• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ดวงตา

ดวงตา

รูปที่ 1
1. เยื่อตา (CONJUNCTIVITIS)
2. กระจกตา หรือคอร์เนีย (CORNEA)
3. รูม่านตาหรือพิพิล (PUPIL)
4. ม่านตา หรือไอริส (IRIS)
5. ของเหลวเอเควียสฮิวเมอร์ (AQUEOUS HUMOUR)
6. แก้วตา หรือเลนส์ (LENS)
7. กล้ามเนื้อซีเลียรี่บอดี้ (CILIARY BODY)
8. จุดบอด (BLIND SPOT)
9. โฟเวีย (FOVEA)
10. หลอดเลือด (BLOOD VESSELS)
11. เส้นประสาทตา (OPTIC NERVE)
12. จอภาพ หรือเรตินา (RETINA)
13. คอรอยด์ (CHOROID)
14. สเคลอรา (SCLERA)
15. กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตา (ORBITAL MUSCLES)
16. ที่ยึดเกาะของเส้นเอ็นซัสเพนซอรี่ (SUSPENSORY LIGAMENT)

 

รูปที่ 2 “การปรับภาพ การดูระยะไกล จะเป็นการทำงานของม่านตา กล้ามเนื้อซีเลียรี่บอดี้จะหย่อนตัว ทำให้แก้วตา (Lens) บางลง การดูถาพระยะใกล้ กล้ามเนื้อซีเลียรี่บอดี้จะหดตัว ทำให้แก้วตาหนาขึ้น วิธีการนี้เรียกว่า แอดคอมโมเดชั่น (Accommodation) ซึ่งสำคัญในการปรับภาพให้คมชัดเจน”

 

รูปที่ 3 “ในที่สว่าง (A) แสงจะกระตุ้นเซลล์สีที่จอภาพ (1) ซึ่งจะส่งสัญญาณไปที่ส่วนก้านสมอง (Brain Stem) (2) และศูนย์กลางสมอง (3) สั่งให้กล้ามเนื้อตรงรูม่านตาหดตัว และทำให้รูม่านตาหดเล็กลง ส่วนในที่มืด (B) กล้ามเนื้อจะหดตัวน้อยกว่า ทำให้แสงเข้าสู่ม่านตาได้มากขึ้น”

 

รูปที่ 4 “เมื่อเรามองวัตถุ”

 

รูปที่ 5 “ตาบอดสี A เป็นสายตาปกติ
B เป็นพวกตาบอดสีที่ไม่รู้สีเขียวกับสีแดง
C ตาบอดสีที่ไม่รู้สีเหลืองกับสีฟ้า
D พวกตาบอดไร้สี


“ภาพอะไรเอ่ย?”


คุณผู้อ่าน (ที่เป็นผู้ชาย) ครับ ถ้าท่านอยากทราบว่า ตัวเองเป็นตาบอดสีหรือเปล่า เชิญดูว่าภาพนี้มีตัวเลขอะไร?

เขาว่ากันว่า ดวงตาเป็นประตูของหัวใจ คราวนี้เราก็ลองมาศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของลูกตากันดูหน่อยเป็นไร

เริ่มตั้งแต่หนังตาหรือเปลือกตา ซึ่งมีขนตาสำหรับป้องกันฝุ่นผงเข้าตา (ดูรูปประกอบที่ 1) แล้วก็มีคิ้วซึ่งป้องก้นไม่ให้เหงื่อไหลเข้าตา ใต้เปลือกตาจะมีบางใสที่คลุมส่วนหน้าของลูกตา คือ เยื่อตา (Conjunctiva) ใต้เปลือกตาจะมี ต่อมน้ำตา (Lacrimal gland) ซึ่งจะผลิตน้ำตาเพื่อชะล้างสิ่งแปลกปลอมและขี้ผงที่เข้าไปในตารวมทั้งเชื้อโรคตัวเล็กๆ ให้ไหลออกมากับน้ำตาผ่านเยื่อตามาตามท่อส่งน้ำตา ซึ่งจะอยู่หัวตาในแต่ละข้าง ถัดจากเยื่อตาก็เป็นชั้นนอกสุดของลูกตา ฝรั่งเขาเรียกว่า สเคลอรา (Sclera) ชั้นนี้เป็นชั้นที่เหนียวมาก มักจะติดกับกล้ามเนื้อที่ใช้เคลื่อนไหวลูกตา 6 มัด

ถัดจากชั้นสเคลอราทางด้านหน้าของตาก็จะถึงกระจกตาหรือคอร์เนีย (Cornea) ชั้นนี้เป็นชั้นที่สำคัญที่สุดของลูกตาในการปรับโฟกัส1 ของภาพ ชั้นในของลูกตาคือชั้นคอรอยด์ (Choroid) ซึ่งทางด้านหน้าของลูกตาจะเป็นกล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า ซีเลียรี่บอดี้ (Ciliary body) ซึ่งจะช่วยยึดแก้วตาหรือเลนส์ตา2 (Lens) ในการปรับภาพเวลามองใกล้-ไกล เช่น เมื่อกล้ามเนื้อซีเลียรี่บอดี้หดตัว ก็จะทำให้แก้วตาหนาตัวขึ้น สำหรับมองภาพใกล้ ด้านหน้าของแก้วตา คือ ม่านตาหรือไอริส (Iris) ซึ่งเป็นส่วนที่เราเห็นเป็นสีน้ำตาลหรือดำในคนไทยและสีฟ้าในพวกฝรั่ง (ดูรูปประกอบที่ 2)

จากนั้นก็ถึงรูม่านตาหรือพิพิล (Pupil) ซึ่งเป็นรูปปิด-เปิดม่านตาควบคุมปริมาณแสงเข้ามาก-น้อย โดยเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูม่านตา เช่นรูม่านตาจะเล็กที่สุดในที่ที่แสงจ้ามาก และโตขึ้นในที่สลัวๆ (ดูรูปประกอบที่ 3)

ด้านหน้าและด้านหลังของแก้วตาจะมีของเหลวอยู่ช่วยในการคงรูปของแก้วตา ทางด้านหน้าแก้วตามีของเหลวเรียกว่า เอเควียส ฮิวเมอร์ (Aqveous humour) ส่วนด้านหลังมีชื่อว่า วิเตรียส ฮิวเมอร์ (Vitreous humour) ส่วนที่รับภาพของตา คือ จอภาพ หรือ เรตินา (Retina) ซึ่งจะมีเส้นประสาทแขนงเล็กๆ มากมายรวมเป็นแขนงใหญ่เป็นเส้นประสาทตา (Optic nerve) เมื่อแสงมาเข้าตาเราก็จะมาตามเส้นประสาทตา ซึ่งจะไขว้กันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า ออปติด ไคแอสมา (optie chiasma) ซึ่งอยู่ในสมอง

ฉะนั้นภาพที่เห็นจากตาขาวจะวิ่งไปที่สมองด้านซ้าย และภาพจากตาซ้ายจะวิ่งไปที่สมองด้านขวา ภาพทั้งหมดจะถูกอธิบายที่สมองส่วนที่เป็นศูนย์เกี่ยวกับการมองเห็น (Visual cortex) ทำให้เราเห็นภาพ 3 มิติ3 (ดูรูปประกอบที่ 4)

การเห็น สี แสง ความมืด ความสว่าง

ที่จอภาพหรือเรตินา จะมีเซลล์ 4 ที่ไวต่อแสงและเป็นตัวรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสี ซึงมี 2 ชนิด คือ หร็อด (Rod) กับโคน (Cone) เซลล์หร็อดรับรู้เกี่ยวกับความมืดและความสว่าง ส่วนเซลล์โคนจะเป็นตัวรับรู้เรื่องสี เซลล์โคนจะอยู่กันแน่นแถวตรงกลางจอภาพและอยู่แน่นหนาที่สุดที่จุดชื่อว่า โฟเวีย (Fovea) ซึ่งเป็นจุดที่รับภาพได้ชัดเจนที่สุด ส่วนเซลล์หร็อดจะกระจายอยู่ทั่วๆ ไป

ทั้งหร็อดและโคนขจะมีเม็ดสี ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามแสงที่เข้าตาเรา หรือมีเม็ดสีเรียกว่า โรดอบซิน (Rhodopsin หรือ visual purple) ส่วนโคนมีสีอยู่ 3 สี คือ แดง เขียวและน้ำเงิน เราจะใช้เซลล์โคนมากในที่สว่าง แต่ไม่ค่อยใช้มันในที่มืดทั้งหร็อดและโคนจะติดต่อเซลล์ประสาท ซึ่งจะไม่เชื่อมกับประสาทตา (Optis nurve) ณ จุดเชื่อมต่อนี้จะเกิดจุดบอด (Blind spot) ซึ่งจะมองไม่เห็นอะไร เพราะไม่มีเส้นประสาทอยู่

การเกิดตาบอดสี

คือ การที่ไม่สามารถบอกสีได้ถูกต้อง ในคนปกติจะรับรู้สีมาตรฐาน 3 สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน แค่ตนตาบอดสีที่จะรับรู้สีมาตรฐานเพียงสีเดียว ส่วนสีอื่นจะสับสน ชนิดที่พบได้บ่อย คือ ไม่รู้สีเขียว กับสีแดง มีพบน้อยลงไป คือ ไม่รู้สีเหลืองกับสีฟ้า (ดูรูปประกอบที่ 5) ส่วนพวกตาบอดสีแบบสนิทไปเลย เป็นพวกที่ได้ยาก พวกนี้จะไม่เห็นสีอะไร นอกจากดำกับขาว ตาบอดสีเกิดได้ในผู้ชาย 4% ขณะที่พบในผู้หญิงเพียง ๐.5%

สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง

สายตาคนปกติขึ้นกับการหักเหของแสง กำลังของลูกตาและขนาดลูกตา ในคนสายตาสั้น กำลังการหักเหในแก้วตามีมากและและระยะที่กระบอกตายาว จึงทำให้ภาพเกิดหน้าจอภาพ จึงต้องใส่เลนส์เว้า (ดูรูปประกอบที่ 6) ในคนสายตายาว เนื่องจากกำลังการหักเหของแสงในแก้วตาอ่อนลง และ/หรือมีกระบอกตาสั้น ทำให้ภาพเกิดขึ้นหลังจอภาพ จึงต้องใส่เลนส์นูน ช่วยรวมแสงให้ตกที่จอภาพพอดี ในพวกสายตาเอียง (Astigmatism) การหักเหของแสงไม่เท่ากันในทุกทิศทุกทาง เนื่องจากรูปร่างของกระบอกตาที่ผิดปกติไป ทำให้การมองเห็นภาพผิดปกติไป จึงต้องแก้ด้วยเลนส์สายตาเอียง

คอนแทคเลนส์

ประกอบด้วยชนิดที่เป็นพลาสติค พลาสติคนุ่ม กระจกหรือพลาสติคแผ่นบาง ซึ่งวางอยู่ที่ผิวของลูกตา ซึ่งจากลักษณะแข็งและนุ่มที่ต่างกัน คนจึงเรียกเป็นเลนส์นุ่ม (Soft lens) หรือเลนส์แข็ง (Hard lens) แล้วแต่สารที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ปิดประจก (Cornes) และชนิดที่ปิดสเคลอรา ซึ่งจะคลุมด้านหน้าของลูกตาทั้งหมด



 

ข้อมูลสื่อ

5-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 5
กันยายน 2522