• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ทำอย่างไร เมื่อต้องดูแลผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต

อัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมองขาดเลือดหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งผลที่ตามมาก็คือจะมีอาการอ่อน แรงด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน พูดไม่ได้หรือพูดลำบาก กลืนอาหารลำบาก สำลักหรือกินอาหาร เองไม่ได้อาจมีอาการสับสนในการสื่อสารและอื่นๆ

สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์  อัมพาตเกิดจากหลอดเลือด สมองตีบ การอุดตันของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองแตก สาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ หลอดเลือดอักเสบ

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต มีหลายอย่าง เช่น โรคความดันเลือดสูงมีอัตราเสี่ยง     ๓-๑๗ เท่าของคนปกติ โรคเบาหวานมีอัตราเสี่ยง ๒-๔ เท่าของคนปกติ ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เป็นอัมพาตได้แก่ ความอ้วน ขาดการ ออกกำลังกาย ความเครียด

อาการเตือนของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงหรืออาการชาของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง เป็นครั้งคราว มีภาวะพูดลำบาก ตะกุกตะกัก หรือพูดไม่ชัด โดยอาการเกิดขึ้นชั่วคราว ภาวะตามืดหรือมองไม่เห็นชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปกติ หรือเห็นภาพ ซ้อน ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน เกิดภาวะวิงเวียน บ้านหมุนหรือเป็นลม และกลืนอาหารหรือสำลักบ่อยๆ

หลังเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยจะมีอาการสูญเสีย ความรู้สึก การพูด การรู้จัก หมดความสามารถในการใช้ สิ่งของที่เคยใช้หรือเคลื่อนไหวลำบาก การเห็นภาพ ควบ-คุมการขับถ่ายไม่ได้ มีปัญหาด้านอารมณ์ อาการเกร็ง

การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต แบ่งเป็น ๕ ข้อหลัก
๑. กฎเบื้องต้นที่ผู้ดูแลควรปฏิบัติ
๒. การจัดบ้านและเครื่องเรือน
๓. การจัดท่าทางผู้ป่วย
๔. การเคลื่อนย้ายตัว
๕. การออกกำลังกาย


 

ข้อมูลสื่อ

322-003-2
นิตยสารหมอชาวบ้าน 322
กุมภาพันธ์ 2549
พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร
กองบรรณาธิการ