คุยสุขภาพ (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ)

  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    เนื่องในต้นเดือนตุลาคมนี้ เป็นโอกาสที่ นพ.คณิต ตันติศิริวิทย์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลน่านจะได้เกษียณอายุ จึงอยากจะนำสิ่งดีๆ ที่ได้เรียนรู้จากนพ.คณิต และความเป็นพี่เป็นน้องของหมอเมืองน่านมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเผยแพร่ให้น้องๆ นักศึกษาแพทย์และแพทย์ใช้ทุนได้รับทราบกัน เมื่อ 30 กว่าปีก่อนในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายรวมถึงหมอหนุ่มๆ หาลู่ทางไปทำงานในเมืองใหญ่ที่เจริญ หนุ่มเมืองกรุงอย่างนายแพทย์คณิต ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    เมื่อผู้เขียนไปดูงานการแพทย์ฉุกเฉินในที่แห่งหนึ่ง พบว่า ทุกครั้งที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาพยาบาลด้วยอาการใดก็ตาม แพทย์และพยาบาลเพียงแต่กดดูข้อมูลแนวทางการรักษาผู้ป่วยตามอาการนั้นๆ จากคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็สามารถให้การรักษาไปตามแนวทางนั้นๆ ได้เลย ทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยไปสู่มาตรฐานเดียวกันได้อย่างไรก็ตาม ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง "หมออนามัยจิตอาสา" ในที่ประชุมสมัชชาหมออนามัยแห่งชาติ เนื่องในวันหมออนามัยแห่งชาติ (14 กันยายน) ซึ่งจัดโดยสภาหมออนามัยแห่งชาติที่จังหวัดขอนแก่น.หมออนามัย หมายถึง บุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานด้านสุขภาพในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขในสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนนั่นเอง.หมออนามัยเป็นบุคลากรดับรากหญ้า ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    "นักเรียนแพทย์จะกรีดผ่าศพของเราผิดพลาดสักกี่ร้อยครั้ง ก็ไม่เป็นไร เราอนุญาตให้ทำได้เต็มที่ แต่เมื่อจบไปเป็นแพทย์แล้วห้ามกรีดผ่าตัดใครผิดแม้แต่ครั้งเดียว"อาจารย์ใหญ่ คณะแพทยศาสตร์มูลนิธิฉือจี้ ไต้หวันข้อความนี้เป็นข้อความที่ผู้บริจาคร่างกายให้นักเรียนแพทย์ได้ศึกษาหรือที่เรียกขานกันว่า "อาจารย์ใหญ่" มอบไว้ให้กับคณะแพทยศาสตร์มูลนิธิฉือจี้ ไต้หวัน ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    หน้าที่ของโรงเรียนแพทย์หน้าที่หลักของโรงเรียนแพทย์ คือ การผลิตแพทย์เพื่อออกไปรับใช้ประชาชนทั้งประเทศ ส่วนหน้าที่รองๆ ลงไป คือ การป้องกันรักษาและฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป การค้นคว้า วิจัยหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการป้องกันรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น.แต่ในระยะที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน หน้าที่หลักของโรงเรียนแพทย์หลายแห่งกลับกลายเป็น1. การแข่งขันเพื่อการเป็น ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    บทนำเนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยรวมทั้งสังคมทั่วไปได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงเวลาไม่นานมานี้ แพทย์ควรจะต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ และพยายามที่จะรับประกันความเป็นอิสรเสรีของผู้ป่วยและความยุติธรรม. คำปฏิญญาต่อไปนี้แสดงถึงสิทธิผู้ป่วยที่สำคัญซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะต้องนำไปปฏิบัติและส่งเสริม ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    อาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์ฉบับที่แล้วได้เล่าถึงเรื่องราวของ "แรงงานข้ามถิ่น" ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะว่าหมายถึง ผู้ประกอบอาชีพที่ตั้งใจเดินทางไปทำงานนอกจังหวัดบ้านเกิดของ ตนเอง โดยเฉพาะข้ามภาค เช่น จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังภาคตะวันออกหรือภาคใต้ เพื่อหวังจะได้รับค่าตอบแทนจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานที่นั่น และยังมีการเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเป็นระยะๆ. สำหรับบทความฉบับนี้ ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    ชายไทยคู่ อายุ 51 ปีได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะสุดท้าย (Stage IV). ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ (colectomy) ร่วมกับ jejunostomy. ต่อมาผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการปวดแบบตื้อๆบริเวณหน้าท้อง ตลอดเวลา ความรุนแรงระดับ 10 (visual analog scale). ผู้ป่วยได้รับยา morphine 15 มก. IV ทุก 4 ชั่วโมง (90 มก./วัน) ร่วมกับ pethidine 25 มก. IV สำหรับ breakthrough ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    "ภาพหนึ่งภาพอาจมีความหมายมากกว่าอักษรนับร้อยนับพันคำ การเรียนรู้จากภาพจริงเกี่ยวกับผู้ป่วย คือที่มาของ "ปริศนาคลินิก" ซึ่งบรรจุเนื้อหาอันเป็นปริศนาที่เลือกสรรอย่างบรรจงจากวิทยากรเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน"จิโรจ สินธวานนท์ พ.บ.ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง, กรมการแพทย์ ...
  • วารสารคลินิก 286 ตุลาคม 2551
    หลักการการดูแลผู้ป่วยให้ตายดีอันที่จริง การดูแลผู้ป่วยให้ "ตายดี" ไม่ควรจะจำกัดอยู่เฉพาะสำหรับ "ผู้ป่วยที่หมดหวัง" และ "ผู้ป่วยระยะสุดท้าย" เท่านั้น เพราะผู้ป่วยทุกคนแม้แต่ผู้ป่วยเฉียบพลัน เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลันอาจจะตายเมื่อใดก็ได้ (ส่วนใหญ่หรือ > 70 % มักจะตายภายใน 24 ชั่วโมงแรก ...