คุยกับผู้อ่าน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 159 กรกฎาคม 2535
    พฤษภาทมิฬกับชาวพุทธไทยศีลของชาวพุทธข้อ1 คือ การไม่ฆ่าไม่ทำร้าย ประเทศไทยก็เป็นเมืองพุทธ มีวัดกว่า30,000 วัดมีพระสงฆ์กว่า250,000 รูป มีประชาชนกว่าร้อยละ90 ที่ประกาศตัวว่าเป็นชาวพุทธ ทุกวันมีการให้ศีล5 ทั่วประเทศวันละหลายหมื่นครั้ง แต่เหตุการณ์เมื่อ17-20 พฤษภาคม 2535 ที่เรียกว่า พฤษภาสีดำ หรือพฤษภาทมิฬนั้นมีการฆ่าและการทำร้ายผู้ไม่มีอาวุธอย่างเหี้ยมโหดอำมหิต ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 158 มิถุนายน 2535
    คำไว้อาลัย วีรชนประชาธิปไตยวิกฤติการณ์เลือดเดือนพฤษภาคมกลางกรุงเทพมหานครกระทบกระเทือนจิตใจของคนไทยทั้งประเทศและคนทั่วโลก คนที่ผมไม่เคยเห็นร้องไห้ก็หลั่งน้ำตาในคราวนี้ เพราะคนไทยผู้ไม่มีอาวุธจำนวนมากถูกฆ่าตายอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน โดยกองทัพของชาติ จากคำสั่งของรัฐบาลที่ชอบเรียกตัวเองว่า เป็นรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคงจะต้องตั้งคำถามว่า ทำไมทั้งๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 157 พฤษภาคม 2535
    การพัฒนาแบบสมดุลขณะที่เขียนคุยกับผู้อ่านนี้เป็นกลางเดือนเมษายนพอดี อากาศกำลังร้อนจัด ความแห้งแล้งแผ่ซ่านไปทั่ว ผู้คน พืช สัตว์ แผ่นดิน ถูกเผาเกรียมทั้งกายและใจ และอาจถึงล้มตายคำถามก็คือ อากาศร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็เป็นสัญญาณอันตราย ถ้าร้อนกว่านี้และแล้งกว่านี้เราจะอยู่กันได้อย่างไรป่าไม้ของเราถูกทำลายไปมาก ความเป็นทะเลทรายกำลังคืบคลานเข้ามา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 132 เมษายน 2533
    พุทธศาสนากับวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อมขณะนี้ผู้คนในประเทศต่างๆ เกิดตระหนักรู้ถึงวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อมซึ่งสำแดงอาการด้วยประการต่างๆ เช่น ป่าไม้ถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นการทำลายพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิด ทำให้ธรรมชาติขาดความอุดมและเสียสมดุล ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ การปล่อยแก๊สพิษ และวัตถุมีพิษต่างๆ ออกสู่อากาศ น้ำ ดิน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 131 มีนาคม 2533
    พิษภัยจากยาฆ่าแมลงกับการใช้สะเดาเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ เวทีทิศทางไทยของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาได้พาไปดูงานการเกษตรที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยความเอื้อเฟื้อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยไปดูโครงการชุมชนเกษตรกรรมของ ธ.ก.ส. ที่อำเภอสามชุก และโครงการใช้สมุนไพรเพื่อการขจัดแมลงของคุณเดชา ศิริภัทร แห่งศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคม ที่อำเภอบางปลาม้าในการพัฒนาเพื่อความทันสมัย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 130 กุมภาพันธ์ 2533
    ขึ้นครูคู่กับขึ้นเมรุผมไปบรรยายที่วิทยาลัยสาธารณสุขขอนแก่นเมื่อเร็วๆ นี้ ตามคำเชิญของนายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัย เห็นมีสติกเกอร์ติดอยู่ข้อความว่า ขึ้นครูคู่กับขึ้นเมรุ จัดทำโดยโครงการอาสาสมัครเยาวชนไทยต้านภัยโรคเอดส์ ของสโมสรนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยนักศึกษาแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ปรากฏว่า นักศึกษาแพทย์เปรมศักดิ์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 129 มกราคม 2533
    อวยพรปีใหม่หมอชาวบ้านครั้งนี้พบกับผู้อ่านในวันขึ้นปีใหม่ 2533 จึงขอถือโอกาสอวยพรให้ทุกท่านไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดๆ ประสบความสุขความเจริญ ทั้งในชีวิตครอบครัว และการงานความสุขความเจริญจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความถูกต้อง ในสังคมปัจจุบันที่มนุษย์เข้ามาอยู่ใกล้ชิดกัน และมีความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนในการงานและความเป็นอยู่ ย่อมมีผลกระทบถึงกันได้ง่ายในสิ่งต่างๆ ที่เราพูดและการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 128 ธันวาคม 2532
    ภัยพิบัติเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2531 เกิดอุทกภัยในภาคใต้ และเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2532 เกิดวาตภัย ในจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ทั้งสองครั้งได้เกิดวิบัติแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจำนวนมาก ต้นไม้น้อยใหญ่ถูกถอนรากถอนโคน เสียหายย่อยยับ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปที่จริงมีภัยพิบัติในประเทศไทยที่ยิ่งใหญ่กว่าอุทกภัยและวาตภัยสองครั้งนี้มากนัก เพราะกระทบชีวิตของผู้คนเกือบทั้งประเทศ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 127 พฤศจิกายน 2532
    พฤติกรรมการใช้ยา และการคุ้มครองผู้บริโภคสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังประสบภาวะขาดดุลทางการค้ากับประเทศต่างๆ ได้พยายามใช้มาตรการหลายอย่างในการบีบบังคับประเทศน้อยใหญ่ให้ยินยอมปรับปรุงในเรื่องการค้าขายที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ทางการเงินแก่สหรัฐอเมริกามากขึ้น เช่น ให้ยอมให้บุหรี่สหรัฐอเมริกาเข้ามาขายในประเทศไทย และสิทธิบัตรยาในเรื่องสิทธิบัตรยา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 126 ตุลาคม 2532
    การรักษามะเร็งโดยทางวัฒนธรรมผู้ป่วยมะเร็งมีมากขึ้นเรื่อยๆ และขณะนี้ไต่อันดับขึ้นมาเป็นลำดับ 3 ของสาเหตุการตายของคนไทยแล้ว การแพทย์แผนปัจจุบันรักษามะเร็งได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ที่เด่นชัด ก็คือ ผู้ป่วยมะเร็งและญาติมีความวิตก กังวล และโทมนัสอุปายาสมาก หรือรวมเรียกว่า สุขภาพจิตเสียขนาดหนัก แพทย์ก็ยุ่งเกินไปไม่มีเวลามาสนใจกับสุขภาพจิตของผู้ป่วยและญาติในเรื่องต่างๆการรักษาโรคมีวิธีการมากมายหลายอย่าง ...