คุยกับผู้อ่าน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 192 เมษายน 2538
    อายุวัฒนะในเดือนเมษายนมีวันผู้สูงอายุ หมอชาวบ้านจึงได้นำเรื่องนี้ขึ้นปก เรื่องอายุยืน หรือทีฆายุโก หรืออายุวัฒนะ เป็นอุดมคติของมนุษย์อย่างหนึ่งมาแต่โบราณกาล เพราะคนโบราณมีการตายโดยไม่สมควรตั้งแต่อายุน้อยๆ กันมาก ใครอายุถึง ๖๐ จึงถือเป็นเรื่องดีใจ และฉลองกันยกใหญ่ มาบัดนี้มนุษย์ตายตั้งแต่อายุยังน้อยลดลง ในสังคมต่างๆ จึงมีผู้สูงอายุมากขึ้น และจะมีมากขึ้นไปอีกสังคมที่มีคนสูงอายุมากๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 191 มีนาคม 2538
    ความงามกับควันพิษหมอชาวบ้านฉบับนี้เป็นเรื่องผู้หญิงกับบุหรี่ ความงามกับควันพิษ ความงามกับควันพิษ เป็นของที่ไปด้วยกันไม่ได้ ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ความงามเป็นเรื่องของการเปล่งประกายของความพอดี ควันพิษเป็นตัวทำลายความพอดี เพราะควันพิษไปทำให้เกิดสารกัมมันตะในร่างกายที่ทำลายหลอดเลือดหัวใจ สมอง ผิวหนัง เกิดความเศร้าหมอง ผิวเขียวคล้ำ เพราะเลือดไม่ปกติ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 190 กุมภาพันธ์ 2538
    โรคกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือนโรคกระดูกพรุนนี้ภาษาอังกฤษการแพทย์เรียกว่า esteoporosis เป็นสภาพที่กระดูกพรุนไป ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม อาจทำให้มีการปวดกระดูกและกระดูกหักง่าย ในผู้หญิงที่อายุมากจะเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น ดังที่เราได้ยินว่า “ผู้หญิงอาวุโส” ท่านนั้นท่านนี้กระดูกหักบ้าง หรือเตี้ยลงไปบ้างขณะนี้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 189 มกราคม 2538
    ความสุขปีใหม่ 2538เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2538 ขออวยพรให้ชาวคณะหมอชาวบ้านทุกคน กล่าวคือ ผู้เขียน ผู้ทำงานในสำนักงาน ผู้พิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย ผู้อ่าน ตลอดจนญาติมิตรของผู้อ่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดปี พ.ศ. 2538 ด้วยอำนาจแห่งคุณงามความดีของแต่ละท่านที่ได้ทำไว้คุณงามความดี คือความรักต่อเพื่อมนุษย์และปัญญา ถ้ามีปัญญาที่แท้จริงก็ต้องสร้างความสุขความเจริญได้อย่างแน่นอน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 188 ธันวาคม 2537
    อำนาจที่4 เครื่องมือสู้เอดส์เนื่องในวันเอดส์โลก 1 ธันวาคม หมอชาวบ้านนำเรื่องโรคเอดส์เป็นเรื่องขึ้นปก ขณะนี้คนไทยติดเชื้อโรคเอดส์ไปแล้วประมาณ 6-8 แสนคน ถ้าอยากดูนรกบนดินให้ไปดูที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา เพราะเต็มไปด้วยผู้ป่วยโรคเอดส์ และความทุกข์ทรมานของผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ อีก 6ปีจากนี้ไปคือในปี ค.ศ.2000 จะมีคนไทยติดเชื้อเอดส์ประมาณ4 ล้านคน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 187 พฤศจิกายน 2537
    ตัณหาหรือปัญญาทางสื่อหมอชาวบ้านฉบับนี้ได้นำเรื่องผลกระทบของสื่อที่มีต่อสังคมมาตีพิมพ์ ในสมัยโบราณมีสื่อความรู้น้อย มนุษย์ได้ข้อมูลข่าวสารจากพ่อแม่ จากครู จากเพื่อนบ้าน ใครฟังมากเขาเรียกว่าเป็นพหูสูต คือคนฉลาด การฟังถือว่าเป็นทางที่มาแห่งปัญญาทางหนึ่ง ที่เรียกว่าสุตมะยะปัญญาในสมัยปัจจุบันที่เรียกว่าสมัยแห่งข่าวสาร มีวิทยุเป็นร้อยๆสถานี ยังมีสถานีโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์อีกมากมาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 186 ตุลาคม 2537
    สมุนไพร – ยารักษาสังคมสังคมไทยเหมือนสังคมเครื่องหลุด ที่ส่วนต่างๆไม่เชื่อมโยงกัน หลุดแยกจากกันไปเป็นส่วนๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ ครอบครัว การเมือง ศาสนา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม กระจายหลุดจากกันไปเป็นส่วนๆปัญหาต่างๆเกิดขึ้นจากการหลุดจากกันเป็นส่วนๆ แม้จะทำงานหนักอย่างไร ถ้ายังทำแบบเป็นส่วนๆ ไม่เชื่อมโยงกันแล้วไซร้ จะไม่มีวันแก้ปัญหาได้ เปรียบประดุจการสร้างบ้าน ต้องนำดิน ปูน ทราย ไม้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 185 กันยายน 2537
    พันธุกรรม - พฤติกรรม หมอชาวบ้านฉบับนี้ได้นำเรื่องดาวน์ซินโดรมมาขึ้นปก สภาวะเช่นนี้เกิดจากพันธุกรรมสภาวะหรือโรคที่เกิดจากพันธุกรรมมีหลายชนิดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมต่อต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ก็มีการประชุมพันธุศาสตร์การแพทย์แห่งเอเชียแปซิฟิกกันในกรุงเทพฯนี้เอง โรคที่เกิดจากพันธุกรรมมีมากหลาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 184 สิงหาคม 2537
    ความรักของแม่ มหาพลังทางสังคมสังคมทั่วโลกเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง ทำให้มนุษย์มีสภาพเหมือนหนูที่วิ่งบนสายพานที่เคลื่อนที่เร็ว ทุกตัวเหนื่อย บางตัวตายไปเพราะหมดแรง บางตัวตายไปเพราะอุบัติเหตุถ้ามองให้ละเอียดมีวิกฤติการณ์ทางสังคมอยู่ทั่วไป ที่เป็นอย่างนี้เพราะความหลงผิดที่เอาเศรษฐกิจเป็นเอกพลังในการขับเคลื่อนสังคม ซึ่งเท่ากับใช้โลภจริตเป็นเชื้อเพลิง เศรษฐกิจมีความสำคัญ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 183 กรกฎาคม 2537
    การทำแท้งการทำแท้งเป็นข่าวใหญ่เมื่อเร็วๆนี้ โดยมีการไปจับที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งจากการวิจัยโดยคณะกรรมการของศาสตราจารย์นายแพทย์สุพร เกิดสว่าง ประมาณการว่าในปีหนึ่งๆ น่าจะมีการทำแท้งประมาณ 300,000 คนหากพูดเฉพาะเทคนิคที่ใช้ทำ ถ้าลักลอบทำโดยคนที่ขาดความรู้ความชำนาญก็เป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าใครเคยเห็นเด็กผู้หญิงที่ทำแท้งแล้วต้องเจ็บหนักจนจวนเจียนเสียชีวิตแล้วจะน่าสงสารมาก ...