-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
35
มีนาคม 2525
|การตรวจตามระบบ (ต่อ)การตรวจทรวงอกทรวงอก คือ ส่วนของลำตัวตั้งแต่คอลงมาจนถึงชายโครงทั้ง 2 ข้าง ดังนั้น ทรวงอกจึงเป็นส่วนที่แข็ง (คลำแล้วแข็ง) โดยรอบทั้งแต่บนลงล่าง (หัวไหล่ลงไปถึงชายโครงทั้ง 2 ข้าง) และโดยรอบตั้งแต่ข้างหน้าอ้อมไปใต้รักแร้ไปจนถึงด้านหลัง เพราะมีกระดูกซี่โครงล้อมรอบกระดูกกลางหน้าอก (sternum) ทางด้านหน้าไปจนถึงกระดูกสันหลัง (spine) ทางด้านหลัง (ดูรูปที่ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
34
กุมภาพันธ์ 2525
การตรวจตามระบบการตรวจคอ (ต่อ)ในการตรวจลำคอ นอกจากจะตรวจภาวะคอแข็ง คออ่อน คอเล็ก คอโต คอเป็นก้อนจากฝีจากต่อมน้ำเหลือง จากต่อมน้ำลาย จากต่อมคอพอก หรือจากก้อนอื่นๆ ซึ่งไม่พบในคนปกติแล้ว การตรวจลำคอยังรวมถึงการตรวจ5.ลักษณะของผิวหนัง : ผิวหนังบริเวณลำคอก็เช่นเดียวกับผิวหนังในบริเวณอื่น อาจจะเกิดเป็นโรคผิวหนังต่างๆ ได้ ที่พบบ่อย เช่น5.1 ผดผื่นคัน ซึ่งถ้า แคะ แกะ เกา ถู ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
33
มกราคม 2525
การตรวจตามระบบ (ต่อ)การตรวจคอการตรวจคอ ในฉบับนี้ หมายถึง การตรวจลำคอ (คอด้านนอก) ซึ่งผิดกับการตรวจคอด้านใน ที่ได้กล่าวไว้ในฉบับก่อนเกี่ยวกับการตรวจภายในปากการตรวจคอ ฉบับนี้ จึงเป็นการตรวจตั้งแต่คอต่อ (ส่วนของคอที่ต่อกับท้ายทอย) ลงไปจนถึงต้นคอหรือโคนคอ (ส่วนของคอที่ติดอยู่กับไหล่)คอของคนเรานี้มีลักษณะต่างๆ กัน บางคนคอยคอยาวระหง บางคนคอสั้น บางคนคอเล็ก บางคนคอใหญ่ (คออ้วน)ต่างๆ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
32
ธันวาคม 2524
การตรวจตามระบบการตรวจปาก (ต่อ)6.คอด้านใน : การตรวจคอด้านใน จะทำได้โดยให้คนไข้อ้าปาก ให้แสงสว่างส่องเข้าไปถึงคอด้านใน ถ้าเป็นแสงแดดจะทำให้เห็นได้ชัดกว่าแสงไฟฉายในบางคน เพียงแต่อ้าปาก ก็จะเห็นคอด้านในได้ แต่ในบางคนอาจจะต้องใช้ไม้กดลิ้นหรือด้ามช้อน กดลิ้นลงจึงจะเห็นลิ้นด้านในได้การกดลิ้น ควรจะค่อยๆ กดลงตรงกลางลิ้นเพื่อให้ลิ้นแบนราบลง อย่ากดแบบกระแทกลงทันที ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
31
พฤศจิกายน 2524
การตรวจตามระบบการตรวจปาก (ต่อ)5. ลิ้น : ลิ้นของคนเรามีลักษณะแตกต่างจากกันบ้างตามกรรมพันธุ์ และสภาพแวดล้อมของแต่ละคน จึงควรฝึกตรวจลักษณะลิ้นของญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่ปกติ เพื่อจะได้รู้จักลักษณะลิ้นปกติโดยทั่วไปลิ้นปกติจะเป็นสีแดง หรือสีชมพูแก่ หยาบ (สากเล็กน้อยเวลาคลำ) ชื้น (เวลาคลำจะมีน้ำติดมือที่คลำจนเปียก) ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
30
ตุลาคม 2524
การตรวจตามระบบการตรวจปาก (ต่อ)3.เหงือก เหงือกของคนเราโดยปกติไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากสีสรร ซึ่งก็เป็นไปตามเชื้อพันธุ์ของแต่ละคนการตรวจเหงือก ควรจะตรวจทั้งด้านนอก (ด้านที่ติดกับริมฝีปากและกระพุ้งแก้ม) และด้านใน (ด้านที่ติดกับเพดานปาก พื้นปาก และลิ้น) โดยการพลิกริมฝีปากหรือดึงริมฝีปากออกเพื่อให้เห็นด้านนอกของเหงือกทางด้านหน้าส่วนทางด้านกระพุ้งแก้นั้น ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
29
กันยายน 2524
การตรวจตามระบบ (ต่อ)การตรวจปากปาก เป็นอวัยวะที่ใช้กินอาหาร เคี้ยวอาหาร ดื่มน้ำหรือของเหลวอื่น ใช้ดูด เป่า พูด และหายใจในกรณีที่หายใจทางจมูกไม่ได้การตรวจปาก ประกอบด้วยการตรวจ1.ริมฝีปาก : ริมฝีปากของเรานั้นมีรูปร่างต่างๆ กัน บ้างหนาบ้างบาง บ้างห้อยบ้างหุบ บ้างเจ่อบ้างเรียบ ต่างๆ กันไปตามเชื้อพันธ์และลักษณะเฉพาะแต่ละคน จนหมอดูไปใช้ทายทักต่างๆ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
28
สิงหาคม 2524
การตรวจตามระบบ (ต่อ)การตรวจจมูกจมูกเป็นอวัยวะที่ใช้ดมกลิ่นและใช้หายใจ (เป็นทางผ่านของลมหายใจ) การตรวจจมูกประกอบด้วยการตรวจ1.ลักษณะทั่วไป จมูกของคนเราย่อมมีรูปร่างลักษณะต่างๆ กันไป ตามกรรมพันธุ์และลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล จนหมอดูนำไปทำนายทายทักได้ต่างๆ นานา เช่น จมูกเชิด แสดงว่าเป็นคนหยิ่ง จมูกงุ้มเหมือนขอ แสดงว่าแกมโกง เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ในด้านสุขภาพแล้ว ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
27
กรกฎาคม 2524
การตรวจตามระบบการตรวจหูหูเป็นอวัยวะที่ใช้ฟังเสียง และช่วยในการทรงตัว การตรวจหูประกอบด้วยการตรวจ1.ใบหู ใบหูของคนเรามีลักษณะต่างๆ เช่น หูกาง หูแฟบ หูเล็ก หูใหญ่ ไม่มีติ่งหู มีติ่งหูใหญ่หรือยาน เป็นต้น จนหมอดูนำไปใช้ในการทำนายชีวิตและอนาคตของคนที่เป็นเจ้าของใบหูได้แต่ในการเจ็บป่วย ใบหูที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคมีหลายอย่าง เช่นก.ตำแหน่ง ใบหูปกติจะเกาะติดอยู่กับศีรษะ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
26
มิถุนายน 2524
การตรวจตามระบบการตรวจตา (ต่อ)ในการตรวจสายตา นอกจากจะตรวจดูว่า ตาสั้น ตายาว ตาเห็นชัด และตาบอดสีหรือไม่แล้วยังควรจะตรวจ ลานสายตาด้วยลานสายตา (visual field) คือ อาณาบริเวณที่สามารถมองเห็นกว้างไกลออกไปจากจุดศูนย์กลางที่ตากำลังเพ่งอยู่ ไม่ใช่ลานสำหรับพักตา เหมือนลานสำหรับรถหรือเครื่องบินจอดพักแบบนั้นโดยปกติ แม้ว่าเรากำลังอ่านหนังสือหรือเพ่งมองอะไรอยู่ ...