Skip to main content
ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
menu

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
search
  • เว็บหลักหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
หน้าแรก » บทความสุขภาพน่ารู้ » การใช้วิตามินซีในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นไข้หวัด
  • ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การใช้วิตามินซีในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นไข้หวัด

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มีนาคม 2551 00:00

ถ้าท่านมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ เกี่ยวกับเวชปฏิบัติและการใช้ยา โปรดส่งคำถามมาได้ที่ วารสารคลินิก คอลัมน์ "ปัญหาวิชาการ", 36/6 ซอยประดิพัทธ์ 10 ถนนประดิพัทธ์ พญาไท กรุงเทพฯ 10400, พร้อมทั้งเขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ปัจจุบันแนบมาด้วย เรายินดีเป็นกุญแจไขข้อข้องใจของท่านเสมอ

การใช้วิตามินซีในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นไข้หวัด
ถาม ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วิตามินซี ในการรักษาผู้ป่วยที่เริ่มเป็นไข้หวัด ว่าควรจะให้หรือไม่ ถ้าให้ควรให้ในปริมาณเท่าไรและถ้าไม่ให้เพราะเหตุใด พอจะมีเอกสารอ้างอิงหรือไม่.

ศานติ์สิริ วงศ์สนิท

ตอบ ข้อมูลที่นำเสนอต่อไปนี้ ได้มาจากรายงานที่รวบรวมการศึกษาวิจัยเรื่องวิตามินซีกับโรคหวัด (meta-analysis) โดย Douglas RM, Hemila H, Chalker E, Treacy B ใน The Cochrane Library 2007, Issue 3.

การศึกษาวิจัย (ในประชากรหลายหมื่นคน) ทำในหลายลักษณะ เช่น การให้อาสาสมัครกินวิตามินซี แล้วทดลองให้สัมผัสเชื้อโดยวิธีต่างๆ กัน. ผลการศึกษาค่อนข้างขัดแย้งกัน มีเพียงรายงานเดียวที่พบว่าการกินวิตามินซี อาจช่วยป้องกันไข้หวัดได้.

Community prophylaxis โดยการให้อาสาสมัครทั้งผู้ใหญ่และเด็กกินวิตามินซีอย่างสม่ำเสมอ พบว่าอุบัติการณ์ของโรคในประชากรที่ได้รับวิตามินซี ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม. เมื่อเป็นไข้หวัด เด็กที่รับวิตามินซีจะหายจากโรคเร็วขึ้น โดยระยะเวลาป่วยลดลงร้อยละ 13.6 ส่วนผู้ใหญ่ระยะเวลาป่วยลดลงเพียงร้อยละ 8.0.

Community therapeutic trial โดยการให้ผู้ป่วยโรคไข้หวัดกินวิตามินซี ไม่พบว่าวิตามินซีช่วยลดความรุนแรง และระยะเวลาของการเจ็บป่วย.

อาสาสมัครหรือผู้ป่วยในการศึกษาที่กล่าวมา ได้รับวิตามินซีตั้งแต่วันละ 200 มก. ขึ้นไปถึงวันละมากกว่า 2 กรัม ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงเกิดขึ้น.
จากข้อมูลที่ให้มาคิดว่าวิตามินซี ไม่น่ามีบทบาทหลักในการรักษาไข้หวัด.

กำธร มาลาธรรม พ.บ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ยาในผู้ป่วย CAD ที่ได้รับการทำ primary PTCA ร่วมกับ stent

ถาม ขอถามเกี่ยวกับผู้ป่วย coronary artery disease (CAD) ที่ได้รับการทำ primary percutaneous transluminal coronary angioplasty (PTCA) ร่วมกับ stent ได้รับ clopidogrel 75 มก. 1 เม็ด วันละครั้ง ควรจะให้แอสไพรินขนาดเท่าไร (กี่มก.) ร่วมไปด้วย.

สมาชิก clinic

ตอบ ขอตอบปัญหาดังนี้
1. ถ้าใส่ stent ธรรมดา (bare metal stent) ควรกิน ASA 162-325 มก. ร่วมกับ clopidogrel (75 มก.) 1 เดือน และหลังจากนั้น ASA 75-162 มก. ตลอดไป.

2. ถ้าใส่ drug - cluting stent (stent ชุบยา) ควรกิน ASA 162-325 มก. ร่วมกับ clopidogrel (75 มก.) อย่างน้อย 6 เดือน. หลังจากนั้นควรกิน clopidogrel (75 มก.) จนครบ 1 ปี และ ASA ให้กินต่อไปตลอด ที่ขนาด 75-162 มก. (ACC/AHA UA/NSTEMI guideline 2007).

ภาวิทย์ เพียรวิจิตร พ.บ.
หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ
สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ.
ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ป้ายคำ:
  • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • คุยสุขภาพ
  • ปัญหาวิชาการ
  • stent
  • วิตามินซี
  • นพ.กำธร มาลาธรรม
  • นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร
  • ศ.พญ.สุรางค์ เจียมจรรยา
  • อ่าน 4,390 ครั้ง
  • พิมพ์หน้านี้พิมพ์หน้านี้
Skip to Top

คำถามสุขภาพ

  • ทั้งหมด
  • การแพทย์ทางเลือก
    • แพทย์แผนไทย
      • กดจุด
      • นวดไทย
    • แพทย์แผนจีน
  • ดูแลสุขภาพ
    • การดูแลผู้สูงอายุ
    • การปฐมพยาบาล
    • การรักษาเบื้องต้น
    • การใช้ยาสมุนไพร
    • คู่มือดูแลสุขภาพ
    • ยาและวิธีใช้
    • ตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง
      • คำนวณค่า BMI
      • วินิจฉัยโรคเบื้องต้น
      • แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี
    • คุยสุขภาพ
      • กรณีศึกษา
      • ถามตอบปัญหาสุขภาพ
  • สุขภาพทางเพศและครอบครัว
    • การดูแลบุตร
    • แม่และเด็ก
    • การตั้งครรภ์
    • เรียนรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัว
  • สร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. และป้องกันโรค
    • อาหาร
      • อาหาร 5 หมู่
      • อาหารของผู้่ป่วยโรคเรื้อรัง
        • ความดันสูง
        • หัวใจ
        • เกาต์
        • เบาหวาน
      • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
      • อาหารป้องกันมะเร็ง
      • อาหารสมุนไพร
    • ออกกำลังกาย
      • วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอร์โรบิค แอร์โรบอคซิ่ง รำกระบอง ไทเก็ก ชี่กง โยคะ
    • อารมณ์
      • การทำสมาธิ
      • การพักผ่อน
      • การพัฒนา EQ
      • จิตอาสา/ ฉือจี้
  • พฤติกรรมอันตราย
    • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
    • อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • อิริยาบถ
  • โรคและอาการ
    • โรคเรื้อรัง
      • กลุ่มอาการเมตาโบลิค
      • ความดันโลหิตสูง
      • ถุงลมปอดโป่งพอง
      • มะเร็ง
      • อัมพฤกษ์ อัมพาต
      • เบาหวาน
      • โรคข้อ/เกาต์
      • โรคทางจิตเวช เครียด หวาดระแวง
      • โรคหวัด ภูมิแพ้
      • โรคหัวใจ
      • โรคหืด
      • ไขมันในเลือดสูง/ผิดปกติ
      • ไตวาย
    • โรคตามระบบ
      • ระบบทางเดินอาหาร
      • โรคจากอุบัติเหตุ สารพิษ และสัตว์พิษ
      • โรคช่องปากและฟัน
      • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      • โรคติดเชื้อ
      • โรคผิวหนัง
      • โรคพยาธิ
      • โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศชาย
      • โรคระบบทางอวัยวะเพศหญิง
      • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
      • โรคระบบทางเดินหายใจ
      • โรคระบบประสาทและสมอง
      • โรคระบบไหลเวียนโลหิต
      • โรคหู ตา คอ จมูก
    • โรคจากการทำงาน
      • พิษภัยจากสารเคมี (ยาฆ่าเมลง/ สารตะกั่ว)
      • โรคจากฝุ่นและสารเคมีในโรงงาน
      • โรคจากสัตว์ เช่น ฉี่หนู
      • โรคจากอริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
      • โรคเส้นเอ็นอักเสบ/ นิ้วล็อค
  • อื่น ๆ

  • สนับสนุนสื่อสุขภาพออนไลน์หมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง
  • ผ่าตัดฟรีสำหรับเด็ก ที่เป็นโรคหัวใจ
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย (สพท.)

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • ดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง
  • บทความสุขภาพน่ารู้
  • สื่อสุขภาพ
  • คำถามสุขภาพ
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อหมอชาวบ้าน
  • ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

รวมลิงค์เครือข่าย

  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  • สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
  • สถาบันโยคะวิชาการ

สื่อสุขภาพ

  • คลิปสุขภาพ
  • หมอชาวบ้านรายเดือน
  • คลินิกรายเดือน
  • จดหมายข่าวย้อนหลัง
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
  • feed หมอชาวบ้าน
  • facebook หมอชาวบ้าน
  • twitter หมอชาวบ้าน
  • youtube หมอชาวบ้าน
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion พัฒนาระบบโดย Opendream สัญญาอนุญาต cc by-nc-sa