Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง ช่วยคุมเบาหวานดีขึ้นหรือไม่
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง ช่วยคุมเบาหวานดีขึ้นหรือไม่

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2550 00:00

Disclaimer : รายงานการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง คอลัมน์นี้ได้สรุปรายงานการศึกษาที่น่าสนใจที่ลงในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่าน peer review มาให้สมาชิกทราบ แต่ข้อพึงระวังคือ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีการรายงานการศึกษาจะมีความถูกต้องเป็นสัจจะ เพราะไม่มีอะไรถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางการแพทย์ ความรู้ ความเชื่อ ณ วันนี้อาจได้การยอมรับ แตˆความรู้ใหม่ๆ ในวันหน้าก็สามารถลบล้างความรู้ ความเชื่อในวันนี้ได้เช่นกัน.

วิชัย เอกพลากร พ.บ., Ph.D.
รองศาสตราจารย์, ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง ช่วยคุมเบาหวานดีขึ้นหรือไม่
Farmer A, et al. Andrew Neil Diabetes Glycaemic Education and Monitoring Trial Group Impact of self monitoring of blood glucose in the management of patients with non-insulin treated diabetes: open parallel group randomised trial. BMJ online 25 June 2007.

ขณะที่ความชุกของเบาหวานกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานก็จะมากขึ้นตาม ถ้าคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ดี แนวทางการรักษาและควบคุมน้ำตาลในเลือดจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการหนึ่งที่อาจช่วยคือการให้ผู้ป่วยเบาหวานตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเอง แต่คำถามคือว่าวิธีนี้ทำให้การควบคุมเบาหวานดีขึ้นหรือไม่ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน.

การวิจัยนี้ ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้อง พึ่งอินซูลินที่อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 453 คน สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (152 คน) รักษาตามมาตรฐานปกติ และตรวจ HbA1c ทุก 3 เดือน แต่ไม่ต้องเจาะเลือดตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง, กลุ่ม 2 (150 คน) ให้ตรวจน้ำตาลด้วยตนเองสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 3 ครั้ง คือในตอนเช้าหลังอดอาหาร 1 ครั้ง และครั้งต่อไป ก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมงอีก 2 ครั้ง และให้นำผลตรวจมาปรึกษาแพทย์. ส่วนกลุ่ม 3 จำนวน 151 คน ให้ตรวจเลือดเองเป็นระยะเหมือนกลุ่ม 2 และมีการจัดโปรแกรมสอนให้ผู้ป่วยแปลผลเลือดด้วยตนเองได้ ทั้งสามกลุ่มมีระดับ HbA1c เริ่มต้นการศึกษาใกล้เคียงกันคือร้อยละ 7.5.

ตัวชี้วัดผลหลักคือ ระดับ HbA1c ณ เดือนที่ 12 ตัวชี้วัดอื่นๆคือความดันเลือด ระดับคอเลสเตอรอล HDL, BMI.

ผลการศึกษา การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ HbA1c เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี พบว่า ทุกกลุ่มมี HbA1c ลดลงเล็กน้อย โดยกลุ่มควบคุมลดลงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มเจาะเลือดด้วยตนเองกลุ่มที่ 2 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 0.14 และกลุ่มเจาะเลือดและแปลผลได้เองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 0.17 แต่ทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ.

ข้อสรุป คือ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน การให้ผู้ป่วยตรวจน้ำตาลเลือดด้วยตนเองเป็นระยะ (ไม่ว่าจะให้คำแนะโดยแพทย์หรือไม่) นั้น ไม่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล นอกจากนี้ระดับของความดันเลือด น้ำหนักตัว และ BMI ของทั้งสามกลุ่มลดลงเล็กน้อยแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นระดับคอเลสเตอรอลในกลุ่มเจาะเลือดตรวจด้วยตนเอง ที่ระดับลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมเล็กน้อย.
การศึกษานี้ กลุ่มควบคุม มีการตรวจ HbA1c ทุก 3 เดือน ทำให้ผู้ป่วยทราบระดับน้ำตาลเฉลี่ยของตนเองเช่นกัน การควบคุมการควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้นนอกจากการกินยาเบาหวานแล้ว ยังขึ้นกับ พฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจและการปฏิบัติตนของผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นหากทำได้ดี การตรวจน้ำตาลบ่อยๆ อาจไม่จำเป็น เพราะนอกจาก จะเจ็บตัวแล้ว ยังสิ้นเปลืองด้วย.
 

ตรวจ mammogram ประจำปีในหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป จำเป็นไหม
Moss SM, et al. Effect of mammographic screening from age 40 years on breast cancer mortality at 10 years follow-up: a randomized controlled trial. Lancet 2006;368:2053-60.

ข้อแนะนำในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วย mammogram นั้นเมื่ออายุ 50 ขึ้นไปพบว่าได้มีประสิทธิผลดี แต่ควรเริ่มต้นที่อายุต่ำกว่า 50 หรือไม่ ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันสรุปได้. การศึกษานี้ทำในประเทศอังกฤษ ในผู้หญิงจำนวน 160,921 คน อายุ 39-41 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มแรก จำนวน 53,914 คน ได้รับการตรวจ mammogram ทุกปี จนกระทั่งอายุ 48 ปี ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง 107,007 คน เป็นกลุ่มควบคุม มีการดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปตามปกติ แต่ไม่ได้ตรวจ mammogram.

ผลการศึกษา จากการติดตามนานเฉลี่ย 10 ปี พบว่าอัตราตายด้วยมะเร็งเต้านมในกลุ่มตรวจ mammogram เท่ากับ 0.18 ต่อ 1,000 คน-ปี ส่วนกลุ่มควบคุม มีอัตราตาย 0.22 ต่อ 1,000 คน-ปี หรือต่างกัน 0.40 ต่อ 1,000 คนใน 10 ปี แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.
สรุป คือ การตรวจ mammogram เป็นประจำทุกปี ในหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ไม่ได้ทำให้อัตราตายด้วยมะเร็งเต้านมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.

การศึกษานี้แม้ว่าจะใช้ขนาดตัวอย่างเป็นแสน ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อาจเป็นเพราะจำนวนตัวอย่างยังไม่เพียงพอในการพบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และการคำนวน Number needed to screen ( NNS) พบว่า ต้องตรวจประจำปีจำนวน 2,512 คน จึงจะช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คนในช่วงเวลา 10 ปี ข้อมูลนี้คงช่วยให้ผู้บริหารทางสุขภาพ มีหลักฐานเพิ่มเติมว่า ควรจะมีข้อแนะนำให้เริ่มต้นตรวจที่อายุ 40 ปีหรือไม่ แต่การวิจัยติดตามระยะยาวและความถี่ของการตรวจที่เหมาะสม คงต้องมีการศึกษาต่อไป.
 

ป้ายคำ:
  • คำนวณค่า BMI
  • โรคเรื้อรัง
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
  • เบาหวาน
  • คุยสุขภาพ
  • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
  • เก็บสาระจากวารสารต่างประเทศ
  • mammogram
  • รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร
  • อ่าน 8,002 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa