โรคหวัด ภูมิแพ้

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 389 กันยายน 2554
    ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อยอดฮิตสำหรับทุกคน นับว่าเป็นโรคที่เป็นเองหายเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาอะไรพิเศษ ยาจำเป็นคือพาราเซตามอล ลดไข้ แก้ปวด เฉพาะเมื่อมีไข้สูงหรือปวดศีรษะข้อผิดพลาดคือ มีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็นอย่างพร่ำเพรื่อ ซึ่งไม่เพียงไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากมันไม่ได้มีส่วนฆ่าเชื้อไวรัสหวัดที่เป็นสาเหตุแล้ว ยังอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาง่าย แพ้ยาง่าย และทำให้ร่างกายอ่อนแอตามมาได้ดังนั้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 369 มกราคม 2553
    โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ มักเริ่มพบในวัยเด็กโดยพบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 70 เช่น ประวัติว่าพ่อแม่เป็นหืดหอบ ลมพิษ หรือน้ำมูกไหลเพราะแพ้อากาศ โรคนี้แบ่งลักษณะตามช่วงอายุได้เป็น 3 ช่วงช่วงวัยทารกเริ่มมีอาการคันและผื่นขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ อาการคันอาจเป็นมากจนเด็กอายุถึง 2 ขวบ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 368 ธันวาคม 2552
    แม้ขณะนี้ข่าวคราวและสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ดูเหมือนจะเงียบไป แต่ไม่ได้หมายความว่า จำนวนผู้ป่วยจะลดน้อยลงหรือหมดไปด้วย อย่างที่รู้กันว่าไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล ฉะนั้นเพื่อความไม่ประมาทจึงควรดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอทั้งคนที่ป่วยและคนที่ยังไม่ป่วยคำแนะนำ สำหรับประชาชนทั่วไป คือ - ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ สบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล - ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว เช่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 365 กันยายน 2552
    ถาม : นภาพร/กรุงเทพฯอายุ 30 ปีแล้วค่ะ เป็นภูมิแพ้จากกรรมพันธุ์ ขณะนี้มีลูกสาวอายุ 2 ขวบ ต้องการทราบวิธีการปฏิบัติตัว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภูมิแพ้ในอนาคต ทั้งของตัวเองและของลูกสาว1.ตัวเองจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ไม่ให้ภูมิแพ้กำเริบ (อยู่กับภูมิแพ้โดยที่ภูมิแพ้ไม่มารบกวนให้เสียงาน)2.ลูกสาวจะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ด้วยหรือไม่ อย่างไรตอบ :นพ.ปารยะ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 364 สิงหาคม 2552
    แม้ว่าหมอชาวบ้านจะได้เคยลงเรื่องไข้หวัดใหญ่มาหลายโอกาสแล้วก็ตาม ฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่องไข้หวัดใหญ่ในคอลัมน์นี้อีกครั้ง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงโรคนี้อย่างละเอียดทุกแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่การแพร่ข่าวการป่วยและการตายของคนไทยจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ผู้คนตื่นกลัว แห่กันเข้ามาตรวจที่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ อย่างเนืองแน่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 357 มกราคม 2552
    ช่วงนี้มีข่าวว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่คือนายบารัค โอบามา กำลังหาสุนัขประจำทำเนียบขาว แต่มีข้อจำกัดคือจะต้องเป็นสุนัขที่ไม่กระตุ้นโรคภูมิแพ้เพราะลูกสาวเป็นโรคภูมิแพ้สุนัข นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงบ่อยมาก ในสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้นั้น ร้อยละ 15-30 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 350 มิถุนายน 2551
    โรคผิวหนังภูมิแพ้นี้จัดเป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ถ้าซักประวัติเด็กที่เป็นโรคนี้ พบว่า ร้อยละ 70 มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น พ่อแม่เป็นหอบหืด ลมพิษ หรือน้ำมูกไหลเพราะแพ้อากาศโดยทั่วไปแบ่งลักษณะผื่นผิวหนังของโรคผิวหนังภูมิแพ้ได้ง่ายๆ เป็น3 ช่วงอายุ คือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ช่วงวัยทารก เริ่มมีอาการคันและผื่นขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 348 เมษายน 2551
    โรคแพ้โปรตีนนมวัวในเด็ก เกิดจากเด็กไม่สามารถรับโปรตีนที่มีอยู่ในนมวัวได้ ประกอบกับในระยะ ๔-๖ เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบน้ำย่อยสาร ต่างๆ ของทารกยังไม่แข็งแรง นอกจากนี้ทารกที่มีประวัติครอบครัว หรือบิดามารดาเป็นโรคภูมิแพ้และยังได้รับนมผสมหรือนมวัวจะมีโอกาสเกิดโรคแพ้โปรตีนในนมวัวสูงกว่าเด็กปกติทั่วไป โดยโรคนี้มักเกิดในขวบปีแรกของทารก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 347 มีนาคม 2551
    นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพลมพิษลมพิษ หมายถึง อาการผิวหนังขึ้นเป็นวงนูนแดง คัน มักเกิดขึ้นฉับพลันเมื่อเกิดอาการแพ้ เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้ฝุ่นหรือขนสัตว์ เป็นต้นส่วนใหญ่มักมีอาการอยู่ไม่นานก็ทุเลาไปได้ หรือหลังกินยาแก้แพ้ก็มักจะหายขาดไปได้ แต่บางคนอาจเป็นลมพิษขึ้นทุกวันอย่างต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นนานเกิน ๒ เดือน ก็เรียกว่า ลมพิษชนิดเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 340 สิงหาคม 2550
    พญ.ชลีรัตน์ ดีเรกวัฒนชัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีโรคหืดในเด็ก ควบคุมได้ด้วยตนเององค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคหืด ๑๕๐ ล้านคน และเสีย ชีวิตปีละมากกว่า ๑๘๐,๐๐๐ คน และกลุ่มของผู้ที่รอดชีวิตก็มีคุณภาพชีวิตต่ำลงโรคหืดเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกที่จะต้องได้รับการแก้ไข พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก รุนแรงปานกลาง และรุนแรงน้อย แต่สัดส่วนการเสียชีวิตใกล้เคียงกัน ...