กรณีศึกษา (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)

  • วารสารคลินิก 285 กันยายน 2551
    เวลาของการใช้ทุนของแพทย์เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่สำคัญของชีวิตแพทย์... เป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการไปใช้ทุนในชนบทของนักศึกษาแพทย์ และเป็นกำลังใจแก่แพทย์จบใหม่ที่กำลังทำงานอย่างหนักในโรงพยาบาลชุมชนตอนเด็กๆ แม่ผมบอกถึงวิธีสอนสุนัขที่เลี้ยงไว้ว่า ถ้าจะสอนให้มันยืน เวลามันยืนได้ก็ให้อาหารมัน ถ้ามันถ่ายอุจจาระเรี่ยราด ก็ให้เอามันไปดมแล้วตีมัน ...
  • วารสารคลินิก 285 กันยายน 2551
    ผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 48 ปี ได้เริ่มรับการรักษามะเร็งรังไข่ ด้วยวิธีการผ่าตัดและเคมีบำบัดสูตรผสม (paclitaxel และ carboplatin). ในระหว่างเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการขาด้านซ้ายบวมแดงและมีอาการปวด จึงถูกวินิจฉัยว่าเป็น deep vein thrombosis (DVT) และได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม low molecular weight heparin ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเป็นเวลา 2 วัน ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (warfarin 3 ...
  • วารสารคลินิก 285 กันยายน 2551
    การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน แพทย์และพยาบาลมักประสบปัญหาหนึ่งเสมอ นั่นคือ การที่ผู้ป่วยมารับการรักษาบ่อยๆ ณ ห้องฉุกเฉิน. แพทย์ต้องมองหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินบ่อย ทั้งนี้บางครั้งสาเหตุอาจเป็นจากการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพได้แก่ ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามแนวทางการรักษาของแพทย์ประจำตัว หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ ซ่อนเร้นอยู่ ...
  • วารสารคลินิก 284 สิงหาคม 2551
    Uncontrolled DM...Whose fault?การไปศึกษาอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนทำให้ได้เรียนรู้ทั้ง "โรค" และ "โลก" ในชุมชนที่เราไม่คุ้นเคย ได้ฝึกปฏิบัติทางคลินิกทั้งแผนกผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก เยี่ยมบ้าน ทำงานวิจัย และศึกษาระบบบริการสาธารณสุขทั้งที่โรงพยาบาลและสถานีอนามัย. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เราได้ ไปเยี่ยมบ้านเป็น "ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้" ใครๆก็ว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยที่ ...
  • วารสารคลินิก 284 สิงหาคม 2551
    ในชีวิตความเป็นหมอของพวกเรา ผมเชื่อว่าคุณหมอแต่ละท่านคงจะเคยพบกับคนไข้บางรายที่รู้สึกว่าดูแลยากเหลือเกิน โดยเฉพาะรายที่มาด้วยอาการแสดงของหลายระบบ และสุดท้ายแล้วคุณหมอก็ตรวจไม่พบความผิดปกติอะไร ดังเช่นคนไข้ในตัวอย่างต่อไปนี้ เราลองมาดูกันครับคุณหมออมร ออกตรวจผู้ป่วยนอกและได้พบกับคนไข้ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อคุณลีลา อายุ 35 ปี มีอาชีพเป็นเจ้าของร้านเบเกอรี่ชื่อดัง. คุณลีลามาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก ...
  • วารสารคลินิก 284 สิงหาคม 2551
    ตัวอย่างผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 62 ปี เกิดอาการกระตุกทั้งตัวตลอดเวลามา 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล. ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคไตวายเรื้อรังซึ่งไม่ได้กินยาอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับการฟอกเลือดแต่อย่างใด. การตรวจร่างกายแรกรับพบว่าความดันเลือดสูง 189/93 มม.ปรอท และมีอาการกระตุกทั้งตัวในขณะขยับตัวและขณะไม่ได้ออกแรงใดๆ โดยที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีตลอดเวลา. ...
  • วารสารคลินิก 283 กรกฎาคม 2551
    ชายไทยอายุ 52 ปี มาด้วยอาการแน่นหน้าอกมาก 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวทะลุไปกลางหลังระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างอย่างมากขณะขับรถจนขับต่อไปไม่ได้. อาการเจ็บแน่นหน้าอกมากขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลาจนทำให้หายใจลำบาก และมีเหงื่อแตกตัวเย็นร่วม ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นความดันเลือดสูงและกินยาสม่ำเสมอ แต่ช่วงนี้ขาดยา ไป 3 วัน. การตรวจร่างกายแรกรับพบว่า ผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวาย ...
  • วารสารคลินิก 283 กรกฎาคม 2551
    เครียดงาน (Work stress) !! เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมากในเวชปฏิบัติครอบครัว แต่เมื่อแพทย์บอกผู้ป่วยว่าอาการต่างๆนั้นมีสาเหตุมาจากความเครียด มีน้อยคนมากที่จะยอมรับว่าเกิดขึ้นกับตนและรีบบอกปัดว่า "เปล่านะ ฉันไม่ได้คิดไปเอง" ทั้งนี้เพราะความหมายเชิงลบ นัยว่าเป็นความอ่อนแอที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทำงานของตนเองได้ ผู้ป่วยหลายคนจึงบอกว่าตนไม่เครียด ...
  • วารสารคลินิก 283 กรกฎาคม 2551
    บทความปิยวาจาทางคลินิกฉบับที่เราคุยกันถึงเรื่องความอยากรู้ หรือ curiosity ผมเล่าปกรณัมกรีกเรื่องหีบของแพนดอร่าให้คุณผู้อ่านฟัง. คุณหมอที่ไม่ได้อ่านบทความเล่มนั้น ผมขอเท้าความนิดหนึ่งนะครับ เพื่อที่เราจะได้อ่านบทความตอนนี้ได้อย่างสนุกและมีอรรถรส.แพนดอร่าคือมนุษย์ผู้หญิงซึ่งจิตของเธอเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น และแอบไปเปิดกล่องไม้ที่พระเจ้าฝากเอาไว้ ...
  • วารสารคลินิก 282 มิถุนายน 2551
    หญิงไทย อายุ 45 ปี มาห้องฉุกเฉินด้วยอาการปวดจุกเสียด แน่นบริเวณลิ้นปี่ 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยไม่มีไข้ ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน. ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเดิมคือ myasthenia gravis ซึ่งกินยา mestinon 1 เม็ดเช้าและเย็นเพื่อควบคุมอาการอยู่ แพทย์เวรวินิจฉัยว่าเป็น acute gastritis ให้การรักษาด้วยการฉีดยา losec 40 มก. เข้าหลอดเลือด. หลังฉีดยาสังเกตอาการ 30 นาที อาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยยังบ่นปวดท้องเหมือนเดิม ...