เวชปฏิบัติปริทัศน์ (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)
-
วารสารคลินิก
262
ตุลาคม 2549
Vibrio vulnificus เป็นแบคทีเรียแกรมลบทรงแท่งที่อยู่ในตระกูล (family) Vibrionaceae เช่นเดียวกับ Vibrio cholerae ที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค (cholera) และ Vibrio parahaemolyticus ที่ก่อโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis). โดยปกติ V. ...
-
วารสารคลินิก
260
สิงหาคม 2549
การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม : การซักประวัติหลักที่สำคัญในการวินิจฉัยสมองเสื่อม คือการซักประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมทุกท่านต้องตระหนักเรื่องกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานในการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย. จริงๆแล้วกฎนี้ใช้ได้กับโรคทุกโรคไม่ใช่เฉพาะโรคสมองเสื่อมเท่านั้น. ต่อไปนี้เป็นกฎเกณฑ์หลักขั้นพื้นฐานที่ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมทำให้ง่าย ถูกต้อง ...
-
วารสารคลินิก
260
สิงหาคม 2549
ความเป็นมาการให้ความสำคัญของจิตใจในการรักษา โรค และความเจ็บป่วยต่างๆนั้น ถือเป็นแนวคิดหลักที่สำคัญของการแพทย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งการแพทย์จีน อินเดีย และการแพทย์ของประเทศตะวันตก.อย่างไรก็ตามในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 หรือราว 300 ปีก่อน การ แพทย์แผนตะวันตกได้เริ่มแยกองค์ประกอบด้านจิตใจและอารมณ์ออกจากด้านร่างกาย โดยเป็นผลจากการกำหนดทิศทางของวิทยาศาสตร์ขึ้นใหม่ใน ยุค Renaissance ...
-
วารสารคลินิก
258
มิถุนายน 2549
คำนำโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่รู้จักดีจนเอามาพูดหยอกล้อกันเล่น ถ้าคนไหนความจำไม่ดี หลงลืมบ่อยๆ จะกระซิบกับพรรคพวกว่า " สงสัยเป็นอัลไซเมอร์ " แต่ถ้าย้อนถามกลับว่าโรคอัลไซเมอร์ตัวจริงเป็นอย่างไรจะไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้.โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รู้จักกันดี เพราะในอดีตโรคนี้ไปเกี่ยวข้องพาดพิงกับนักการเมืองที่สำคัญของประเทศไทย ...
-
วารสารคลินิก
258
มิถุนายน 2549
เนื่องจากการติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus, HCV) และเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) เป็นทางเดียวกันจึงพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 30 มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วย. ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูงถึงร้อยละ 90 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีด ...
-
วารสารคลินิก
257
พฤษภาคม 2549
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus, HBV) เรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญและพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกและพบบ่อยในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดโดยได้รับเชื้อจากมารดา แต่ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) มักจะเป็นการติดเชื้อที่ได้มาภายหลัง เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและเอชไอวีสามารถติดต่อทางเดียว กันได้ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ...
-
วารสารคลินิก
256
เมษายน 2549
บทนำภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นในระหว่างการนอนหลับมีอันตราย และทำให้เกิดความผิดปกติอื่นจน ถึงเสียชีวิตได้. พบภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้บ่อยในคนอ้วน เพศชาย ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคความดันเลือดสูง.1,2นิยามลักษณะสำคัญของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับคือ การหยุดหายใจช่วงสั้นๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยในระหว่างนอนหลับ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ...
-
วารสารคลินิก
256
เมษายน 2549
ยากินคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดที่ใช้กันแพร่หลาย เป็นยาที่มีเฉพาะโปรเจสตินอย่างเดียว คือยา Levonorgestrel (LNG) ขนาด 750 มคก.ต่อเม็ด วิธีใช้ให้กินทันทีหลังร่วมเพศ 1 เม็ดอย่างช้าภายใน 72 ชั่วโมง และกินอีก 1 เม็ดใน 12 ชั่วโมงต่อมา จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 85-88 ซึ่งหมายความว่าในสตรี 100 รายที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันในช่วงที่อาจตั้งครรภ์ได้ (fertile period) คือในช่วงกลางรอบเดือน ...
-
วารสารคลินิก
256
เมษายน 2549
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า Human papillomavirus (HPV) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อของเยื่อบุปากมดลูกชนิด squamous และการคงอยู่ของการติดเชื้อชนิดนี้เป็นความเสี่ยงสูง (high risk oncogenic HPV) ต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก. อย่างไรก็ตาม HPV มีอยู่ด้วยกันหลาย genotypes ก็ทำให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกได้หลากหลายรูปแบบเช่นกัน ตัวอย่างเช่น HPV-6, HPV-11 จะก่อให้เกิดโรคหูดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วน ...
-
วารสารคลินิก
239
พฤศจิกายน 2547
ความหมาย Amblyopia เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า " dullness of vision " อาจเรียกว่าสายตา ขี้เกียจ (lazy eye) เป็นภาวะตามัวเพราะสายตาถูกบดบังด้วยเหตุใดๆ (เช่น เป็นต้อกระจกแต่กำเนิด) ในขณะที่ยังมีการพัฒนาการของการมองเห็นยังไม่สมบูรณ์ จึงเกิดภาวะนี้ในเด็ก. โดยทั่วไปมักเกิดก่อนอายุ 8-9 ปี และถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก่อนที่การพัฒนาการมองเห็นจะสมบูรณ์ ...