• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ว่าด้วยยารักษาโรคเด็ก

ว่าด้วยยารักษาโรคเด็ก

ก่อนอื่นขอทำความเช้าใจคำว่า สำรอก ตาย ซาง และ หละ และคำอื่นๆ ที่โบราณาจารย์ท่านบัญญัติไว้ จึงจะเลือกใช้ยาได้ถูกต้อง คือ

คำว่า “สำรอก” คำนี้แสดงอาการที่เด็กขย้อนเอาน้ำนม หรืออาหารที่กินเข้าไปแล้ว กลับออกมาอีกเกิดจากกระเพาะอาหารของเด็ก ถ้ายิ่งเป็นเด็กอ่อน กระเพาะอาหารก็ยิ่งตึง และมีความยืดหยุ่นมาก ยังไม่เคยบรรจุอาหารได้มากกว่าผู้ใหญ่ ประกอบกับการเลี้ยงดูเด็ก เช่น การให้นม ให้อาหารเด็ก คนโดยมากให้ไม่มีปริมาณ ไม่เป็นกำหนดเวลา

เมื่อให้เด็กกินเข้าไปมากหรือบ่อย กระเพาะอาหารของเด็กยังไม่คราก พอที่จะรับอาหารได้มาก ก็บีบหรือหดรัดตัว ขย้อนเอาน้ำนมและอาหารที่กินเข้าไปมากนั้น ออกเป็นอาการสำรอก หรือแม้ให้กินแต่น้อยแต่พอดีเป็นเวลากำหนด เด็กก็อาจสำรอกได้ ด้วยความยืดหยุ่นของกระเพาะอาหาร ด้วยการสะเทือน การเรอ การดิ้น และการร้องของเด็กเป็นธรรมดา การให้นมและอาหารเด็กไม่เป็นกำหนดให้กินเร็วๆ บางทีทำให้เด็กสำรอก และสะอึกบ่อยๆ เคยตัว หรือบางทีเกิดการบูด การเสียขึ้นในท้อง ทำให้ท้องเสีย ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ก็สำรอกมากถึงขนาดอาเจียนหรืออ้วก กินอะไรเป็นอ้วก กลายเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ บางทีถึงกับอุจจาระร่วง กินไม่ได้ท้องก็เดิน เด็กก็ผอมลง เป็นซาง

เด็กที่ท้องเสียหรืออักเสบนั้น ย่อมลามถึงคอ ถึงลิ้น ถึงกระพุ้งแก้ม และริมฝีปากอาจเกิดเป็นเม็ด เป็นฝ้า เป็นแผล เป็นเปื่อย ก็เรียกกันว่า “เป็นซาง” บางทีก็เรียก “ตานซาง” เรียก “หละ” การให้เด็กกินอาหารสกปรก ติดเชื้อโรค บางทีเป็นบิด เป็นมูก เป็นเลือดหรือมูกเลือด บางทีเรียก ตานซาง เรียกท้องเดิน บางทีท้องอักเสบเป็นไข้เพราะพิษเชื้อโรค หรือพิษอาหาร หรืออุจจาระเสีย ก็เรียกว่า ซางหรือไข้ซาง

เด็กบางคนกินอาหารสกปรก ติดไข่ หรือตัวพยาธิไส้เดือนเข้าไป ไส้เดือนเกิดเป็นตัวขึ้นในท้อง เด็กกินอาหารเท่าใดไม่เจริญคล้ายๆ กับมีผี มีปอบ คอยขโมยกินอาหารในท้องเด็กอยู่ ก็เรียกว่า ตานขโมย ซางขโมย เด็กผอมลงตะกละ หรืออยากกินของแปลกๆ เพราะความหิวโหย และธาตุพิการ ประสาทพิการ ท้องป่อง หรือพุงโรก้นปอด แขนขาลีบ ไม่มีแรง ผิวพรรณหม่นหมอง จิตใจเศร้าซึม หน้าตาจ๋อย เสียงเบา เหล่านี้เป็นตานขโมย ซางขโมย

เด็กที่เจ็บไข้ด้วยเหตุเหล่านี้บางที หรือนานๆ ผิวหนังแห้งเป็นสะเก็ด นัยน์ตาเป็นเกล็ดกระดี่ ดูอะไรไม่เห็น ธาตุขาดอาหารหรือวิตามิน ก็ยังเรียกว่า เป็นซาง บางทีมีโรคอื่นเข้าซ้ำ เข้าแทรกเข้าเติม เป็นฝีในท้อง บางทีติดเชื้อหนองฝี เกิดเป็นตาซาง เป็นหวัด ก็ว่าเป็นซาง เป็นตานซาง บางทีติดเชื้อหนองฝีเกิดเป็นเม็ดเป็นฝีตามร่างกายตามหัว ก็ว่าเป็นฝีดาน ฝีซาง หรือต่อมน้ำเหลืองตามตัวร่างกายหรือที่คอบวม หรือทอนซินอักเสบ ก็ว่าเป็นซาง การสำรอก หรืออ้วกหรือแหวะของเด็กโบราณ กล่าวว่ามีหลายครั้ง คือ เมื่อชันคอ เมื่อรู้จักนั่ง เมื่อรู้จักคลาน เมื่อฟันเริ่มขึ้น เมื่อรู้ยืนเมื่อรู้ย่าง ก็เป็นเรื่องของการกิน ท้องเสีย หรือเมื่อเวลาไม่สบายเป็นไข้ หรือด้วยเหตุธรรมดาดังกล่าวแล้ว ถ้าเด็กกินดี ท้องดี ไม่เจ็บไข้ อาการสำรอกที่กำหนดไว้นั้นก็จะไม่มีครับ

เด็กท้องเสียเพราะกินนม กินกล้วย กินข้าว หรือกินอาหารอื่นๆ มากเกินไป หรือไม่เป็นเวลา เมื่อท้องเสียเกิดเป็นพิษ เป็นไข้ ท้องขึ้น แน่นจุก เสียด อ้วก บางคนมีอาการชัก เด็กที่จะเริ่มชัก นัยน์ตาช้อนดูสูงหรือตาตั้งแขนขาตัวแข็งเกร็ง ตีนงอ มือกำ กระตุก ชัก หอบ บางที

ข้อมูลสื่อ

1-013
นิตยสารหมอชาวบ้าน 1
พฤษภาคม 2522