Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » แพทย์พันธุ์ใหม่อีกแล้ว?
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

แพทย์พันธุ์ใหม่อีกแล้ว?

โพสโดย somsak เมื่อ 1 กันยายน 2547 00:00

ใน "คลินิก" ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 ผู้เขียนได้แสดงความยินดีกับการจะมี " แพทย์-พยาบาลพันธุ์ใหม่ " ขึ้นมาแบ่งเบาภาระการตรวจรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน1  ที่แพทย์ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) ไม่อยากจะทำ.

โดยแพทยสภาอนุมัติให้เปิดการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (" แพทย์ฉุกเฉิน"  หรือ "หมอฉุกเฉิน" ) ขึ้นและให้เป็นสาขาประเภทที่ 1 (สาขาขาดแคลน) ที่แพทย์จบใหม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ทันทีโดยไม่ต้องไปเพิ่มพูนทักษะก่อน และถ้าฝึกอบรมในสถาบันฝึกอบรมที่อยู่ในต่างจังหวัด อาจถือว่าเป็นการ " ใช้ทุน " ไปด้วยได้.

 

ยินดีทำไม
อย่างไรก็ตาม ในความยินดีข้างต้น ก็ยังปนเปื้อนด้วยความทุกข์และความเสียใจที่จำใจต้องสร้าง " แพทย์ฉุกเฉิน " ขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยฉุกเฉินขาดแพทย์ที่จะตรวจรักษาตน.

เพราะแพทย์จำนวนมากในปัจจุบันตรวจรักษาได้แต่เฉพาะอวัยวะที่ตนเชี่ยวชาญ และไม่ปรารถนาจะทำงานในห้องฉุกเฉินและในที่เกิดเหตุเจ็บป่วย ฉุกเฉิน เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน บนถนนหนทาง เป็นต้น แม้ว่าผู้ป่วยนั้นเป็นผู้ป่วยที่ตนดูแลรักษามาโดยตลอดก็ตาม.

ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นก็คือ การ " ปัด " หรือ  "โยน "ผู้ป่วยไปให้ผู้อื่นรักษาต่อ เมื่อตนทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาของตนแล้ว เช่น

การให้ยารักษาโรคมะเร็ง แล้วบอกผู้ป่วยว่าถ้าคลื่นไส้อาเจียน หรือมีไข้ ให้ไปที่ " ห้องฉุกเฉิน" ซึ่งมีแต่
" หมอเด็กๆ " คอยตรวจรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการกระทำของตนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อ
 " หมอเด็กๆ" ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยดีขึ้นและไม่มีเตียงที่จะรับผู้ป่วยไว้ได้  แพทย์เจ้าของไข้ก็ไม่ยอมลงไปดูแลผู้ป่วยของตนในห้องฉุกเฉินเพื่อหาทางแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนรอการแก้ปัญหาแบบ " มะงุมมะงาหลา " ของ "หมอเด็กๆ " ต่อไป.

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มักไม่มีใครอยากดูแล และแพทย์เจ้าของไข้ (ซึ่งอาจมีหลายคนเพราะมักมีโรคในหลายอวัยวะ) มักจะเกี่ยงกันและลงเอยด้วยการที่  ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องไปพึ่ง " หมอเด็กๆ " ในห้องฉุกเฉินเป็นประจำ ต้องทนทุกข์ทรมานกับการตรวจรักษาที่ไม่จำเป็นต่างๆ โดยปราศจากการเหลียวแลจากแพทย์เจ้าของไข้.

มีผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับการรักษาโรคมะเร็ง จนหัวใจบานออกๆ (dilated cardiomyopathy) และเกิดภาวะหัวใจวาย จนในที่สุดผู้ป่วยก็ต้องเสียชีวิต เพราะภาวะหัวใจวาย แต่ได้รับการบันทึกว่า "เสียชีวิตเพราะโรคหัวใจ " แทนที่จะบันทึกว่า "เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาจนเกิดภาวะหัวใจวาย" นับว่าโยนความผิดไปให้  " หมอหัวใจ " และกลบเกลื่อนความผิดพลาดของ " หมอมะเร็ง " ได้ด้วย.

 

แก้ปัญหาอะไร
การได้  "แพทย์ฉุกเฉิน" จึงเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แม้ว่าแพทย์สาขานี้จะถือกำเนิดมากว่า 30 ปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาหลักหรือสาเหตุที่แพทย์เจ้าของไข้ไม่อยากจะรับผิดชอบผู้ป่วยของตนในภาวะฉุกเฉินด้วยข้ออ้างต่างๆ นานา ยังคงดำรงอยู่ และดูจะหยั่งรากลึกลงมากขึ้นๆ เมื่อแพทย์ส่วนใหญ่ฝึกอบรมเป็น  "แพทย์เฉพาะอวัยวะ " หรือ  "แพทย์เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะ" กันมากขึ้น.

จนเริ่มมีการพูดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าในขณะนี้ การแพทย์แผนปัจจุบัน (แผนฝรั่ง) ขาด " แพทย์ที่สมบูรณ์พร้อม " ที่สามารถตรวจรักษา " คนทั้งคน " ซึ่งรวมถึงคนป่วย ครอบครัวและสังคมด้วย.

แม้แต่อายุรแพทย์ทั่วไป (general physician หรือ internist) และศัลยแพทย์ทั่วไป (general surgeon) ก็กำลังสูญพันธุ์ หรือได้สูญพันธุ์ไปแล้วในหลายแห่งมีแต่อายุรแพทย์/ศัลยแพทย์โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ หรือโรคของอวัยวะอื่นๆ เป็นต้น.

 

"อายุรศาสตร์เฉียบพลัน"
รองประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งอังกฤษ แพทย์หญิงแมรี อาร์มิเตจ (Mary Armitage) ได้เขียนลงในวารสาร "Clinical Medicine" ประจำเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2547 ในหัวข้อ " Acute medicine : making it work for patients " ว่า2 

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งอังกฤษเห็นสมควรให้เปิดการฝึกอบรมอายุรแพทย์เฉพาะทางสาขาใหม่  คือ สาขา "อายุรศาสตร์เฉียบพลัน" (acute medicine) เพราะอายุรแพทย์ในปัจจุบันไม่ชอบ/ไม่อยากไปตรวจรักษาผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการเฉียบพลัน นั่นคือปฏิเสธที่จะไปดูแลรักษาผู้ป่วยเฉียบพลันที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในทันที แม้ว่าจะมีการจัดเวรหมุนเวียนให้อายุรแพทย์ (ผู้เชี่ยวชาญ) เหล่านั้นผลัดเปลี่ยนกันดูแลผู้ป่วยเฉียบพลันในหอผู้ป่วย ด้วยข้ออ้างเดิมๆ ว่า "ตนลืมความรู้ในโรคทั่วๆ ไปหรือในอวัยวะอื่นไปแล้ว" เป็นต้น.

ทำให้การดูแลผู้ป่วยเฉียบพลันในหอผู้ป่วยต่ำกว่ามาตรฐาน (ฟังดูก็คล้ายกับในโรงเรียนแพทย์หลายแห่งในประเทศไทย) ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งอังกฤษจึงเห็นควรให้มีการฝึกอบรมต่อยอดแก่ผู้ที่จบการฝึกอบรมอายุรแพทย์แล้วอีก 1 ปี เพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาย่อย (subspecialty) ที่ให้ชื่อว่า "อายุรแพทย์เฉียบพลัน" เพื่อจะได้เงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆ เท่าเทียมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาย่อยอื่นๆ.

โดยหวังว่า " อายุรแพทย์เฉียบพลัน " จะทำให้ การดูแลรักษาผู้ป่วยต่างๆ ในหอผู้ป่วยดีขึ้น เพราะราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งอังกฤษกำหนดให้สถาบันที่จะเปิดการฝึกอบรมอายุรแพทย์สาขานี้ จะต้องมีอายุรแพทย์ประจำหอผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยต้องไปดูแลผู้ป่วยได้ใน 1 ชั่วโมงเมื่อผู้ป่วยเข้าไปในหอผู้ป่วยหรือเมื่อได้รับการปรึกษาจาก " หมอเด็กๆ "  และต้องตรวจเยี่ยม (round) ผู้ป่วยพร้อมกับสอน "หมอเด็กๆ" เหล่านั้นอย่างน้อยวันละครั้ง แล้วยังต้องตรวจเวชระเบียนและบันทึกความเห็นของตนใน    เวชระเบียนของผู้ป่วยทุกคนด้วย.

 

บทเรียนสำหรับประเทศไทย
น่าที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ และศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยจะได้ดำเนินรอยตามการให้อายุร-แพทย์และศัลยแพทย์ ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตามเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น. แต่คงไม่ต้องถึงขั้นสร้าง "แพทย์พันธุ์ใหม่" ดังที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศอังกฤษได้เสนอไว้.


เพราะในปัจจุบัน แพทย์เฉพาะทางสาขาย่อย ต่างๆ มีมากจน "เฟ้อ " เมื่อเทียบกับแพทย์เฉพาะทางสาขาใหญ่ๆ ทำให้ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางสาขาใหญ่ๆ และแพทย์ทั่วไป.

มิฉะนั้น ในอนาคตคงจะต้องมี " อายุรแพทย์เฉียบพลัน" "อายุรแพทย์กึ่งเฉียบพลัน" "อายุรแพทย์กึ่งเรื้อรัง" "อายุรแพทย์เรื้อรัง" "อายุรแพทย์ ระยะสุดท้าย" เป็นต้น.

ทำให้ผู้ป่วย 1 คน ต้องมีแพทย์หลายคนดูแล สร้างความยุ่งยากและความทุกข์ทรมานทั้งทางกาย ใจ และเศรษฐกิจแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม และทำให้ขาดแคลนแพทย์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นก็ตาม.

ดังนั้น แทนที่ผู้ป่วย 1 คน จะมีแพทย์หลายคนดูแลแบบแยกส่วนตามอวัยวะและระยะโรค ผู้ป่วยควรมีแพทย์เพียง 1 คน ที่สามารถดูแลตนและครอบครัว รวมทั้งชุมชนได้ครบทุกส่วนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งใน เวลาป่วยฉุกเฉิน ป่วยเฉียบพลัน  ป่วยเรื้อรัง  และป่วยระยะสุดท้าย โดยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (สาขาใหญ่ และย่อย) เป็นครั้งเป็นคราว ตามความเหมาะสม.

ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษา " แบบคน " และรักษา "ทั้งคน" แบบองค์รวม โดยเสียเวลา ค่าใช้จ่าย สุขภาพกายและใจ และเสียงานเสียการต่างๆ น้อยลงอย่างมากมาย.

อย่าสร้าง "แพทย์พันธุ์ใหม่ " ที่เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุกันอีกเลย.

 

 

 

เอกสาร
1. สันต์ หัตถีรัตน์. แพทย์-พยาบาลพันธุ์ใหม่. คลินิก 2547;20:555-9.

2. Mary Armitage. Aeute medicine : making it work for patients. Clin Med 2004;4:203-6.

 

สันต์ หัตถีรัตน์ พ.บ., ศาสตราจารย์เกียรติคุณ, มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • อื่น ๆ
  • นานาสาระ
  • ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์
  • อ่าน 2,516 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลสื่อ

237-008
วารสารคลินิก 237
กันยายน 2547
นานาสาระ
ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์
Skip to Top

บทความสุขภาพน่ารู้

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ​และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • ทันกระแสสุขภาพ
  • คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์
  • อื่น ๆ

ได้รับความนิยม

  • นม
  • ถั่วพู
  • คนท้อง
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผักพื้นบ้าน
  • สมุนไพร

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa