-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
200
ธันวาคม 2538
เอดส์ข้อน่ารู้1. เอดส์ (AIDS) หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคใหม่ที่มีรายงานครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2534 และมีรายงานผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2527 โรคนี้มีการระบาดในทวีปแอฟริกาก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรปและลุกลามไปทั่วโลก เชื้อก่อโรคเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการค้นพบในปี 2526 (หลังจากพบผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจำนวนมาก ซึ่งเป็นปริศนาดำมืดอยู่หลายปี) ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
199
พฤศจิกายน 2538
ธาลัสซีเมียข้อน่ารู้1. ไขกระดูก ซึ่งอยู่ภายในโพรงกระดูกทุกส่วนของร่างกาย มีหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด แล้วป้อนเข้ากระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำก๊าซออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงร่างกายให้เกิดการเผาผลาญอาหารจนเกิดพลังงานให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข และขนถ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาผลาญดังกล่าว ไปซับออกที่ปอดเม็ดเลือดขาว ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
198
ตุลาคม 2538
ฮ่องกงฟุตข้อน่ารู้1.ฮ่องกงฟุต หมายถึง อาการแผลเปื่อยที่ง่ามนิ้วเท้า คนทั่วไปเข้าใจว่าเกิดจากการย่ำน้ำ (เน่า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำท่วมขัง บางครั้งก็เรียกกันว่า “น้ำกัดเท้า”ชื่อนี้มีความเป็นมาอย่างไร ก็คงจะคาดเดาได้ แต่ก็มีการพูดกันต่อ ๆ กันมาในหมู่คนไทยจนเป็นที่เข้าใจกันดังความหมายข้างต้น2. แผลเปื่อยที่ง่ามเท้า มีสาเหตุที่พบได้บ่อย 2 โรค ได้แก่ (ก) โรคเชื้อรา ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
197
กันยายน 2538
ความดันเลือดสูงข้อน่ารู้1.หัวใจของคนเราทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เกิดแรงดันขึ้นภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งสามารถใช้เครื่องวัดความดัน ทำการตรวจวัดไม่ได้ โดยนิยมวัดที่บริเวณต้นแขน และมีหน่วยของค่าความดันเป็น “มิลลิเมตรปรอท”ความดันเลือดมีค่าที่วัดได้ 2 ค่า ได้แก่ ความดันช่วงบน(หรือความดันซิสโตลี) ซึ่งเป็นค่าความดันเลือดที่วัดได้ขณะหัวใจบีบตัว ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
196
สิงหาคม 2538
ไข้รูมาติก ข้อน่ารู้1.ไข้รูมาติก เป็นชื่อโรคชนิดหนึ่ง ที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า rheumatic fever เป็นโรคที่มีมาแต่ดั้งเดิม หากแต่ไม่มีชื่อเรียกแบบไทย ๆ จึงจำต้องคล้อยตามชื่อสากล เฉกเช่นชื่อโรคอื่น ๆ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
194
มิถุนายน 2538
บาดทะยักข้อน่ารู้1.บาดทะยัก เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพันธุ์หนึ่ง ในทีนี้ขอเรียกว่า “เชื้อบาดทะยัก” เชื้อนี้มีลักษณะพิเศษ คือ พบอยู่ตามดินทรายและมูลสัตว์ มีความคงทน สามารถมีชีวิตอยู่ตามดินทรายได้นานเป็นปี ๆ และแพร่พันธุ์ได้ดีในที่ ๆ ไม่มีออกซิเจน ดังนั้นโรคนี้จะเกิดกับผู้ที่มีบาดแผลแปดเปื้อนเชื้อบาดทะยัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาดแผลที่มีปากแผลแคบ แต่ลึก ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
193
พฤษภาคม 2538
เจ็บแปลบหน้าอก-เยื่อหุ้มปอดอักเสบ⇒ ข้อน่ารู้1.ปกติผิวปอดทั้ง 2 ข้างของคนเราจะมีเยื่อหุ้มอยู่ 2 ชั้น ซึ่งมีความยืดหยุ่นเพื่อให้ปอดสามารถหดและขยายตามจังหวะการหายใจออก-เข้า และระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นนั้น จะมีช่องว่างอยู่เรียกว่า “ช่องเยื่อหุ้มปอด”เยื่อหุ้มปอดที่อยู่ชั้นนอกจะมีประสาทรับสัมผัสกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มปอด ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
192
เมษายน 2538
เบาหวานข้อน่ารู้1. ปกติร่างกายของคนเรามีการเผาผลาญน้ำตาลที่ได้มาจากอาหารจำพวกแป้ง และของหวาน ให้เกิดเป็นพลังงานสำหรับการทำหน้าที่ของอวัยวะทุกส่วน เช่น การเคลื่อนไหว การใช้สมอง การทำงานของหัวใจ การย่อยอาหาร การหายใจ เป็นต้น การเผาผลาญน้ำตาลดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยสารฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “อินซูลิน” ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
191
มีนาคม 2538
โรคอัมพาต (ครึ่งซีก)ข้อน่ารู้1. โรคอัมพาต หมายถึง อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขาอันเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขนขาส่วนนั้นที่พบบ่อยก็คือ อาการอ่อนแรงของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของสมอง เรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก(hemiplegia)นอกจากนี้ยังอาจพบอาการอัมพาตในลักษณะอื่น เช่น ขาทั้งสองข้างอ่อนแรง อันเกิดจากความผิดปกติ(เช่น บาดเจ็บ ติดเชื้อ)ของไขสันหลังส่วนล่าง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
189
มกราคม 2538
โรคปากเบี้ยว ข้อน่ารู้1. คนบางคนอยู่ๆตื่นขึ้นตอนเช้าก็รู้สึกตกใจที่พบว่ามีอาการปากเบี้ยวข้างหนึ่ง โดยที่แขนขาแข็งแรงเป็นปกติ แล้วอาการจะค่อยๆดีขึ้น จนหายเป็นปกติได้อาการดังกล่าวนี้เรียกว่า “โรคปากเบี้ยว” ...