Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การกิน low dose contraceptive pills ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การกิน low dose contraceptive pills ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 00:00


ถาม ผู้ป่วยหญิง กิน low dose contraceptive pills (E.E. 20 mcg) จนอายุ 52 ปี ไม่อยากหยุดกิน ด้วยเหตุต้องการไม่ให้มีอาการที่เกี่ยวข้องกับ menopause เช่น ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง จะมีข้อเสียอะไรหรือไม่ ถ้าผู้ป่วยขอปรึกษาจะกินยาต่อจนอายุ 55 ปี. Low dose pill จะป้องกัน bone loss ได้เท่ากับ conventional HRT หรือไม่ จะมีความเสี่ยงเหมือนการกิน HRT ทั่วไปหรือไม่.

ตอบ การใช้ low dose contraceptive pills (E.E. 20 mcg) ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ อาจจะขยายเวลาใช้ต่อได้จนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือวัย perimenopause เนื่องจากยารุ่นใหม่ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันเอสโตรเจนที่ประกอบอยู่ใน oral contraceptive pills มีขนาดลดต่ำลงเรื่อยๆ ต่ำสุดในปัจจุบันคือ ขนาด E.E. 20 mcg.

ผลจากการวิจัยที่ผ่านมา ใช้ oral contraceptive pills ในสตรีวัยหมดประจำเดือน เปรียบเทียบกับ conventional HRT เพื่อป้องกัน bone loss และรักษา climacteric symptoms พบว่าได้ผลดีใกล้เคียงกัน แต่การวิจัยที่ผ่านมาทำการวิจัยระยะสั้นส่วนใหญ่ 6 เดือน-1 ปี.

ในทางปฏิบัติจะแนะนำว่า ไม่ควรนำ low dose contraceptive pills มารักษาผู้ป่วยสตรีวัยหมดประจำเดือนแทน conventional HRT เนื่องจาก E.E. ที่ประกอบอยู่ใน oral contraceptive pills มี potency สูงกว่า natural estrogen มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง conjugated equine estrogen ซึ่งเป็น natural estrogen ที่สกัดมาจากปัสสาวะของม้าที่ตั้งครรภ์ และใช้มาเป็นเวลานาน โดยที่ E.E. ใน oral contraceptive pills มี potency สูงกว่า conjugated equine estrogen ประมาณ 100 เท่า. ดังนั้น E.E. ที่ประกอบอยู่ใน oral contraceptive pills ขนาดที่ใช้จะสูงมากเกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิด thromboembolism ได้ ถ้าหากต้องใช้ยาชนิดนี้เป็นเวลานาน.

แสงชัย พฤทธิพันธุ์ พ.บ.
ศาสตราจารย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


การช่วยเหลือผู้ป่วยแพ้ยาที่คลินิกเพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง

ถาม กรณีผู้ป่วยแพ้ยาที่ได้จากคลินิกโดยไม่มีประวัติการแพ้ยามาก่อน เมื่อกลับมาที่คลินิก แพทย์ที่คลินิกควรจะทำอย่างไรจึงจะถือว่าได้ช่วยเหลือผู้ป่วยเต็มที่แล้ว (ป้องกันการถูกฟ้องร้อง) เช่น เมื่อมีอาการดูเหมือนจะรุนแรงเป็น Steven Johnsons Syndrome แพทย์ควรฉีด dexamethasone ทันที แล้วรีบส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีหรือไม่ หรือควรจะทำอะไรมากกว่านี้ จึงจะเหมาะสมและถูกต้องที่สุด.

ตอบ การที่ผู้ป่วยแพ้ยาจากคลินิกโดยไม่มีประวัติแพ้ยามาก่อน เมื่อผู้ป่วยกลับมาหาแพทย์ ถ้าแพทย์เห็นว่า การแพ้ดูจะรุนแรง เช่น Steven Johnsons Syndrome ควรต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบทันที พร้อมทั้งอธิบายความรุนแรงให้ผู้ป่วยทราบ พร้อมทั้งบอกชื่อยาที่แพทย์ให้ อาจต้องจดชื่อยาให้ผู้ป่วยเก็บไว้ แล้วแนะนำให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว ถ้าเราจะให้การรักษาอะไรไปก่อน ในกรณีที่เราทำได้ ก็ควรทำแล้วเขียนใบส่งตัวผู้ป่วยให้ชัดเจน โดยบอกประวัติการที่ผู้ป่วยได้รับยาอะไร รวมทั้งการรักษาที่เราให้ไปก่อนแล้วด้วย. ส่วนเราจะต้องฉีด dexamethasone ทันทีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางเวชปฏิบัติขณะนั้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา และสถานภาพของคลินิกแต่ละแห่ง.

ข้อสำคัญต้องอธิบายความร้ายแรงแต่ละอาการที่ผู้ป่วยแพ้ให้ผู้ป่วยเข้าใจตั้งแต่แรก และต้องแสดงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือเขาให้ได้ดีที่สุดอย่างจริงใจ.

การกระทำดังกล่าว น่าจะเป็นเกราะป้องกัน การถูกฟ้องร้องได้เป็นอย่างดีครับ แต่อย่างไรเสียถ้าผู้ป่วยต้องการฟ้องร้องจริงๆ เราคงห้ามไม่ได้ แต่การแพ้ยาโดยไม่ทราบประวัติล่วงหน้านั้น มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ แพทย์ไม่ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ถ้าเราทำดีที่สุดแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวการถูกฟ้องจนเกินเหตุ.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ พ.บ.,
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • แพ้ยา
  • นพ.แสงชัย พฤทธิพันธุ์
  • ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 2,444 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa