Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » มอ.หาดใหญ่ โชว์ศูนย์หัวใจแห่งภาคใต้ ให้หัวใจดวงใหม่ในโครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวง 80 ปีถวายในหลวง
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

มอ.หาดใหญ่ โชว์ศูนย์หัวใจแห่งภาคใต้ ให้หัวใจดวงใหม่ในโครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวง 80 ปีถวายในหลวง

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ตุลาคม 2550 00:00

หัวใจดวงใหม่
วันนี้ชีวิตของ "ลุงเสริม" เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจดวงใหม่เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมาและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจาก นายแพทย์อภิรักษ์ เชษฐเผ่าพันธ์ หมอหนุ่มไฟแรงแห่งโรงพยาบาล สงขลานคนรินทร์

                    

ลุงเสริม พรรณราย อายุ 62 ปี บ้านอยู่หาดใหญ่ และเปิดอู่ซ่อมรถขนาดเล็กกลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่-หัวและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ถวายเป็นพระราชกุศล 80/84 พรรษา เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจคนหนึ่งที่ได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน หลังจากที่มาด้วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบและหมอสั่งต้องทำบายพาส รอคิวไม่ได้แล้วและต้องได้รับการผ่าตัดทันที

นาทีเป็นนาทีตายแขวนบนเส้นด้าย
ลุงเสริมเล่าถึงนาทีเป็นนาทีตายว่า ลุงมีอาการหนักมากกว่าคนอื่นและหมอท่านก็บอกกับลุงว่า "ลุงควรได้รับการผ่าตัดทันที หากรอเหมือนคนอื่นๆจะไม่ได้อยู่เห็นหน้าลูกหลาน ซึ่งลุงก็ไม่รู้หรอกว่าลุงเป็นหนักขนาดไหน แต่หมอบอกว่าหากลุงพร้อมก็ต้องผ่าเลย แต่ลุงก็บอกว่าไม่มีเงินที่จะจ่าย เพราะได้ข่าวว่าการผ่าตัดจะต้องใช้เงินเป็นแสนๆ เชียว และลุงก็ไม่มีเงินมากพอที่จะผ่าตัดได้หรอก" แพทย์ที่ผ่าตัดลุงเสริมคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ อภิรักษ์ เชษฐเผ่าพันธ์ ได้ชี้แจงกับลุงว่า ลุงมีบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตร 30 บาทเดิมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และยังเป็นคนไข้ในโครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวงเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย ซึ่งในวินาทีที่ลุงได้ยินเช่นนี้ลุงซาบซึ้งน้ำใจของคุณหมอที่โรงพยาบาลมากที่ทำให้ลุงมีชีวิตใหม่ได้

ลุงเสริมย้ำว่า "พอฟื้นขึ้นมาหลังการผ่าตัดเจอหน้าญาติๆแล้วรู้สึกตื่นเต้น ดีใจและไม่คิดว่าจะได้รับการผ่าตัดหัวใจ เพราะลำพังอู่ซ่อมรถเล็กๆ คนหนึ่งไม่มีเงินจะไปรักษาตัวหรอก ไม่ต้องเสียเงินฟื้นขึ้นมาแล้วไม่อยากจะเชื่อจริงๆ ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนฝันจริงๆ !!!! ดีใจที่หมอและพยาบาลให้การดูแลดี".

ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เจริญเกียรติ ฤกษ์เกลี้ยง หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์หัวใจหลอดเลือดและทรวงอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์บอกว่า สถานการณ์ของโรงพยาบาล มีคนไข้ผ่าตัดรอคิวนานเพราะหมอน้อยแต่หมอที่ทำการผ่าตัดจะวินิจฉัยโรคว่าคนไข้คนใดที่ต้องได้รับการผ่าตัดเร่งด่วน คนไหนพอรอคิวได้ มีคนไข้ใหม่ๆ เข้ามาสัปดาห์ล่ะ 10 ราย และมีของเก่าอีกจำนวนมาก ตอนนี้ก็ไล่ผ่าตัดไป ซึ่งหมอที่ผ่าตัดได้ก็มี 3 คน คือ นายแพทย์อภิรักษ์ เชษฐเผ่าพันธุ์ นายแพทย์วรวิทย์ จิตติถาวร และตน ขณะนี้โรงพยาบาลก็เข้าร่วมโครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวง ฯ ทำให้ต้องเร่งผ่าตัดกันบางครั้งผ่าตัดกันไม่มีวันหยุด "การรับผ่าตัดจะใช้ความเร่งด่วนของโรคมาเป็นตัวตัดสิน คนไข้ที่รอได้หน่อยก็ต้องรอ พยายามที่จะให้คนไข้ตระหนักว่าคนไข้โรคหัวใจก็คือพี่น้องกัน ถ้าพี่น้องคนไหนไม่สบายหนัก ก็ให้เขาก่อน คนไหนยังไหวก็ให้รออีกนิดรอหน่อยก็ต้องยอมกันไป"
Ž
                                                

"ปัจจุบันโรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในลำดับต้นๆ ซึ่งสปสช. ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาการให้บริการศูนย์โรคหัวใจกระจายทุกภาคทั่วประเทศ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าศักยภาพของหน่วยบริการในการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดหลายๆ ด้านแต่มีกระจายทุกภูมิภาคซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนในโครงการหลักประกันฯได้บ้างซึ่งในอนาคตจะต้องมีการขยายโครงการต่อไป

                                           

โดยโครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวงฯเป“นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง สปสช.ร่วมกับพอ.สว.และกระทรวงสาธารณสุขที่ให้การดูแล ผู้ป่วยแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหา การผ่าตัด และการติดตามหลังผ่าตัด กระจายคิวผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจที่กระจุกตัวในกรุงเทพฯและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไปยังภูมิภาคใกล้บ้านผู้ป่วย ซึ่งมีศักยภาพในการผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรอคิวผ่าตัดหัวใจ และเกิดการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างคุ้มค่า"
Ž
"ร่วมสร้างกุศลกันโดย ขอเชิญประชาชนผู้มีจิตศรัทธาสามารถโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเฉลิมนครชื่อบัญชี มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โครงการผ่าตัดหัวใจ 8000 ดวง เลขที่บัญชี 037-2-47111-5 จน ถึงวันที่ 5 ธันวาคมนี้ หรือสอบถามสายด่วนบัตรทองได้ที่เบอร์ 1330 ตลอดเวลา"
Ž
นายแพทย์วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าว
 

ป้ายคำ:
  • โรคเรื้อรัง
  • โรคหัวใจ
  • ชีพจร UC
  • สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อ่าน 7,949 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

274-021
วารสารคลินิก 274
ตุลาคม 2550
ชีพจร UC
สปสช สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa