ศัลยแพทย์ทั่วไป หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป
สาย บี ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • มะเร็ง
  • คุยสุขภาพ
  • คำถามที่ท่านควรรู้ในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • sentinel lymph node biopsy
  • มะเร็งเต้านม
  • นพ.ยอดยิ่ง วาสุถิตย์
  • นพ.วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา
  • อ่าน 12,620 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa