กรณีศึกษา (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)

  • วารสารคลินิก 275 พฤศจิกายน 2550
    หากกล่าวถึงปัญหาเรื่อง "ญาติขอรับยาแทน" แพทย์หลายคนคงเคยประสบปัญหานี้ และส่วนใหญ่ก็มักจะ จ่ายยาเดิม (Repeat medication; RM) กลับไป ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้าม เพราะพบได้แม้กระทั่งระดับสากล ดังจะเห็นได้จากระบบการจัด กลุ่มอาการและปัญหาสุขภาพที่พบได้ในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ (The International Classification of Primary Care-2nd Edition ; ICPC-2)1 มีการจัดแยกแยะองค์ประกอบที่ 6 ...
  • วารสารคลินิก 274 ตุลาคม 2550
    ดังได้กล่าวมาแล้วในวารสารคลินิก ฉบับเดือนกันยายน 2550 ในลักษณะยกประเด็นขึ้นเพื่อให้พิจารณาโดยกว้างขวางในแนวทางปฏิบัติท่ามกลางสถานการณ์ทางเวชปฏิบัติที่น่าลำบากใจ จะเห็นได้ว่าวงการแพทย์ไทยยังขาดความชัดเจน และขาดระบบสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม หลายๆ ด้าน. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดให้มีการอภิปรายแง่มุมต่างๆ ในประเด็นเหล่านี้ในการประชุม Medical Conference ประจำวันที่ 11 ...
  • วารสารคลินิก 274 ตุลาคม 2550
    เวลาของการใช้ทุนของแพทย์เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่สำคัญของชีวิตแพทย์.....บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการไปใช้ทุนในชนบทของนักศึกษาแพทย์ และเป็นกำลังใจแก่แพทย์จบใหม่ที่กำลังทำงานอย่างหนักในโรงพยาบาลชุมชน ไม่เข้าใจ.....เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น"ไม่ต้องมายุ่ง โอ้ย เจ็บ" "อย่าดิ้นนะ กำลังจะเย็บแผล" เป็นเสียงโวยวายสลับกันอย่างสับสนระหว่างคนไข้กับพยาบาล. ...
  • วารสารคลินิก 274 ตุลาคม 2550
    เคยรู้สึกไหม ...... ทำไมคนไข้ "ดื้อ" (บอกให้ทำอะไร แล้วไม่ทำ)... ทำไมคนไข้ "พูดไม่รู้ฟัง" (หมอพูด แต่คนไข้ไม่เชื่อฟัง)... ทำไมคนไข้ "รู้แล้วยังไม่ทำ" (รู้เรื่องโรคดี แต่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม)... ไม่รู้หรืออย่างไรว่าจะเกิดเหตุร้ายกับตัวเอง ทำไมไม่ป้องกันแก้ไขตามที่บอก... ไม่รู้หรือว่าหมอเหนื่อยนะ ไม่เห็นหรืออย่างไรว่าหมอหวังดีความคิดเหล่านี้ทำให้หมอ "ได้ยิน" ...
  • วารสารคลินิก 274 ตุลาคม 2550
    กรณีศึกษาชายไทยคู่อายุ 72 ปี บุตรสาวพามาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว รักษาสุขภาพตนเองสม่ำเสมอ วิ่งออกกำลังกายทุกวัน ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่เคยตรวจสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มี ประวัติโรคใดๆ ในครอบครัว ประวัติครอบครัวเดิมมีอายุยืนยาวร่วม 100 ปี ผู้ป่วยไม่รู้สึกกังวลใดๆ ใจจริงไม่อยากมาตรวจเพราะรู้สึกว่าสบายดี ...
  • วารสารคลินิก 274 ตุลาคม 2550
    สมมติว่ามีคนไข้มะเร็งตับรายหนึ่ง ที่คุณหมอดูแลเขาอย่างต่อเนื่องมานานพอสมควร ผ่านช่วงเวลายากๆ ของการให้ยาเคมีบำบัด และการผ่าตัด จนกระทั่งคุณหมอและคนไข้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน.จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายปีและในคืนวันหนึ่ง คนไข้รายนี้ก็กลับมาที่ห้องฉุกเฉินอีกครั้ง ด้วยอาการตัวเหลืองตาเหลือง เหนื่อยหอบ ปวดแน่นท้อง มี ascite ท้องบวมโต หายใจ air hunger. หลังจากตรวจร่างกายคนไข้ ...
  • วารสารคลินิก 273 กันยายน 2550
    สถานการณ์ตัวอย่าง ► นายชาติชาย อายุ 37 ปี สมรสแล้วมีบุตร 2 คน ตรวจเลือดไวรัสเอดส์เป็นผลบวก CD 4=180ร้องขอให้แพทย์เก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับไม่บอกแม้แต่ภรรยาของเขา.ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?► นายชนะ อายุ 62 ปี เกิดอาการ anaphylactic shock หลังได้รับการฉีดยา ceftriaxone เพื่อ รักษาภาวะปอดบวม เวชระเบียนระบุไว้แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillins ...
  • วารสารคลินิก 273 กันยายน 2550
    อุปสรรคทางภาษา หรือ Language Barrier เป็นอุปสรรคสำคัญที่แพทย์เรามักมองข้ามไป เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อย่าลืมนะครับว่าพญาช้างสารก็เคยเจ็บปวดเพราะมดแดงตัวเล็กๆมาแล้ว เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยในเวชปฏิบัติของเรา เพราะวันหนึ่งเรื่องเล็กอาจลุกลามกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปได้ โดยที่เราไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ.เดือนที่แล้ว เราคุยถึงเรื่องอุปสรรคที่เกิดขึ้น ...
  • วารสารคลินิก 273 กันยายน 2550
    เคยไหมที่จะรู้สึกเบื่อหน่ายกับการรักษาโรคเรื้อรัง จำพวกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รักษาไปก็ไม่เห็นจะหาย คนไข้เก่าก็มานัดติดตามมากมาย คนไข้ใหม่ก็ไปคัดกรองได้มาเพิ่มอีก แน่นขนัดไปหมดทุกคลินิก มันทั้งเหนื่อยและเครียดนะสำหรับผู้รักษา.เคยไหมที่จะรู้สึกเซ็งกับคนไข้ดื้อ พูดไม่รู้เรื่อง สั่งแล้วไม่ทำตาม อวดรู้ อยากทำอย่างนั้นอย่างนี้ สั่งจะเอายานั้นยานี้ เห็นเราเป็นร้านขายยาหรืออย่างไร ...
  • วารสารคลินิก 272 สิงหาคม 2550
    นายแจน เกอร์เซปสกี ชาวโปแลนด์อายุ 65 ปี ตกอยู่ในภาวะโคม่า (comatose) มาตลอด 19 ปี หลังจากได้รับอุบัติเหตุทางรถไฟที่กระทบกระเทือนสมองอย่างหนักในปี พ.ศ. 2531 ในช่วงเวลาที่ประเทศโปแลนด์ยังมีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์. ตอนนั้นแพทย์ที่ดูแลรักษานายเกอร์เซปสกี บอกกับนาง เกอร์เซปสกี ภรรยา ว่าเขาจะมีชีวิตได้ไม่เกิน 2 ปี แต่นายเกอร์เซปสกีกลับมีชีวิตอยู่ในสภาพของเจ้าชายนิทรามานานถึง 19 ปี ...