คุยกับผู้อ่าน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 182 มิถุนายน 2537
    อิสรภาพกับสุขภาพผมอยากนำเรื่องอิสรภาพกับสุขภาพมาคุยกับท่านผู้อ่าน เมื่อเร็วๆนี้ได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งจากอยุธยา เธอเล่าว่าเมื่อก่อนเธอเจ็บป่วยอยู่หลายโรค ต่อมาเมื่อไปร่วมทำงานเพื่อชุมชน โรคต่างๆหายไปหมด มีความสุขและสุขภาพดีมาก ที่เป็นดังนั้นก็เพราะการทำงานเพื่อชุมชนนั้นทำให้เป็นอิสระจากความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวคือความบีบคั้น เมื่อเห็นแก่ตัวจัดก็จะเครียด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 181 พฤษภาคม 2537
    คนในเมืองแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมวิกฤติง่ายนิดเดียว ด้วยการกินอาหารปลอดสารเคมีประเวศ วะสีภาวะแวดล้อมวิกฤติที่สำคัญคือการทำลายป่าไม้ ประเทศไทยมีเนื้อที่ 321 ล้านไร่ เมื่อ 35 ปีก่อนเรามีเนื้อที่เป็นป่ากว่า 220 ล้านไร่ หรือกว่าร้อยละ 69 ของเนื้อที่การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีความสมดุลตามธรรมชาติ ควรมีเนื้อที่เป็นป่าร้อยละ 50 หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 40ภายใน 30 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 180 เมษายน 2537
    สถาบันครอบครัว-สถาบันชุมชนทั้งๆ ที่เป็นเมืองพุทธแต่เรามีปัญหาต่างๆ มากมายซึ่งอาจสรุปเรียกว่าเป็นวิกฤติการณ์ทางศีลธรรม และดูเหมือนว่าการเทศน์และการสอนวิชาจริยธรรมต่างๆ จะไม่ให้ความหวังเอาเสียเลยว่าจะแก้ไขวิกฤติการณ์ทางศีลธรรมได้สิ่งปลูกสร้างหรือสถาปัตยกรรมมีส่วนที่เป็นโครงสร้างกับส่วนตกแต่งฉันใด ระบบศีลธรรมในสังคมก็มีส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนตกแต่ง เช่นเดียวกัน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 179 มีนาคม 2537
    การเผชิญกับวิกฤติการณ์น้ำการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหามากขึ้นๆ จนวิ่งเข้าสู่จุดวิกฤติแล้ว แม่น้ำลำธารสายต่างๆ เหือดแห้ง น้ำในเขื่อนต่างๆ มีระดับต่ำจนมีเกาะเกิดในเขื่อน ป่าไม้เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำลำธาร เพราะเราทำลายป่าไม้ของเราลงไปมาก จึงเท่ากับทำลาแหล่ต้นน้ำลำธาร ที่มีการทำลายธรรมชาติมากก็เพราะวิถีชีวิตที่มีการบริโภคมาก ที่เรียกว่า บริโภคนิยมหรือวัตถุนิยม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 178 กุมภาพันธ์ 2537
    วิกฤติการณ์จราจรเวลานี้การจราจรในกรุงเทพฯ ได้ถึงวิกฤตที่ก่อความทุกข์และความเสียดายให้กับทุกฝ่าย ที่จริงเรามีวิกฤติการณ์พร้อมๆ กันหลายอย่าง เช่น วิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม วิกฤติการณ์ทางสังคม วิกฤติการณ์ทางศีลธรรม แต่วิกฤติการณ์จราจรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนกรุงเทพพฯ มากที่สุดวิกฤติการณ์เหล่านี้แก้ไขได้ยาก เพราะต้นเหตุเกิดจากทรรศนะที่ผิด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 177 มกราคม 2537
    เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2537 ขอส่งความสุขมายังผู้อ่าน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหมอชาวบ้านทุกท่าน ขอให้ประสบความสุขสวัสดีและแคล้วคลาดจากภัยภยันตรายทั้งปวง ขอให้ความดีของท่านเป็นปัจจัยให้ท่านถึงพร้อมซึ่งความเป็นมงคลทั้งปวงความดี คือ คิดดี พูดดี และทำดีคิดดี คือ การมีความรักในธรรมชาติ และเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล ไม่คิดเบียดเบียน ธรรมชาติแวดล้อม หรือผู้ใดผู้หนึ่งพูดดี คือ พูดความจริงอันประกอบด้วยประโยชน์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 176 ธันวาคม 2536
    การป้องกันโรคปวดหัวหมอชาวบ้านครั้งนี้มีเรื่องปวดหัวขึ้นปก ที่จริงปวดหัวไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการคือมีสาเหตุหรือโรคต่างๆ กันที่นำมาสู่อาการปวดหัวปวดหัวคงจะเป็นอาการที่มนุษย์รู้สึกบ่อยที่สุดในบรรดาอาการทั้งหลายเพราะหัวอยู่ใกล้สมองอันเป็นที่รับรู้ ที่จริงอาการอื่นๆ มันก็คงจะมีมากเหมือนกัน เช่น ปวดแข้ง ปวดขา ปวดนิ้วเท้า แต่เนื่องจากมันอยู่ไกลที่รับรู้ จึงไม่ค่อยคำนึงถึง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 175 พฤศจิกายน 2536
    การแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯความทุกข์อย่างทั่วถึงของคนในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ คือ เรื่องการจราจรติดขัด ไปที่ไหนๆ ก็พูดกันแต่เรื่องนี้ไม่เป็นอันทำอะไรอื่น เรื่องนี้มีความเสียหายอย่างน้อย3 อย่าง คือ1. เสียหายเรื่องอารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของคนทั่วทั้งกรุงเทพฯ เป็นอย่างน้อย2. เสียชื่อกลไกการทำงานของประเทศ ว่าแก้ปัญหาไม่ได้3. เสียชื่อไปถึงต่างประเทศ ต่อไปคนจะหลบการลงทุนที่นี้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 174 ตุลาคม 2536
    โรคเอดส์ทางสังคมเมื่อวันที่18-19 กันยายน2536 สำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้จัดการประชุมเรื่องโรคเอดส์กับสิ่งแวดล้อม ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้เพราะที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดูแลเรื่องเอดส์กับเรื่องการเร่งรัดฟื้นฟูต้นน้ำลำธารอยู่ด้วย ทั้งเรื่องโรคเอดส์และเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้วยกันทั้งคู่ ที่จริงเรื่องทั้งสองเกี่ยวข้องกันและเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ด้วยกัน เรื่องเศรษฐกิจ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 173 กันยายน 2536
    ครอบครัวพลังทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดความแข็งแรงของสังคมเท่านั้นที่จะช่วยให้ศีลธรรมกลับคืนมา (โปรดอ่านเรื่อง สังคมสมานุภาพ ในมติชนสุดสัปดาห์ 23,10 กรกฏาคม 2536) ขอให้ช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าสังคมไม่เข้มแข็งแล้ว ไม่มีทางฟื้นฟูบูรณะศีลธรรมได้เลย ฐานสำคัญที่สุดของสังคม คือ ครอบครัว ความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวช่วยให้ฐานของสังคมเข้มแข็ง ความรัก ความเข้าใจ การรับรู้ ความรู้ ...