• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

บนเส้นทางหนังสือ (๑๐)

การย้ายมุมมอง
ในกาลครั้งหนึ่ง สานุศิษย์ของนักปรัชญากรีกผู้หนึ่ง ถูกอาจารย์สั่งว่าจงใช้เวลา ๓ ปี ให้เงินแก่คนทุกคนที่พูดจาดูถูกเขา เมื่อครบกำหนดแล้วอาจารย์บอกเขาว่า "คราวนี้ ไปกรุงเอเธนส์ได้แล้วจะไปแสวงหาปัญญา" เมื่อศิษย์ผู้นี้ไปถึงหน้าเมืองเอเธนส์ เขาเห็น ชายผู้ทรงปัญญาคนหนึ่งนั่งอยู่หน้าประตู พูดจาดูถูกผู้คนที่ผ่านเข้าออกประตูเมืองทุกคน ชายผู้นั้นพูดจาดูถูกสานุศิษย์ของนักปรัชญาผู้นี้ด้วย ซึ่งทำให้เขาหัวเราะด้วยเสียงอันดัง

"ท่านหัวเราะทำไมในเมื่อฉันพูดจาดูถูกท่าน" ชายผู้นั้นถาม
"เพราะว่า" เขาตอบ "เป็นเวลาถึง ๓ ปี ที่ผมต้องจ่ายเงินให้แก่คนที่ดูถูกผม นี่ท่านให้ผมฟรีๆ
ชายผู้ทรงปัญญาได้ยินดังนั้นจึงกล่าวว่า "เข้าเมืองได้ พ่อหนุ่ม! เมืองนี้เป็นของคุณ"Ž

นิทานข้างบนได้รับการบอกเล่าโดยพวก "บิดาแห่งทะเลทราย" ในศตวรรษ ที่ ๔ พวกเหล่านี้เป็นบุคคลแปลกๆ ที่ปลีกตัวไปอยู่ในทะเลทรายรอบเมืองซีท เพื่อบำเพ็ญธรรม เพื่อแสดงคุณค่าของความทุกข์และความยากลำบาก ไม่ใช่ความยากลำบากเท่านั้นที่เปิดประตู "เมืองแห่งปัญญา" ให้สานุศิษย์ผู้นั้น ปัจจัยหลักที่ทำให้เขาจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ดีก็คือ การเปลี่ยนมุมมอง โดยมองสถานการณ์จากมุมอื่น
ความสามารถที่จะเปลี่ยนมุมมอง เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะช่วยให้เราเผชิญกับปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ท่านทะไล ลามะ อธิบายเรื่องนี้ดังต่อไปนี้

"ความสามารถที่จะมองเหตุการณ์จากมุมมองที่แตกต่างไป มีประโยชน์มากโดยการฝึกปฏิบัติในเรื่องนี้ เราอาจจะใช้ประสบการณ์บางอย่างหรือโศกนาฏกรรมที่ เกิดกับเรา ทำให้จิตใจเราสงบได้ เราควรจะตระหนักรู้ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ ทุกอย่างมีหลายแง่หลายมุม ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์ คือไม่ตายตัว ตัวอย่างเช่นในกรณีของอาตมาเอง อาตมาสูญเสียประเทศของอาตมา โดยมุมมองอย่างนั้นเป็นเรื่องน่าเศร้าสลด และอาจจะร้ายยิ่งกว่านั้น มีการทำลายล้างอย่างมโหฬารเกิดขึ้นในประเทศของ เรา เป็นเรื่องที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง แต่ถ้าอาตมามองเหตุการณ์นี้จากมุมมองอื่น อาตมาตระหนักว่า ในฐานะผู้ลี้ภัย อาตมาเห็นภาพอื่นในการเป็นผู้ลี้ภัย ไม่ต้องมีพิธีกรรม เป็นทางการ หรือรายการต่างๆ มากมาย ถ้าสิ่งต่างๆ เหมือนเดิม ทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย คุณก็เสแสร้งได้ แต่ถ้าคุณผ่านสถานการณ์ที่เลวร้าย คุณไม่มีเวลาที่จะเสแสร้ง จากมุมมองนั้นประสบการณ์อันน่าเศร้าสลดนี้เป็นคุณกับอาตมา การเป็นผู้ลี้ภัยสร้างโอกาสให้ได้พบปะกับผู้คนมากหลาย ผู้คนจากศาสนาต่างๆ ผู้คนจากอาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นคนที่อาตมาจะไม่มีโอกาสได้พบเลย ถ้าอาตมายังครองราชย์อยู่ในทิเบต ในแง่นี้เหตุการณ์นี้ก็มีประโยชน์

ดูเหมือนว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทัศนะของเรามักจะตีบแคบ ความสนใจพุ่งไปจ่ออยู่ที่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหา และรู้สึกว่าเราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ความรู้สึกอย่างนี้ดึงดูดตัวเองเข้าไปสู่ปัญหารุนแรงขึ้น เมื่อเกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้น การเห็นสิ่งต่างๆจากมุมมองที่กว้างขึ้นจะช่วยได้ เช่น ตระหนักรู้ว่ามีคนอื่นอีกมากหลายที่ประสบกับเหตุร้ายเช่นเดียวกับเรา หรือยิ่งกว่า การปฏิบัติการเปลี่ยนมุมมองนี้อาจจะช่วยแม้เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีความเจ็บปวด เมื่อเวลาความเจ็บปวดเกิดขึ้น ในขณะนั้นเป็นการยากมากที่จะบำเพ็ญสมาธิให้จิตสงบ แต่คุณทดลองเปรียบเทียบดู ก็ได้ ว่าถ้าเปลี่ยนมุมมองแล้วมีอะไรเกิดขึ้น ถ้าคุณมองแต่ปัญหาอยู่อย่างเดียว ปัญหานั้นมันจะใหญ่ขึ้นๆ ถ้าคุณจดจ่ออยู่แต่กับปัญหานั้นอย่างเข้มข้น จะพบว่าไม่สามารถควบคุมมันได้ แต่ถ้าคุณเปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับเหตุการณ์อื่นที่ใหญ่กว่า ถอยไปมองปัญหานี้จากระยะไกล ปัญหามันจะเล็กลงและไม่ท่วมท้น"Ž

หมอคัตเลอร์เล่าว่าก่อนที่จะเข้าไปสนทนากับท่านทะไล ลามะ คราวหนึ่งได้พบกับผู้บริหารขององค์กรหนึ่งที่เขาเคยทำงาน อยู่ด้วย ระหว่างที่ทำงานอยู่ในองค์กรของเขา หมอคัตเลอร์มีเรื่องกระทบกระทั่งกันหลายครั้ง เพราะรู้สึกว่าเขาลดคุณภาพการดูแลผู้ป่วย เพราะเห็นแก่เงินมากกว่า หมอคัตเลอร์ไม่ได้พบเขามานานแล้ว เพียงแต่มองเห็นเขา สิ่งที่เคยทะเลาะกันไหลบ่ามาทันที ทำให้ความโกรธ ความเกลียดเอ่อล้นขึ้นมาในตัว พอดีมีผู้นำ เขาเข้าพบท่านทะไล ลามะ เพื่อการสัมภาษณ์ แม้จะรู้สึกสงบลง แต่พายุอารมณ์ก็ยังกรุ่นอยู่ภายใน

"ถ้ามีใครทำให้เราโกรธ"
เขาถาม ท่านทะไล ลามะ "การตอบโต้ของเราทันทีก็ คือโกรธ แต่ว่าในหลายกรณีด้วยกัน มันไม่ใช่เฉพาะโกรธเมื่อเวลาถูกทำร้ายเท่านั้น แต่ว่าหลังจากนั้นแม้เนิ่นนาน ทุกครั้งที่เราคิดถึงมัน เราก็โกรธขึ้นมาอีก ท่านจะแนะนำให้ทำอย่างไรในกรณีเช่นนี้"Ž
ท่านทะไล ลามะ พยักหน้าอย่างครุ่นคิด และมองหมอคัตเลอร์ ซึ่งทำให้หมอคัตเลอร์สงสัยว่าหรือท่านจะรู้ว่านี้เป็นปัญหาส่วนตัวของหมอคัตเลอร์เอง

"ถ้าท่านมองจากมุมมองที่ต่างไป"
ท่านกล่าว "ก็จะพบว่าคนที่ทำให้คุณโกรธจะต้องมีข้อดีหลายอย่าง ถ้าคุณพิจารณาอย่างรอบคอบ คุณก็จะพบว่าการกระทำที่ทำให้คุณโกรธนั้นเปิดโอกาสบางอย่างให้คุณ ซึ่งถ้าไม่มีเหตุการณ์นี้ก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าพยายาม มองจากหลายมุมมองในเหตุการณ์หนึ่ง ก็จะเป็นประโยชน์"Ž
"แต่ถ้าเรามองหาแง่บวกของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แล้วไม่พบล่ะ"
Ž
"ตรงนี้อาตมาคิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่เราต้องพยายามเป็นพิเศษ ใช้เวลาและค้นหาอย่างจริงจังที่จะให้พบมุมมองอื่น อย่ามองเพียงตื้นๆ ตั้งใจเป็นพิเศษที่จะมองหา ต้องใช้พลังแห่งเหตุผลทุกอย่าง และมองสถานการณ์อย่างปราศจากอารมณ์ ตัวอย่างเช่นคุณควรจะตรึกตรองดูว่า เมื่อคุณโกรธใครสักคน คุณมีความโน้มเอียงที่คิดว่าเขามีแต่ด้านลบทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หรือเมื่อคุณไปรักใครเข้าก็คิดว่าเขาดีทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่การเข้าใจอย่างนี้ไม่ใช่ความจริง ถ้าเพื่อนคนที่คุณคิดว่าดีนักหนาเกิดทำร้ายคุณโดยเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทันทีทันใดนั้นคุณจะตระหนักรู้ว่าเขาไม่ได้ดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ทำนองเดียวกัน คนที่คุณเกลียดเกิดดีกับคุณ คุณก็คงไม่คิดว่าเขาเลว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ อีกต่อไป ดังนั้น เมื่อคุณโกรธใครและคิดว่าเขาไม่มีความดี จงคิดว่าไม่มีใครที่เลว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เขาต้องมีความดีอะไรบ้าง ถ้าคุณพยายามแสวงหานานพอ ฉะนั้นการที่ คิดว่าใครไม่มีความดีอะไรเลย เป็นสภาวะจิตของคุณเอง แต่มันไม่ใช่ความจริง"
Ž
"ในทำนองเดียวกัน สถานการณ์ที่คุณคิดว่าเลวร้าย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์อาจมีด้านที่ดีอยู่ก็ได้ แต่แม้ว่าคุณจะค้นพบแง่มุมที่เป็นบวกของสถานการณ์ที่เลวร้าย แต่นั้นก็ไม่เป็นการเพียงพอ คุณยังต้องเสริมพลังการคิดอย่างนั้น คุณอาจจะต้องเตือนตัวเองถึงด้านที่เป็นบวกอยู่หลายๆ ครั้ง จนกระทั่งความรู้สึกของคุณเปลี่ยนไป พูดโดยทั่วไป เมื่อคุณตกเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดนั้น โดยปรับวิธีคิดเพียงครั้งหรือสองครั้ง ควรจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ การฝึกฝนตน จนคุ้นเคยกับการมีมุมมองที่มันจะช่วยคุณได้ยามยาก"
Ž
ท่านทะไล ลามะ หยุดคิดสักครู่ และโดยเน้นจุดยืนเชิงปฏิบัตินิยมของท่าน เช่นเคย ท่านกล่าวว่า "อย่างไรก็ตาม ถ้าได้พยายามแล้ว แต่ไม่พบมุมมองที่เป็นบวกของการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลาเช่นนั้น ก็คือพยายามลืม มันเสีย"Ž

ได้รับความบันดาลใจจากท่านทะไล ลามะ ต่อมาในเย็นวันนั้นหมอคัตเลอร์พยายามคิดถึงด้านที่เป็นบวกของผู้บริหารคนดังกล่าว โดยถือว่าเขาไม่ใช่จะเลวร้าย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วพบว่าไม่ยากเท่าใดเลย เพราะเขาเป็นพ่อที่รักลูก พยายามเลี้ยงดูลูกอย่างดีที่สุด และหมอคัตเลอร์พบว่าการกระทบกระทั่งกับผู้บริหารคนนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง คือทำให้เขาตัดสินใจเลิกทำงานกับองค์กรแห่งนั้น ทำให้ได้งานใหม่ที่พอใจกว่า วิธีคิดแบบนี้ แม้ไม่ทำให้เขาเกิดความรักอย่างท่วมท้นต่อผู้บริหารคนนี้ แต่ก็ทำให้ความรู้สึกเกลียดชังบรรเทาลงอย่างง่ายดาย ในไม่ช้า ท่านทะไล ลามะ จะให้บทเรียนที่ลึกซึ้งขึ้น นั้นคือวิธีเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดต่อศัตรูอย่างสิ้นเชิงและเรียนรู้ที่จะรักใคร่

มุมมองใหม่ต่อศัตรู
วิธีการของท่านทะไล ลามะ ในการเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดต่อศัตรูคือการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบต่อการตอบโต้อย่างปกติสามัญต่อผู้ที่ทำร้ายเรา ท่านอธิบายว่า

"เราลองมาตรวจสอบท่าทีตามปกติของเราต่อคู่แข่ง โดยทั่วไปเราไม่มีความปรารถนาดีต่อศัตรูของเรา แต่ว่าถ้าศัตรูของคุณถูกทำให้ไม่มีความสุขด้วยการกระทำของคุณ คุณจะยินดีปรีดาไปทำไม ถ้าคิดเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง ดูมันช่างร้ายกาจเสีย นี่กระไร ทำไมจะต้องมาแบกความโหดร้าย และ ความรู้สึกไม่ดีไว้ด้วย คุณต้องการเป็นคนใจร้าย ดังนั้นหรือ

"ถ้าเราต้องการแก้แค้นศัตรูของเรา มันก็จะสร้างวงจรอุบาทว์ขึ้นมา เมื่อคุณแก้แค้น ศัตรูของคุณก็ไม่มีวันจะยอมรับ เขาจะต้องหาทางแก้แค้นกลับ แล้วคุณก็แก้แค้นกลับไปอีก ไม่มีวันสิ้นสุด โดยเฉพาะ ถ้ามันเกิดขึ้นในระดับชุมชน มันจะแก้แค้นกันไปมาเป็นชั่วคนทีเดียว ผลก็คือเกิดความทุกข์ทั้งสองข้าง แล้ววิถีชีวิตทั้งชีวิตก็ล่มจมลง คุณจะเห็นได้ในค่าย ผู้ลี้ภัยที่ความเกลียดชังต่อกลุ่มอื่นได้ถูกบ่มเพาะขึ้น เริ่มตั้งแต่เด็กๆ ทีเดียว มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ความโกรธและความเกลียดเปรียบประดุจเบ็ดของ นักตกปลา เราจะต้องระวังไม่ให้ติดเบ็ด
แต่บางคนก็คิดว่า ความเกลียดชังอย่างรุนแรงเป็นผลดีต่อประเทศชาติ อาตมาคิดว่าการคิดอย่างนี้ไม่ดีอย่างยิ่ง สายตาสั้นมาก วิถีคิดตรงข้ามนี้ก็คืออหิงสธรรมและความเข้าใจ"
Ž
หลังจากท้าทายวิถีคิดต่อศัตรูอันเป็นท่าทีตามปกติของคนทั่วไปแล้ว ท่านทะไล ลามะ ได้แนะวิถีทางใหม่ในการมองศัตรู มุมมองใหม่ที่อาจจะปฏิบัติชีวิตของบุคคลทีเดียว ท่านอธิบายว่า

"ในพระพุทธศาสนา เราใส่ใจอย่างมากต่อท่าทีของเราต่อคู่แข่งหรือศัตรู ทั้งนี้ก็เพราะว่าความเกลียดชังเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงที่สุดต่อความเจริญความกรุณาและความสุข ถ้าคุณเรียนรู้ที่จะพัฒนาขันติธรรมต่อศัตรูของคุณได้ อย่างอื่นๆ จะง่าย ไปหมด ความกรุณาต่อคนทั้งหมดจะหลั่งไหลมาโดยธรรมชาติ"Ž

"ดังนั้น สำหรับนักพัฒนาจิต ศัตรูมีบทบาทสำคัญมาก อาตมาเห็นว่าความกรุณาคือหัวใจของการพัฒนาจิต การที่พัฒนาตัวเราเองให้มีความรักและความกรุณาอยู่ในใจ การฝึกความอดทน และขันติธรรมจำเป็นมาก ไม่มีอะไรแข็งแกร่งเท่าความอดทน ทำนองกับที่ว่าไม่มีอะไรร้ายเท่ากับความเกลียดชัง ดังนั้น จึงต้องพยายามอย่างดีที่สุดที่จะเก็บความเกลียดชังศัตรูไว้ในหัวใจ แต่ถือมันเป็นโอกาสที่จะฝึกฝนความอดทนและขันติธรรม"Ž

"แท้ที่จริง ศัตรูเป็นสภาพที่จำเป็นต่อการฝึกความอดทน ปราศจากศัตรู ก็ไม่มี ทางที่ความอดทนและขันติธรรมจะเกิดขึ้น เพื่อนไม่เป็นเครื่องทดสอบหรือเป็นโอกาส ที่เราจะฝึกความอดทนไม่เหมือนศัตรู ดังนั้น ด้วยทัศนะอย่างนี้ เราควรคิดว่าศัตรูคือ ครูผู้ยิ่งใหญ่ของเรา ควรจะขอบคุณเขาที่ทำให้เรามีโอกาสทองในการฝึกความอดทน"Ž

"มีมนุษย์จำนวนมากหลายในโลกนี้ แต่ที่เรามีความสัมพันธ์ด้วยมีเพียงน้อย นิด และยิ่งน้อยลงไปใหญ่สำหรับคนที่ก่อปัญหาให้เรา ดังนั้น เมื่อมีโอกาสฝึกความอ
อดทนและขันติธรรม และควรจะรู้สึกขอบคุณโอกาสนี้หายาก นึกเสียว่าได้พบมหาสมบัติในบ้าน คุณควรจะมีความสุขและรู้สึกขอบคุณศัตรูที่นำโอกาสทอง มาให้คุณ ถ้าคุณจะมีความสำเร็จในการฝึกความอดทนและขันติธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลบอารมณ์ร้าย ก็จะเกิดจากความประจวบเหมาะระหว่างความ พยายามของคุณกับโอกาสที่ศัตรูนำมาให้คุณ"Ž


"แต่แน่นอน คุณอาจจะรู้สึกว่า เรื่องอะไรฉันจะต้องไปบูชาศัตรู และยอมรับบุญคุณของเขา เพราะเขาไม่ได้ มีเจตนาที่จะให้โอกาสฉันฝึกอะไรเลย ไม่ได้คิดจะช่วยฉันเลย ตรงข้ามเขามีเจตนาร้ายที่จะทำร้ายฉัน ดังนั้น เป็นการสมควร ที่ฉันจะเกลียดเขา เขาไม่มีคุณค่าสำหรับความนับถือเลยž ที่จริงแล้วการมีจิตที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังในตัวของศัตรูของเรา พร้อมด้วยเจตนาที่จะทำร้ายเรานั่นแหละ ที่ทำให้การกระทำของศัตรูมีลักษณะเฉพาะ มิฉะนั้นถ้าเป็นเพียงการกระทำที่ทำให้เราเจ็บ เราก็คงจะต้องเกลียดหมอและถือว่าเป็นศัตรู เพราะบางครั้งหมอก็ใช้วิธีการที่ทำให้เราเจ็บ เช่นการผ่าตัด แต่เราก็ไม่ถือว่า หมอเป็นศัตรูเพราะเขามีเจตนาที่จะช่วยเรา ดังนั้น เจตนาของศัตรูที่จะทำร้ายเรานั่นแหละที่ทำให้ศัตรูมีฐานะต่างกว่าใครๆ ทั้งหมดในการให้โอกาสเราฝึกความอดทน"Ž

คำแนะนำของท่านทะไล ลามะ ให้ยกย่องศัตรูที่ให้โอกาสเราพัฒนาตัวเอง ดูจะเป็นการยากที่จะกล้ำกลืนได้เมื่อเริ่มต้น แต่สถานการณ์ก็คล้ายกับการเพาะกาย แน่นอนว่าการยกน้ำหนักไม่ใช่เรื่องที่สบายเลยเมื่อเริ่มต้น น้ำหนักมันก็หนักแหละ เราต้องเบ่งตัว เหงื่อตก ต่อสู้ แต่ว่าก็เพราะการต่อสู้กับแรงต้านนั้นเองที่มีผลให้เรามี กำลัง เราเห็นคุณค่าของเครื่องยกน้ำหนัก ไม่ใช่เพราะมันให้ความสุขสบายกับเราเมื่อ เริ่มต้น แต่เป็นเพราะผลดีที่เราได้รับในท้ายที่สุด

สิ่งที่ท่านทะไล ลามะ อ้างว่า "เป็นสิ่งหายาก" และ "เป็นสิ่งมีคุณค่า" เกี่ยวกับศัตรู อาจจะเป็นการให้เหตุผลที่ดูแฟนซีเกินไป แต่เมื่อหมอคัตเลอร์นั่งฟังคนไข้เล่าถึงความยากลำบากของเขาในความสัมพันธ์กับคนอื่น เรื่องนี้ก็กลับชัดเจน คนส่วนใหญ่ ไม่ได้มีศัตรูหรือคู่ขัดแย้งเป็นกองพลๆ อย่างน้อยในระดับบุคคล ความขัดแย้งมักจะจำกัดอยู่กับคนจำนวนน้อย เช่น เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน สามีภรรยา พี่น้อง ในทัศนะอย่างนี้ ศัตรูเป็นเรื่องหายาก ไม่ได้มีมากมายอะไร การดิ้นรนต่อสู้ กระบวนการที่จะคลายความขัดแย้งกับศัตรู โดยการเรียนรู้ตรวจสอบ หาทางเลือกในการจัดการกับมัน ซึ่งในที่สุดแล้วมีผลให้เราพัฒนาจิตและปัญญา และสามารถเยียวยาจิตใจได้
ลองนึกดูสิว่า ถ้าในชีวิตเราไม่เคยพานพบ ศัตรูหรืออุปสรรคใดๆ เลย ถ้าตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน มีแต่คนเอาใจเรา อุ้มชูเรา ป้อนอาหารที่ไม่ต้องขบเคี้ยว ทำตลกให้เราดู ถ้าตั้งแต่เกิดมีคนอุ้มเราใส่กระจาดไป ไม่เคยพบแรงเสียด-ทานอะไร ถือว่าทุกคนทำกับเราเหมือนเป็นทารก มันอาจจะดูดี สำหรับชีวิต ๒-๓ เดือนแรก แต่ถ้ายังเป็นอย่างนั้นต่อไปเรื่อยๆเราก็จะเป็นเหมือนวุ้น ไม่มีการพัฒนาทางจิตเลย การต้องดิ้นรนต่อสู้ต่างหากที่ทำให้เราเป็นเช่นที่เราเป็นได้ ศัตรูของเรานั่นแหละทดสอบเรา และสร้างแรงต้านที่จำเป็นต่อการเติบโตของเรา

ท่าทีอย่างนี้ปฏิบัติได้จริงหรือ
การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและเรียนรู้ที่จะมองความยากลำบากหรือศัตรูด้วย มุมมองใหม่ดูก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ที่จะทำ แต่หมอคัตเลอร์ก็อดคิดไม่ได้ว่าวิธีนี้จะ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงท่าทีของบุคคลถึงขั้นพื้นฐานได้มากน้อยสักเพียงใด เขาจำได้ ว่าครั้งหนึ่งเคยอ่านคำสัมภาษณ์ท่านทะไล ลามะ เกี่ยวกับการปฏิบัติจิตภาวนาใน ชีวิตประจำวันของท่าน โดยท่านสวดบทที่ว่าด้วย "โศลก ๘ ประการแห่งการฝึกจิต" ที่ประพันธ์ไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๑ โดยพระอาจารย์ชาวทิเบตชื่อ ลางกรี ถังปา
ความตอนหนึ่งว่า:
มื่อไรก็ตาม ที่ฉันพบพานท่านผู้ใด ฉันจะถือว่าฉันต่ำต้อยที่สุดในหมู่มวลมนุษย์ และถือว่าท่านผู้นั้นสูงสุด ในส่วนลึกของหัวใจฉัน
เมื่อฉันเห็นใครที่เลวร้าย ก่อบาปกรรมอันรุนแรง ขอให้ฉันรักคนที่หายากเช่นนี้ ประดุจทรัพย์สมบัติอันมีค่า
เมื่อคนอื่น โดยความอิจฉาริษยา ทำกับฉันอย่างไม่ดีด้วยประการต่างๆ ขอฉันจงเป็นผู้แพ้และชัยชนะเป็นของเขาเหล่านั้น
เมื่อใครคนใดคนหนึ่ง ที่ฉันเคยอุปถัมภ์ค้ำชู กลับทำร้ายฉันอย่างแสนสาหัส ขอให้ฉันเห็นเขาเป็นบรมครู
โดยสรุปขอให้ฉัน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทำประโยชน์และสร้างความ สุขแก่สรรพชีวิตทั้งมวล ขอให้ฉันรับเอาไว้ในตัวฉันเอง ซึ่งภยันตรายและความทุกข์ทรมานของสรรพสัตว์อย่างเงียบๆ ด้วยเทอญ

หลังจากได้อ่านเรื่องนี้ หมอคัตเลอร์ถามท่านทะไล ลามะ ว่า "ผมทราบว่า ท่านได้ภาวนาโศลกนี้เป็นอันมาก ท่านคิดว่าคำสอนนี้ยังใช้ได้กับปรัตยุบันสมัยหรือ ผมหมายความว่าโศลกนี้เขียนโดยพระซึ่งมีชีวิตอยู่ในวัด ซึ่งไม่ค่อยจะมีใครมาทำร้ายอะไร ท่านนักหนา จะมีก็เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างนั้นก็อาจจะง่าย ที่จะมองความเป็นผู้ชนะให้แก่ผู้ที่ทำร้ายเรา แต่ในสังคมปัจจุบัน การทำร้ายกันอาจเป็นการข่มขืน ทารุณกรรม
ฆาตกรรม ถ้าอย่างนี้แล้ว คำสอนในบทสวดดูจะใช้ไม่ได้"Ž

ท่านทะไล ลามะ ครุ่นคิดเป็นครู่ใหญ่ และพูดว่า "อาจจะมีความจริงอยู่ บ้างในสิ่งที่คุณพูด" แล้วท่านก็พูดถึงกรณีที่อาจต้องดัดแปลงท่าทีดังกล่าวไปบ้าง โดยที่อาจจะต้องตอบโต้ความก้าวร้าวของ ผู้อื่นอย่างค่อนข้างรุนแรงบ้าง เพื่อป้องกันอันตรายต่อตัวเราและผู้อื่น

ถัดมาในเย็นวันนั้นหมอคัตเลอร์ครุ่นคิดถึงเรื่องที่ได้สนทนากับท่านทะไล ลามะ มี ๒ เรื่องที่ผุดบังเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เรื่องที่ ๑ เขาประทับใจที่ท่านทะไล ลามะ พร้อมอยู่เสมอที่จะทบทวนความเชื่อและการปฏิบัติเก่าๆ ของท่าน ในกรณีนี้ก็คือเต็มใจที่จะประเมินใหม่ถึงคุณค่าของการภาวนา ที่ท่านปฏิบัติมานานปีจนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของท่าน ประเด็นที่ ๒ หมอคัตเลอร์รู้สึกตัวถึงความอหังการของตัวเอง ที่ไปบอกกับท่านว่าสิ่งที่ท่านภาวนาอยู่นั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับความเป็นจริงของยุคปัจจุบัน แต่เขาก็ลืมไปว่าเขาพูดอยู่กับใคร คนที่ได้สูญเสียประเทศของเขาไปด้วยการรุกรานอย่างทารุณที่สุดในประวัติศาสตร์ บุคคลที่มีชีวิตอย่างผู้ลี้ภัยมาเกือบ ๔ ทศวรรษ แล้วก็เพื่อนร่วมชาติฝากความหวังแห่งเสรีภาพไว้กับบุคคลผู้นี้ บุคคลที่มีจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบ และต้องรับฟังผู้ลี้ภัยเพื่อนร่วมชาติที่เข้ามาเล่าเรื่องฆาตกรรม การข่มขืน ทารุณกรรมต่างๆ ที่คนทิเบตถูก กระทำ หมอคัตเลอร์เคยสังเกตใบหน้าแห่งความกรุณาและความเศร้าสลดเมื่อท่านทะไล ลามะ กำลังฟังเรื่องเลวร้ายจากคนทิเบต ที่เดินทางด้วยเท้าข้ามภูเขาหิมาลัยใช้เวลาถึง ๒ ปีเพื่อจะมาพบท่าน

เรื่องราวที่คนทิเบตเล่านั้นไม่ใช่เป็นเรื่องความรุนแรงทางกายเท่านั้น แต่ จีนพยายามทำลายจิตวิญาณของคนทิเบตด้วย โดยการลบล้างความเชื่อดั้งเดิมและ สอดแทรกลัทธิใหม่

โดยจิตภาวนา เช่น การสวดโศลก ๘ ประการแห่งการฝึกจิต ท่านทะไล ลามะ สามารถเผชิญกับความจริงของสถานการณ์เหล่านี้ และยังรณรงค์เพื่อเสรีภาพและ สิทธิมนุษยชนของคนทิเบตมา ๔๐ ปี ขณะเดียวกันก็มีความถ่อมตัวและมีความกรุณาต่อ คนจีน จริยวัตรอันงดงามที่ก่อความบันดาลใจให้คนเป็นล้านๆ คนทั่วโลก แล้วก็หมอคัตเลอร์เล่าเป็นใครกันที่มาบอก ท่านว่าคำภาวนาของท่านอาจจะใช้ไม่ได้สำหรับ ความเป็นจริงŽ ของโลกในปัจจุบัน (ก็ที่ท่านเผชิญอยู่นั้นมันคือ "ความเป็นจริง" ในปัจจุบัน)
หมอคัตเลอร์ว่าคิดแล้วยังละอายใจที่ไปถามท่านอย่างนั้น
 

 

ข้อมูลสื่อ

319-024
นิตยสารหมอชาวบ้าน 319
พฤศจิกายน 2548
ศ.นพ.ประเวศ วะสี