Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การใช้ COX-2 inhibitor ร่วมกับ proton-pump inhibitor ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเรื้อรังหรือข้อเสื่อม
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การใช้ COX-2 inhibitor ร่วมกับ proton-pump inhibitor ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเรื้อรังหรือข้อเสื่อม

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2550 00:00

American College of Rheumatology แนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม cyclo-oxygenase (COX-2) inhibitor หรือยา non-selective NSAID ร่วมกับยา proton-pump inhibitor (PPI) ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร.1,2

ข้อแนะนำดังกล่าวอาจจะล้าสมัยเสียแล้ว เพราะการศึกษาแบบ randomized trial3,4 แสดงให้เห็นว่าการเกิดแผลในทางเดินอาหารไม่ต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ celecosib อย่างเดียวเทียบกับที่ใช้ diclofenac หรือ naproxen ร่วมกับยา omeprazole หรือ lansoprazole.

ปัจจุบันการวิจัย5 พบว่าการใช้ยา celecoxib ร่วมกับ esomeprazole ได้ผลดีกว่าการใช้ยา celecoxib เดี่ยวๆ ในการป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกซ้ำจากแผลในทางเดินอาหารส่วนต้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง กล่าวคือไม่พบภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้เลยตลอดช่วง 13 เดือนถ้าใช้ยา 2 ขนานดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยา celecoxib เดี่ยวๆพบ 8.9% ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้ซ้ำและจำเป็นต้องได้รับยา NSAID ควรจะได้รับการรักษาด้วยยาในกลุ่ม COX-2 ร่วมกับยาในกลุ่ม PPI ไม่ว่าจะใช้ COX-2 ในขนาดเท่าใดก็ตามและยิ่งผู้ป่วยต้องใช้ยา COX-2 นาน ก็ยิ่งต้องใช้ PPI ร่วมด้วย เพราะความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้เพิ่มตามระยะเวลาที่ใช้ COX-2.

หากผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหารแต่จำเป็นต้องใช้ยา NSAID เป็นระยะเวลานานอาจพิจารณาใช้ COX-2 inhibitor หรือยา non-selective NSAID ร่วมกับยา PPI ได้โดยพบว่าทั้ง 2 แนวทางการรักษาให้ประสิทธิภาพในการแก้ปวดและป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารใกล้เคียงกัน.

เอกสารอ้างอิง
1. American College of Rheumatology Subcommittee on Osteoarthritis Guidelines. Recommendations for the medical management of osteoarthritis of the hip and knee: 2000 update. Arthritis Rheum 2000;43:1905-15.
2. Schnitzer TJ. Update on guidelines for the treatment of chronic musculoskeletal pain. Clin Rheumatol 2006;25(suppl 7): 22-9.
3. Chan FK, Hung LC, Suen BY, et al. Celecoxib versus diclofenac and omeprazole in reducing the risk of recurrent ulcer bleeding in patients with arthritis. N Engl J Med 2002;347:2104-10.
4. Lai KC, Chu KM, Hui WM, et al. Celecoxib compared with lansoprazole and naproxen to prevent gastrointestinal ulcer complications. Am J Med 2005;118:1271-8.
5. Chan FK, Wong VW, Suen BY, et al. Combination of a cyclo-oxygenase-2 inhibitor and a proton-pump inhibitor for prevention of recurrent ulcer bleeding in patients at very high risk: a double-blind, randomised trial. Lancet 2007;369:1621-6.

คทา บัณฑิตานุกูล ภ.บ., B.Sc. in Pharm, M.Pharm.
(Community pharmacy) Board Certified of Pharmacotherapy
ประธานมูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • โรคข้อ/เกาต์
  • คุยสุขภาพ
  • ถาม-ตอบเรื่องยา
  • ข้อเสื่อม
  • โรคข้ออักเสบ
  • ภก.คทา บัณฑิตานุกูล
  • อ่าน 4,924 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa