คู่มือหมอครอบครัว (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)
-
วารสารคลินิก
270
มิถุนายน 2550
แพทย์หลายคนคงรู้สึกกระอักกระอ่วนเมื่อต้องพูดถึงความตายกับผู้ป่วย กลัวผู้ป่วยจะคิดว่าหมอพูดจาไม่เหมาะสม ทำให้สะเทือนใจ เหมือนไปทักให้เสียกำลังใจ ต่างๆ นาๆ เหล่านี้ ดังนั้นในหลายครั้งเมื่อแพทย์ต้องสื่อข่าวร้ายให้ผู้ป่วยทราบ จึงรู้สึกลำบากใจและพยายามเลี่ยงที่จะพูดความจริง. แพทย์หลายคนออกแนวบิดเบือนความจริง เพราะเกรงว่าผู้ป่วยจะรับความจริงไม่ได้ ...
-
วารสารคลินิก
269
พฤษภาคม 2550
ในกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคที่หมดหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีอาการระยะสุดท้าย จะมีอาการที่พบบ่อยซึ่งก่อความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยและญาติได้มาก คือ อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งพบบ่อยถึงร้อยละ 50-70 ...
-
วารสารคลินิก
267
มีนาคม 2550
Caregiver guide for the last hours of lifeญาติควรดูแลอย่างไร เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากบทความตอนที่แล้วได้ยกตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคระยะสุดท้ายในฐานะแพทย์ผู้ดูแล แต่ทีมผู้ดูแลที่สำคัญคือญาติสนิทมิตรสหายที่มีความผูกพันกับผู้ป่วยมาอย่างยาวนาน สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายก่อนผู้ป่วยจากไปตามธรรมชาติอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและติดใจว่ายังรักษาพยาบาลไม่ถึงที่สุดหรือไม่ ...
-
วารสารคลินิก
263
พฤศจิกายน 2549
อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงเป็นอาการพบบ่อย ที่สำคัญ และเรียกได้ว่าเป็น "ไม้เบื่อไม้เมา" ในเวชปฏิบัติ เพราะพบได้ทั้งคนทั่วไปและคนที่ป่วยเป็นโรค แพทย์ส่วนใหญ่มักรู้สึกไม่ยินดีที่จะดูแลอาการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่พบสาเหตุโรคชัดเจนเมื่อไม่พบโรคทางกาย ก็มักจะเข้าใจว่าเป็นโรคทางใจ และละเลยที่จะสนใจในรายละเอียดความทุกข์ทรมานลักษณะนี้ "ไปนอนซะ ...
-
วารสารคลินิก
262
ตุลาคม 2549
"หมอคะ คนไข้กินไม่ได้เลย ผอมลงเรื่อยๆ หมอช่วยใส่ท่ออาหารให้แกด้วยเถอะค่ะ" นี่คงเป็นคำขอร้องที่แพทย์หลายคนไม่อยากได้ยิน โดยเฉพาะในผู้ป่วยด้วยโรคระยะสุดท้าย แต่เพราะแพทย์ไม่เคยได้เรียนรู้ที่มาที่ไปของการเกิดอาการเหล่านี้ จึงมีหลายคนที่เข้าใจผิดและทำตามที่ญาติขอร้องไปก่อน และไม่สามารถหยุดการให้อาหารทางท่ออาหารหรือทางหลอดเลือดได้ในที่สุด ...
-
วารสารคลินิก
260
สิงหาคม 2549
หลังจากที่แนะนำให้รู้จักความปวดและการประเมินความปวดในบทความตอนที่ 1 แล้วนั้น เมื่อผู้รักษาสามารถวินิจฉัยความปวดได้แต่เนิ่นๆ และประเมินปวดได้แล้ว จึงควรมาทำความรู้จักกับการรักษาความปวด. ในที่นี้จะเน้นเฉพาะปวดเรื้อรังจากมะเร็งหรือโรคระยะสุดท้ายต่างๆ จะไม่เน้นเรื่องการรักษาปวดเฉียบพลันหรือปวดเรื้อรังอื่นๆ อาทิเช่น ปวดไมเกรน ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรังจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ...
-
วารสารคลินิก
259
มิถุนายน 2549
มากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งขั้นลุกลามมีความปวดรุนแรง1,2 ความปวดเหล่านี้มีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง. ความทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดเรื้อรังเป็นเวลานานส่งผลถึงสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยมะเร็งและคนรอบข้าง. American Pain Society จึงจัดความปวดเป็นสัญญาณชีพอย่างที่ 5 ที่แพทย์ควรจะประเมินเหมือนกับสัญญาณชีพอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอาการปวดอย่างทันท่วงทีและเพียงพอ ...
-
วารสารคลินิก
255
มีนาคม 2549
การที่ญาติไม่ให้แจ้งข่าวร้ายให้ผู้ป่วยทราบเป็นสถานการณ์เจ้าปัญหาที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่หมดหวัง โดยเฉพาะในวัฒนธรรมเอเชียอย่างประเทศไทย. หากสังเกตจะพบว่าในสภาวะปกติคนไทยมักไม่พูดจาตรงไปตรงมา แต่จะใช้คำอุปมาอุปไมย สำนวนโวหารที่มีปรัชญาแนวคิดในการดำเนินชีวิตซ่อนอยู่ มีความเกรงใจเป็นที่ตั้ง เกรงกลัวว่าจะทำให้ผู้อื่นสะเทือนใจ และไม่นิยมพูด อะไรที่เป็น " ลาง". ...
-
วารสารคลินิก
254
กุมภาพันธ์ 2549
แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์ได้ก้าวล้ำหน้าไปมากมาย แต่ไม่มีคำตอบใดที่เอาชนะความตายได้ เพียงแต่ยื้อเวลาไว้ได้บ้าง. ดังนั้นแพทย์จึงเผชิญหน้ากับภาวะกระอักกระอ่วนที่ผู้ป่วยและญาติคาดหวังสูงขึ้นกับเทคโนโลยีล้ำยุคเหล่านี้ ก่อให้เกิดความห่างเหินและขาดการสื่อสารระหว่างกันลงไปเรื่อยๆ. ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้การสื่อสารขาดตอนระหว่างแพทย์ผู้รักษากับผู้ป่วยด้วยโรคที่หมดหวังคือ ...