นานาสาระ (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)
-
วารสารคลินิก
297
กันยายน 2552
ปกติต่อมทอนซิลที่ด้านข้างของคอ จะมีร่องหรือซอก (crypts) ซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปติดหรือตกค้างได้ นอกจากนั้นเซลล์ที่บุร่องหรือซอกนั้น อาจมีการตายหลุดลอกออกมาแล้วมีแบคทีเรีย, เม็ดเลือดขาวและเอนไซม์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลายเกิดเป็นสารคล้ายเนย สีเหลืองขาวสะสมอยู่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีสารแคลเซียมมาเกาะ ทำให้มีลักษณะคล้ายก้อนแคลเซียมอยู่ในร่องของต่อมทอนซิล (tonsillolith)ได้ซึ่งอาจ1.ก่อให้เกิดความรำคาญ ...
-
วารสารคลินิก
294
มิถุนายน 2552
อาการคันหูเป็นอาการที่พบได้บ่อย และเป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ที่มีอาการดังกล่าว อาการคันหูเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักใช้ไม้พันสำลีปั่นหูชั้นนอก หรือใช้นิ้วแคะ, ขยี้ หรือปั่นรูหูเพื่อบรรเทาอาการคัน ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังของหูชั้นนอกอักเสบมากขึ้น เกิดอาการคันมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนกลายเป็นหูชั้นนอกอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ...
-
วารสารคลินิก
293
พฤษภาคม 2552
โรคหลอดเลือดสมองหรือ stroke เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคเอดส์ และการบาดเจ็บผู้ป่วยที่ไม่เสียชีวิตก็จะมีความพิการหลงเหลือเป็นจำนวนมาก การรักษามาตรฐานในปัจจุบันคือ การให้ยาต้านเกร็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดกรณีสมองขาดเลือด. การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยงได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อย่างไรก็ตามการรักษาข้างต้นมีเป้าหมายหลักคือป้องกันการเป็นซ้ำ. ...
-
วารสารคลินิก
292
เมษายน 2552
¾กฎหมายระบบสุขภาพในต่างประเทศเป็นที่ทราบกันดีว่ากระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติเกิดจากการริเริ่ม ของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาสังคม มิได้เกิดจากการนำกฎหมายต่างประเทศมาเป็นตัวตั้งหรือคัดลอกแนวคิดมาแต่อย่างใดจึงเป็นกฎหมายที่สะท้อนสภาพเศรษฐกิจ สังคม วิธีชีวิตของคนไทย การศึกษากฎหมายต่างประเทศจะช่วยให้ทราบถึงประสบการณ์ บทเรียนต่างๆ ...
-
วารสารคลินิก
291
มีนาคม 2552
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้วางกลไกขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศที่สำคัญ 2 ส่วนหลักคือ "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ" และ "สมัชชาสุขภาพ" โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชนภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชน ...
-
วารสารคลินิก
290
กุมภาพันธ์ 2552
ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ว่าผู้ป่วยที่จะทำการเจาะดูดน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง (lumbar puncture; LP) ต้องตรวจ CT-scan สมอง (CT) ก่อนหรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยากมากในทางปฏิบัติจริงๆ เพราะผู้ป่วยแต่ละรายมีลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างกัน. บางกรณีก็สามารถตัดสินใจได้ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องตรวจ CT ก่อน LP แต่บางรายก็ยากในการตัดสินใจ สอบถามแพทย์หลายท่านก็มีคำตอบแตกต่างกัน. ...
-
วารสารคลินิก
289
มกราคม 2552
การล้างจมูก เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดแข็งของเยื่อบุจมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส หรือหลังการฉายแสงออก ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และไหลลงคอ. การล้างจมูกจึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ "หวัด", ...
-
วารสารคลินิก
289
มกราคม 2552
ความหมาย"แพทย์ฉุกเฉินรุ่นแรก" ในที่นี้หมายถึง แพทย์ที่ได้วุฒิบัตรเวชศาสตร์ฉุกเฉินจาก แพทยสภาใน พ.ศ. 2550 ซึ่งเข้ารับการฝึกอบรมใน พ.ศ. 2547 จำนวน 38 คน แต่ลาออกก่อนและระหว่างการฝึกอบรม 5 คน และไม่ได้สิทธิเข้าสอบ 2 คน จึงเหลือผู้มีสิทธิเข้าสอบ31 คน และสอบผ่าน 28 คน หรือร้อยละ 90.3เพื่อให้ทราบว่า ผลผลิตรุ่นแรกประสบความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพ "แพทย์ฉุกเฉิน" ...
-
วารสารคลินิก
289
มกราคม 2552
การสูดไอน้ำร้อนเป็นวิธีการที่แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้ผู้ป่วยทำเป็นประจำ เพื่อให้จมูกโล่ง หายใจได้สะดวกขึ้น รักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ที่เกิดจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้, โรคหวัด หรือโรคไซนัสอักเสบ รักษาอาการปวดตื้อๆ ที่ศีรษะซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของอากาศในไซนัสที่ไม่ดีจากเยื่อบุจมูกที่บวมไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัสในโพรงจมูก ...
-
วารสารคลินิก
288
ธันวาคม 2551
แพทย์และพยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉินแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ("หมอฉุกเฉิน") เป็นแพทย์ที่จะได้ตรวจรักษาผู้ป่วยที่ตายแล้ว (DOA, death on arrival) กำลังจะตาย (dying) ใกล้ตายหรือระยะสุดท้าย (terminal or end-of-life) เจ็บหนักวิกฤต (critical) และผู้ป่วยเฉียบพลันกับเรื้อรังต่างๆ ในช่วงเดียวกันหรือติดๆ กัน มากกว่าแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ พยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ("พยาบาลฉุกเฉิน") ...