กรณีศึกษา (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)

  • วารสารคลินิก 282 มิถุนายน 2551
    บทบรรณาธิการ "เป็นมะเร็ง...ตายลูกเดียว : ควรพูดไหม ?" โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ และบทความเรื่อง "ต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรัง : นวัตกรรมเพื่อความแข็งแกร่งของระบบสุขภาพปฐมภูมิ" โดยอาจารย์ แพทย์หญิงปัทมา โกมุทบุตร กับบทความเรื่อง "การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภัสร์ สุบงกช ในคลินิกเดือนเมษายน 2551 ...
  • วารสารคลินิก 281 พฤษภาคม 2551
    ปัจจุบันนี้ ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งให้บริการแก่ผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขา เช่น อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวช กุมารเวชกรรม เป็นต้น. บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยฉุกเฉินมีความจำเป็นต้องใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจ เช่น การอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาวะหัวใจล้มเหลวและมีน้ำคั่งในปอด โรคปอดบวม การบาดเจ็บรุนแรง ...
  • วารสารคลินิก 281 พฤษภาคม 2551
    ตัวอย่างกรณีศึกษาของอาการปวด กรณีศึกษาที่ 1 ชายอายุ 65 ปี มีประวัติการเป็นงูสวัด เนื่องจากติดเชื้อ herpes zoster แบบเฉียบพลันในช่วงระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา และมีอาการปวดปลายประสาท (postherpetic neuralgia). ภายหลังจากที่บรรเทาจากโรคงูสวัด ผู้ป่วยได้ไปพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและได้รับยากลุ่ม tricyclic antidepressant แต่ผู้ป่วยไม่สามารถทนอาการข้างเคียงได้ แพทย์จึงได้หยุดยา และได้ให้ยากลุ่ม NSAIDs ...
  • วารสารคลินิก 281 พฤษภาคม 2551
    ตัวอย่างผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 35 ปีมาด้วยอาการปวดท้องและท้องอืดแน่นนาน 3 วันก่อนมาโรงพยาบาลร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียนมากและกินอาหารไม่ได้เลยประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยได้รับยาฉีดและกินยากระตุ้นให้ไข่ตกเพื่อทำการปฏิสนธินอกร่างกาย (In vitro fertilization) (ภาพที่ 1). การตรวจร่างกายแรกรับพบว่า ผู้ป่วยมีชีพจรเต้นเร็วร่วมกับลักษณะการขาดน้ำอย่างมาก ...
  • วารสารคลินิก 281 พฤษภาคม 2551
    มีคำกล่าวว่า คนเก่งคนมีความสามารถมักมีอัตตาสูง...คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือไม่ ?แต่เหตุการณ์จำลองต่อไปนี้ เป็นเหตุการณ์จริง เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในเช้าวันที่มีคนไข้มารอรับการตรวจรักษามากมาย เรามาดูกันครับคุณเกศินีก็เป็นคนไข้รายหนึ่งที่มาตรวจในเช้าวันนั้น ด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เธอเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและเคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจมาเมื่อ 5 ปีก่อน ...
  • วารสารคลินิก 280 เมษายน 2551
    เช้าของวันศุกร์ วันสุดท้ายของการทำงาน หมอพรรณีออกตรวจคนไข้ด้วยความรู้สึกสดชื่น เพราะทำงานอีกแค่วันเดียวก็จะถึงวันหยุดสุดสัปดาห์แล้วเพราะเป็นวันศุกร์คนไข้เลยมีไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกันวันอื่นๆ คนไข้รายแรกในวันนั้นคือคุณป้าสมจิตร มาด้วยอาการไอและหายใจหอบ.หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกาย รวมถึงเอกซเรย์ปอดจนเรียบร้อย คุณหมอพรรณีก็ลงความเห็นว่าคุณป้าสมจิตรเป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง หรือ ...
  • วารสารคลินิก 279 มีนาคม 2551
    อาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์ฉบับที่ผ่านมาได้กล่าวถึงความเจ็บป่วยจากการทำงานหลากหลาย ด้วยหวังให้ท่านผู้อ่านได้ตระหนักว่าความเจ็บป่วยเหล่านั้นอยู่ใกล้ตัวผู้ประกอบเวชปฏิบัติและไม่ยากนักที่จะค้นหาสาเหตุ เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องให้กับผู้ป่วย รวมทั้งทำการป้องกันอาการเจ็บป่วยให้กับเพื่อนร่วมงานของผู้ป่วย.ไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้รับฟังเรื่องราวจากแพทย์อาชีวเวชศาสตร์รุ่นน้อง 2 คนซึ่งทำหน้าที่เป็น ...
  • วารสารคลินิก 279 มีนาคม 2551
    เมื่อเป็นที่แน่นอนว่าคนไข้ที่คุณหมอดูแลอยู่นั้น รักษาไม่หายแน่แล้ว สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในขั้นตอนต่อไปก็คือ ความตาย หรือจุดสิ้นสุดแห่งชีวิต.เวชปฏิบัติในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา อาจจะสอนคุณหมอว่า เมื่อคนไข้กำลังจะเสียชีวิต นั่นหมายถึงว่าภารกิจของคุณหมอต่อคนไข้รายนั้นกำลังจะสิ้นสุดลง แต่แนวความคิดในเวชปฏิบัติปัจจุบันไม่ใช่เช่นนั้นอีกต่อไป ...
  • วารสารคลินิก 279 มีนาคม 2551
    เวลาของการใช้ทุนของแพทย์เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่สำคัญของชีวิตแพทย์..... บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการไปใช้ทุนในชนบทของนักศึกษาแพทย์ และเป็นกำลังใจแก่แพทย์จบใหม่ที่กำลังทำงานอย่างหนัก ในโรงพยาบาลชุมชนพลังแห่งการแนะนำ"หมอ...ลุงยังเหนื่อยอยู่เลย ให้ยาไปไม่เห็นหายเลย" ชายคนหนึ่งซึ่งโอพีดีการ์ด ระบุว่าอายุ 55 ปีบ่นกับผม. ผมพลิกดูรายละเอียดพร้อมกับบอกว่า ...
  • วารสารคลินิก 278 กุมภาพันธ์ 2551
    วัยรุ่นเป็นรอยต่อระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นช่วงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม จึงมีความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่มีลักษณะพิเศษจากวัยอื่นๆ. จากการศึกษา1พบว่า ในประเทศไทยมีจำนวนประชากรวัยรุ่นประมาณ 1 ใน 4 (ร้อยละ 23.8) ของประชากรทั้งหมด และมีปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ อุบัติเหตุ (รถซิ่ง) ยาเสพติด พฤติกรรมทางเพศ โรคอ้วน เป็นต้น. เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป ผู้ใหญ่ต้องเร่งรีบทำงาน ...