-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
357
มกราคม 2552
สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.2552 ครับ คอลัมน์โยคะช่วงที่ผ่านมา ผมได้ทยอยแปลโยคะบำบัด ของครูกุลวัลยนันท์ ผู้ก่อตั้งสถาบันโยคะไกวัลยธรรม ประเทศอินเดีย จนเสร็จสิ้นลง ตั้งใจจะรวมเป็นเล่ม เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้สนใจเรื่องโยคะบำบัด ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นๆ ส่วนปี พ.ศ.2552 นี้ ตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับ "วิถีทางแห่งโยคะ" โดยการนำภูมิปัญญาโบราณของชาวตะวันออก มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนยุคอินเทอร์เน็ต ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
356
ธันวาคม 2551
เราได้ให้ภาพรวมของโยคะบำบัด ทั้งหลักการ คำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ และของกระบวนต่างๆ ในโยคะบำบัด เป็นการบำบัดเฉพาะเจาะจงของโยคะที่ปฏิบัติได้จริงและเกิดผล เกิดประโยชน์จริง อย่างไรก็ตาม โยคะยุคใหม่บางแห่งอาจจะมีการผสมโยคะเข้ากับศาสตร์อื่นๆ บ้างทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยหวังเพียงจะทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น บ้างทำไปโดยหวังจะให้มันดูวิจิตรพิสดารมากขึ้น ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
354
ตุลาคม 2551
ที่ผ่านมา เราได้กล่าวถึงเทคนิคโยคะต่างๆ ที่ช่วยนำมาซึ่งการทำงานอย่างสมดุลระหว่างกาย - ใจ ซึ่งเทคนิคทั้งหลายนั้น ก็เพื่อนำเรามาสู่แก่นกลาง อันได้แก่ ฌาน นี่เองทั้งที่ฌานคือตัวหลัก แต่เราไม่พูดถึงฌานตั้งแต่ต้นเพราะกาย-ใจของเรายังไม่พร้อมนั่นเอง ยังตกอยู่ในอำนาจของความไม่สมดุล (ทางกาย) ของความซัดส่าย (ทางใจ) อย่างรุนแรง ต่อเมื่อกายและใจนิ่งลง สงบลงบ้างแล้วเท่านั้น เราจึงเริ่มฝึกฌาน ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
353
กันยายน 2551
อาหารที่กำหนดไว้สำหรับผู้ฝึกโยคะ โดยเฉพาะการฝึกหฐโยคะนั้นเข้มงวดมาก ไม่กินอาหารรสเผ็ด รสเปรี้ยว รวมถึงการหลีกเลี่ยงเกลือให้ได้มากที่สุด เนื้อและเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดการกระตุ้นก็เป็นของต้องห้าม กล่าวได้ว่าอาหารหลักของผู้ฝึกคือ นมและผัก โดยอนุญาตให้กินเมล็ดธัญพืชและถั่วบ้าง มีข้อสังเกตว่าขณะที่ชาวตะวันตกแบ่งอาหารเป็นกินแต่ผัก (vegetarian) กับไม่จำกัดว่าจะต้องกินแต่ผัก (non vegetarian) ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
352
สิงหาคม 2551
คเนศกริยา หรือ มูละโสธนาคือการใช้ไม้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณนิ้วมือ ทำความสะอาดและนวดบริเวณทวาร ซึ่งตามตำราโบราณใช้รากขมิ้น โดยจุ่มในน้ำมันละหุ่ง แล้วสอดลึกเข้าไปราวสามส่วนสี่ของนิ้วมือ หมุนรากขมิ้นเพื่อนวดทั้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาเทคนิคนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารแข็งแรงขึ้น และมีความชุ่มชื้นมากขึ้น มีผลดีต่อผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมีปัญหาความแห้งที่ปากทวาร อันส่งผลให้อุจจาระคั่ง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
350
มิถุนายน 2551
1. วาตะบาสติการชำระล้างลำไส้ของโยคะนั้น ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องมีความชำนาญในการทำนาอุลิ (เทคนิคการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องขยับไปมาเพื่อถูนวดช่องท้อง) นั่งยองๆ เข่าชิดแนบอก เอามือรวบหน้าแข้ง กอดรัดขาให้ชิดทรวงอก ทำนาอุลิ ทำให้เกิดสุญญากาศในช่องท้อง จากนั้น เปิดหูรูดทวาร อากาศจะเข้าไปในลำไส้ หูรูดทวารจะปิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อเราคลายนาอุลิ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
347
มีนาคม 2551
กวี คงภักดีพงษ์ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้านโยคะบำบัด บทที่ ๔ (ต่อ)เทคนิคโยคะอื่นๆ อนามัยในช่องคอและจมูก อนามัยของระบบย่อยอาหารโยคะมีเทคนิคเพื่อการชำระและปรับสภาพของกระเพาะอาหาร ได้แก่๑)ตันตะ เดาติ เป็นการล้างกระเพาะอาหารด้วยสายยาง๒)วาสตระ เดาติ เป็นการทำความสะอาด และนวดผนังกระเพาะอาหาร ด้วยผ้า๓)วามัน เดาติ เป็นการตั้งใจอาเจียน๔)คชกรณี หรือ กุญชรกริยา ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
346
กุมภาพันธ์ 2551
โยคะบำบัด บทที่ ๔กวี คงภักดีพงษ์ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้านเทคนิคโยคะอื่นๆ อนามัยในช่องคอและจมูกพรหมมุทราที่เรียกชื่อพรหมมุทราเพราะเทคนิคนี้หันหน้าไป๔ ทิศ คล้ายพระพรหมผู้มี ๔ เศียร หนึ่งในตรีเทพของศาสนาฮินดู ในการฝึก เราค่อยๆ เงยศีรษะไปด้านหลังช้าๆ จนสุด สายตาจ้องที่ปลายจมูก ขบฟันบนฟันล่างไว้ด้วยกัน ผ่อนคลายศีรษะ ค้างไว้ราว ๓ วินาที จากนั้นยกศีรษะกลับ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
345
มกราคม 2551
กวี คงภักดีพงษ์ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้านเทคนิคโยคะอื่นๆกับอนามัยในช่องคอต่อมทอนซิลทั้ง ๒ ข้าง คล้ายยามยืนเฝ้าข้างละคน เมื่อต่อมทอนซิลติดเชื้อ การอักเสบจะกระจายไปยังกล้ามเนื้อทั่วบริเวณคอช่องคออายุรเวทเรียกช่องคอว่า สัตตบาท หมายถึง จัตุรัส ที่เปิดไปสู่ถนน ๗ สาย (สัตตะหมายถึง ๗ และ บาทก็คือทางเท้าหรือทางเดิน) อันได้แก่ รูจมูก ๒ รู ทางเดินไป สู่หูส่วนกลาง ๒ ช่อง หลอดอาหาร หลอดลม ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
343
พฤศจิกายน 2550
กวี คงภักดีพงษ์ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้านเทคนิคโยคะอื่นๆ อนามัยในช่องคอและจมูกนอกจากอาสนะ ปราณยามะ ซึ่งเป็นเทคนิคหลักของโยคะที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีเทคนิคโยคะอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ในทางบำบัด ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างกระบวนการจัดปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงที่เราจะกล่าวถึงต่อไปชลเนติ (หรือตามตำราดั้งเดิมควรจะเรียกว่า ชลกะปาละภาติ)ตำราดั้งเดิมอธิบายวิธีการไว้ ๒ ...