• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สารพัดเทคนิครักษาฝ้ามีผลแทรกซ้อน

นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง เปิดเผยว่า นอกจากการใช้ยาทารักษาฝ้าแล้ว ยังมีวิธีทางกายภาพหลายวิธีที่ใช้รักษาโรคฝ้า คือ

การลอกหน้าด้วยสารเคมี เช่น กรดไทรคลอโรอะเซติก, กรดไกลคอลิก ช่วยลอกผิวหนังส่วนบนทำให้ฝ้าจางลงได้ แต่ต้องระวังการลอกหน้าคนผิวสีน้ำตาลเข้มและผิวดำ ผู้ที่เพิ่งผ่าตัดใบหน้า ผู้ที่เกิดแผลเป็นคีลอยด์ง่าย การลอกหน้าชนิดลึกด้วยฟีนอล ต้องระวังเพราะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจนถึงเสียชีวิตได้ ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดไม่ควรลอกหน้า เพราะยาคุมทำให้เป็นฝ้าอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้รอยคล้ำหลังลอกเข้มมากกว่าปกติ ต้องระวังการลอกหน้าผู้ที่เคยเป็นเริมที่ใบหน้าเพราะเริมอาจกำเริบลุกลามทั่วใบหน้า ในผู้ที่กินยากรดวิตามินเอ และผู้ที่ฉายรังสี มาก่อน

ข้อแทรกซ้อนจากการลอกด้วยสารเคมี ได้แก่ ผิวเปลี่ยนสี แผลเป็น การติดเชื้อแบคทีเรีย การกำเริบของเริม และผิวแดง

การกรอผิวด้วยผงขัด เพื่อเร่งการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้าให้ลอกหลุดเร็วขึ้น ได้ผลสำหรับฝ้าและกระที่อยู่ในชั้นตื้นๆ ข้อควรระวังของเทคนิคนี้คือ ห้ามทำกับผู้ที่เป็นเริม มะเร็งผิวหนัง และผิวหนังอักเสบ ข้อแทรกซ้อนคือ อาการตาแดง ผงขัดติดแก้วตา

การใช้ความเย็นจัดรักษาฝ้า
มีข้อควรระวังคือห้ามทำใกล้เปลือกตา และห้ามทำกับผู้ที่เป็นเริม มะเร็งผิวหนัง และผิวหนังอักเสบ ข้อแทรกซ้อนคือ อาการตาแดง ผงขัดติดแก้วตา

การใช้ความเย็นจัดรักษาฝ้า
มีข้อควรระวังคือห้ามทำใกล้เปลือกตา และห้ามทำผู้ที่เป็นโรคแพ้ความเย็น เช่น ลมพิษจากความเย็น

เทคนิครักษาฝ้าที่รู้จักกันดีอีกเทคนิคคือ การใช้เทคนิคประจุไฟฟ้า (Iontophoresis) คำว่า iontophoresis มาจากภาษากรีก แปลว่า การนำเอาประจุไฟฟ้าเข้าไป นำมาใช้ทางการแพทย์ เพื่อทำให้ยาซึมผ่านผิวหนังลงไปได้มากขึ้น ที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดได้แก่ การใช้รักษาโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ

เมื่อ พ.ศ.2536 มีงานวิจัยของคณะแพทย์ญี่ปุ่นว่าใช้ iontophoresis ของวิตามินซีมารักษาฝ้า และรอยดำจากการเกิดผื่นแพ้สัมผัส สามารถทำให้รอยดำเหล่านี้จางลงได้บ้าง แต่ก็มีบางรายงานว่าเทคนิคนี้ใช้รักษาฝ้าไม่ได้ผล ห้ามใช้เทคนิคไอออนโตนี้ในผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาตัวที่จะนำมาทำไอออนโต ผู้ที่มีบาดแผลที่ผิวหนัง หรือผิวหนังติดเชื้อบริเวณที่จะทำ และผู้ที่มีประวัติโรคลมชัก

การใช้เทคนิคฉายแสง
โดยทั่วไปยังไม่นิยมใช้ในการรักษาฝ้าเพราะมีราคาสูง ผลการรักษายังไม่แน่นอน กลับเป็นซ้ำเมื่อหยุดการรักษา การรักษาฝ้าด้วยการฉายแสงมีข้อแทรกซ้อนคือ อาการเจ็บปวด ผิวแดง บวม และรอยดำหลังการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคฝ้า เช่น ใช้ลูกกลิ้งหนามร่วมกับทาวิตามินซี และการฝังเข็ม

เทคนิคทางกายภาพในการรักษาฝ้าที่กล่าวนี้ เป็นเพียงเทคนิคเสริม มักมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่สามารถรักษาฝ้าให้หายขาดโดยไม่กลับเป็นซ้ำ เพราะปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เกิดฝ้าคือ แสงแดดและฮอร์โมน ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก นอกจากนั้นเทคนิคเหล่านี้อาจมีผลแทรกซ้อนได้ จึงควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม

ข้อมูลสื่อ

356-006-1
นิตยสารหมอชาวบ้าน 356
ธันวาคม 2551
กองบรรณาธิการ