เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
273
มกราคม 2545
การปนเปื้อนของ : ข้าวโพดจีเอ็มโอเมื่อเดือนตุลาคมศกนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวเม็กชิกันเปิดเผยว่าพบจีเอ็มโอปนเปื้อนข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ทุรกันดารของเม็กชิโก นับเป็นครั้งแรกที่มีการพบดีเอ็นเอที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในพืชที่เกิดตามป่า ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารุนแรงมาก เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
273
มกราคม 2545
-กินขมิ้นชัน อาจช่วยลดอาการความจำเสื่อมขมิ้นนอกจากจะมีประโยชน์ช่วยระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น รักษาโรคกระเพาะ ป้องกันการติดเชื้อ และต้านโรคหัวใจได้ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแอนเจลิส ค้นพบว่าขมิ้นยังมีบทบาทสำคัญในการชะลอกระบวนการที่ทำให้ระบบประสาทเสื่อม โดยลดการขมวดปมของเส้นประสาทในสมอง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
272
ธันวาคม 2544
เหตุผลสำคัญที่ไม่ควรบริโภคอาหารเสริม- ไม่จำเป็น สำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะปกติ ไม่ได้เป็นโรคขาดสารอาหาร (เช่น ในเด็กทารกหรือผู้สูงอายุบางคน) การบริโภคอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รู้จักผ่อนคลายทางด้านอารมณ์ ก็สามารถสร้างเสริมสุขภาพให้มีสุขภาพที่ดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริม- ราคาแพงและโฆษณาเกินจริง ประโยชน์มีน้อยมากเมื่อเทียบกับราคา ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
269
กันยายน 2544
สินค้าปนเปื้อนจีเอ็มโอ แม้ว่านโยบายของประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืช จีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ แต่อาจเกิดปัญหาการปนเปื้อนจากข้อยกเว้นที่ให้มีการนำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลืองจีเอ็มโอที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต อาหารสัตว์ หรืออาหารมนุษย์ หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ช่องทางที่ผลผลิตจีเอ็มโอจะปนเปื้อน ก็โดยการผสมปนกับถั่วเหลือง หรือข้าวโพดภายในประเทศซึ่งไม่เป็นจีเอ็มโอ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
269
กันยายน 2544
ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่ดูโทรทัศน์ เดี๋ยวนี้คงหาบ้านที่ยังดูโทรทัศน์ขาว-ดำไม่ค่อยได้แล้ว หรือแม้แต่โทรทัศน์สีระบบทั่วไป ที่ต้องเดินไปกดปุ่มเปลี่ยนช่องเอง ก็ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่จะยอมจ่ายแพงอีกนิด ให้มีระบบรีโมทคอนโทรล เพียงกระดิกปลายนิ้วก็เปลี่ยนช่องได้เป็นว่าเล่น อำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ตามมาอย่างที่บางคนอาจไม่ทันได้คิดถึง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
269
กันยายน 2544
-ยาปฏิชีวนะในสัตว์ สู่โรคดื้อยาในคนข้อมูลจาก ศูนย์ติดตามการดื้อยา คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากระบบการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มขนาดใหญ่ของไทย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคอย่างไม่เหมาะสมและในปริมาณมาก รวมถึงสารเร่งการเจริญเติบโตให้เร็วขึ้น เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาด ซึ่งก่อให้เกิดเชื้อโรคดื้อยาในสัตว์ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
268
สิงหาคม 2544
ประเทศเพื่อนบ้านกับมาตรการจีเอ็มโอ อินเดียภายใต้กฎหมายอินเดียถือเป็นการผิดกฎหมายหากนำเข้าหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารจีเอ็มโอ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพันธุวิศวกรรม (จีอีเอซี) สังกัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่มีการอนุญาตให้นำเข้าพืชหรืออาหารจีเอ็มโอชนิดใดๆอินโดนีเซียภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2539 อาหารทุกประเภทที่ตรวจพบว่าปนเปื้อนจีเอ็มโอต้องติดฉลาก ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
268
สิงหาคม 2544
ใช้หลอดผอมช่วยประหยัดค่าไฟ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลอดนีออน ซึ่งให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้4 ถึง5 เท่า อายุการใช้งานก็นานกว่าประมาณ7 เท่า และประหยัดค่าไฟมากกว่า เปรียบเทียบได้จาก ถ้าใช้หลอดไส้100 วัตต์ ในเวลา5 ชั่วโมงต้องเสียค่าไฟประมาณ24 บาท ขณะที่หลอดฟลูออเรสเซนต์36 วัตต์ ใช้ในเวลาเท่ากัน แต่เสียค่าไฟเพียง9 บาท ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
268
สิงหาคม 2544
อาหารเป็นพิษ ติดจากห้องน้ำ ข่าวจากอังกฤษสำรวจพบว่า ผู้ที่เข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ (ด้วยความเกียจคร้าน ไม่รักความสะอาด หรือหลงลืม รวมถึงเร่งรีบเกินเหตุ) คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะมีอาการ อาหารเป็นพิษ เพราะใช้มือที่สัมผัสเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่มากมายในห้องน้ำมาหยิบจับอาหารเข้าปาก หรือเตรียมอาหาร ซึ่งกรณีหลังนี้จะพลอยทำให้ผู้อื่นล้มป่วยไปด้วย ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
266
กรกฎาคม 2544
ข้อเรียกร้องของผู้บริโภคต่ออาหารจีเอ็มโอ ทบทวนระบบความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ความช่วยเหลือระหว่างประเทศควรตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประเทศผู้รับ ถือตามการเจรจาระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ไม่ใช่ความต้องการที่ประเทศผู้ให้กำหนดขึ้นเอง ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากผลประโยชน์ทางทหารหรือทางเศรษฐกิจ ...