คุยกับผู้อ่าน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 234 ตุลาคม 2541
    ขณะนี้คำว่า “กินยา” กำลังมีความหมายอื่น คือหมายถึง กรณีทุจริตคอร์รัปชั่นที่ กระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดซื้อยา ที่มีชมรมแพทย์ชนบทออกมาเคลื่อนไหวเปิดโปง จนกระทั่งมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสืบสวน โดยมีนายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการนี้ใช้เวลาสืบสวนอยู่ ๑๘ วัน พบว่ากรณีมีมูล ทำให้รัฐมนตรีว่าการฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขจากพรรคกิจสังคมลาออกไป ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 233 กันยายน 2541
    ที่จริงหลักการเรื่องสุขภาพนั้นทราบกันมานานแล้วว่าต้องอาศัย ๓ ประสาน คือ ชีวะ จิต และสังคม แต่การแพทย์แผน ปัจจุบันมักใช้ไม่ครบ คือใช้แกนเดียว คือ ชีวะ หรือชีววิทยา หรือเรื่องทางกาย แต่เรื่องทางจิต และเรื่องทางสังคม เข้ามากำหนดสุขภาพอย่างมาก เรื่องสุขภาพจึงควรจะใช้หลักการ ให้ครบทั้ง ๓ แกนประสานกัน สุขภาพองค์ ๓ หรือสุขภาพองค์รวม คือ ชีวะ-จิต-สังคม เรื่องชีวจิตของ ดร.สาทิส อินทรกำแหง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 232 สิงหาคม 2541
    เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๑ มูลนิธิรางวัลมอนแมกไซไซ ประกาซชื่อ โสภณ สุภาพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทบางจากปิโตรเลียม เป็นผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซประจำปั ๒๕๔๑ นับเป็นคนไทยคนที่ ๑๗ ที่ได้รับรางวัลนี้ คุณโสภณเป็นคนที่มีหัวใจเพื่อคนจน คนด้อยโอกาส และคนที่เสียเปรัยบในสังคม เป็นตัวอย่างของคนที่ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมที่สนใจปัญหาสังคม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 231 กรกฎาคม 2541
    ปีนี้ประเทศไทยจะเสียค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ค่า- ใช้จ่ายนี้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราประมาณ ๑๖ เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน เงินจำนวนนี้เสียเป็นค่าหยูกยาและเทคโนโลยีจากต่างประเทศเสียเป็นจำนวนมาก อะไรที่จำเป็นต้องเสียเพื่อรักษาชีวิตคนไทยก็คงต้องยอม แต่ส่วนใหญ่ที่เสียไม่จำเป็นและไม่คุ้มค่า หมอชาวบ้านลองไปหาตัวเลขมาเสนอผู้อ่านสิว่าปีหนึ่งๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 230 มิถุนายน 2541
    สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมใหญ่เรื่องการส่งเสริม สุขภาพเมื่อวันที่ ๖-๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ในการนี้ได้มีการผลิตเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพออกมาจำนวนมาก และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลากหลายวิชาชีพ สื่อสาระที่สำคัญของการประชุมคือ สุขภาพไม่ได้สร้างในโรงพยาบาล สุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ที่ทำงาน สื่อ นโยบายสาธารณะที่ดี โรงพยาบาลไม่ใช่ที่สร้างสุขภาพ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 229 พฤษภาคม 2541
    ในวันที่ ๖-๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ นี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขจะจัดประชุมใหญ่เรื่อง “การส่งเสริมสุขภาพ” ในการนี้นอกจากการปาฐกถาและอภิปรายแล้ว คงจะมีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมามาก เป็นโอกาสที่ทุกคนจะหามาศึกษาได้ ถ้าอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพหรือสุขภาวะ หรือความสุขกายสบายใจ ต้องสนใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ คนไทยสนใจเรื่องสุขภาพเสียมากกว่าสุขภาพดี จึงมีจินตนาการเรื่องสุขภาพอยู่ที่โรงพยาบาล มด หมอ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 228 เมษายน 2541
    ป๋วย-สัญญา-ปรีดีอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นปูชนียบุคคล ๓ ท่าน เกิดเรียงเดือนกัน คืออาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ๙ มีนาคมอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ๕ เมษายนอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ๑๑ พฤษภาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดให้มีพิธีสงฆ์ ปาฐกถา และกิจกรรมทางวิชาการอื่นทั้ง ๓ โอกาส เมื่อ ๙มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้แสดงปาฐกถาป๋วย อึ้งภากรณ์ ครั้งที่ ๖ เรื่อง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 227 มีนาคม 2541
    เป็นหวัดไม่ควรไปหาหมอหลายปีมาแล้ว มีนักหนังสือพิมพ์ผู้หญิงชาวอังกฤษ มาเขียนเรื่องสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย บอกกับผมว่า “ที่อังกฤษเมื่อประชาชนเป็นหวัดจะไม่ไปหาหมอ เพราะเขารู้ว่ามันหายเอง แต่คนไทยนี่แปลกเป็นหวัดก็ไปหาหมอ” ที่คลินิกแพทย์และที่โรงพยาบาลทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยผู้ป่วยเป็นหวัดเจ็บคอ ถ้าคนเป็นหวัดเจ็บคอไม่ต้องหาหมอหรือไปโรงพยาบาล จะลดภาระของหมอของโรงพยาบาลไปได้มาก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 226 กุมภาพันธ์ 2541
    โรคภัยไข้เจ็บในสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจมีความผันแปรในระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ ที่ไปกู้เงินมาขยายกิจกการก็กำลังแฟบลง เพราะฟองสบู่ทางการแพทย์ก็แตกเหมือนกัน ประชาชนโดยทั่วไปมีเงินน้อยลง ถ้าต้องเจ็บป่วยก็จะยิ่งเสียเศรษฐกิจเข้าไปอีกในยามเงินน้อย ถ้าระวังรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่เจ็บป่วย ประหยัดเงินได้มากเท่าไร ก็เหมือนเรามีรายได้มากขึ้นเท่านั้น เด็กๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 225 มกราคม 2541
    มรรค ๕ แห่งการแก้ทุกข์ปี ๒๕๕๐ คนไทยประสบความทุกข์ถ้วนหน้าจากวิกฤติทางเศรษฐกิจจนไม่มีความสุขจะส่งกันเช่นเคย ปี ๒๕๔๑ เราจะต้องลดทุกข์ให้ได้ที่จริงความสุขก็คอการหมดไปของความทุกข์ ตามหลักทางพระพุทธศาสนาทุกข์หมดได้ด้วยปัญญา เราควรเจริญปัญญารู้เท่าทันดังต่อไปนี้๑. รู้ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นอนิจจังความทุกข์ก็เป็นอนิจจัง คือ จะไม่อยู่กับเราตลอดไป ...