• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การฟื้นฟูสมรรถภาพในเด็กที่เป็นโรคโปลิโอ

การฟื้นฟูสมรรถภาพในเด็กที่เป็นโรคโปลิโอ

ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการฉีดหือกินวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโปลิโอ แต่มีเด็กจำนวนมากยังป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนี้เนื่องจกไม่เคยได้รับวัคซีนเลย หรือเคยรับแต่ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ไม่มีอาการเป็นอัมพาตเลย คงมีอยู่ส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นอัมพาตจากโรคนี้ ในจำนวนเด็กที่เป็นอัมพาตมีอยู่ร้อยละ 30 ที่มีอาการตนมีไข้แต่เมื่อฟื้นจากไข้แล้ว อาการอัมพาตก็ไม่เหลืออยู่เลย ร้อยละ 30 หลังจากป่วยเป็นไข้แล้วยังคงเป็นอัมพาตอยู่เล็กน้อย ส่วนใหญ่ที่กล้ามเนื้อขาและสามารถเดินได้ อีกร้อยละ 30 เป็นอัมพาตมาก และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มักจะเป็นพิการตลอดชีวิต ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 มีอาการทางระบบหายใจ เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลม หรือกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงไม่ทำงานหรือเป็นที่สมองแทนที่จะเป็นที่ไขสันหลัง โอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตในวกหลังนี้มีมาก ถ้าให้การรักษาไม่ทัน

 

เด็กที่เป็นอัมพาตไม่มาก มักจะเดินได้และช่วยตนเองได้ แต่จะหกล้มบ่อยและเดินไม่ไกล เมื่ออายุมากขึ้นอาจมีอาการเจ็บปวดตามข้อต่างๆ จากการลงน้ำหนักที่ขาไม่เหมือนคนปกติเนื่องจากล้ามเนื้อบางส่วนไม่ทำงาน เด็กที่เป็นอัมพาตมากจนเดินไม่ได้เป็นภาระแก่ครอบครัวมาก เด็กเหล่านี้แม้จะได้รับการเอาใจทุกอย่างทั้งพ่อแม่และพี่ๆ น้องๆ แต่เนื่องจากช่วยตัวเองไม่ได้ กอร์ปกับต้องอยู่แต่ในบ้านขณะที่พี่ๆ น้องๆ มีโอกาสไปเรียนหนังสือ วิ่งเล่นและไปเที่ยว ทำให้เด็กเหล่านี้อารมณ์ร้ายและกลุ้มอกกลุ้มใจอยู่ตลอดเวลา

สมองของเด็กเหล่านี้มักจะฉลาด จึงรู้จักคิดรู้จักเปรียบเทียบตัวเองกับเด็กคนอื่น และเมื่อโตขึ้นก็เลี้ยงตนเองไม่ได้ เด็กพวกนี้มักจะมีอายุไม่ยาวนักและมีโรคอย่างอื่นเข้าแทรก เช่น โรคปอด อาการพิการจากการเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อหลังทำสะโพกและหัวเข้าขดงอเข้ามาจกการนั่งบนพื้นตลอดเวลา ข้อเท้าจะบิดเข้าหรือบิดออกและเท้าจะตกและกระดกไม่ได้เอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อน่อง และต้นขาลีบและตึงมาก นอกจากนี้หลังยังเบี้ยว เด็กต้องใช้การคลานทนการเดิน และมีอาการปวดหลังและข้อต่างๆ เนื่องจากความรู้สึกยังดีอยู่ เวลาเป็นแผลก็หายยากเพราะเลือดเลี้ยงบริเวณนั้นไม่สะดวก (รูปที่ 1)

 

กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตซึ่งมักจะพบในเด็กโปลิโอนั้นได้แก่ กล้ามเนื้อที่น่อง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กระดกเท้าขึ้น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเดินมากกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าของต้นขา ที่ทำหน้าที่เหยียดเข่าให้ตรงเวลายืนหรือเดิน กล้ามเนื้อที่ก้นที่ทำหน้าที่เหยียดข้อสะโพก และกล้ามเนื้อหลังสองข้างของกระดูกสันหลัง ยังมีกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมที่หัวไหล่ เพื่อยกแขนขึ้น กล้ามเนื้อด้านหลังต้นแขน สำหรับเหยียดข้อศอกและกล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นเนินของฝ่ามือ บริเวณส่วนล่างของหัวแม่มือ (รูปที่ 2) การเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อเป็นแบบที่เรียกว่า อ่อนปวกเปียก คือ ไม่มีความตึงในกล้ามเนื้อเลย

ทั้งนี้เกิดจากเชื้อไวรัสได้ทำลายเซลล์ประสาทที่ส่วนหน้าของเนื้อสีเทาในไขสันลัง เซลล์ประสาทที่ถูกทำลายไปจึงไม่สามารถสั่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่มันเคยควบคุมอยู่ กล้ามเนื้อจะลีบอย่างรวดเร็ว และถ้าขาข้างใดไม่ได้ลงน้ำหนักเลย ขาข้างนั้นจะเจริญช้ากว่าอีกข้างหนึ่ง ทำให้ขาสั้นลง (รูปที่ 3) แต่ถ้าขาที่เป็นอัมพาตได้ลงน้ำหนักเวลายืนหรือเดินในกรณีที่ใส่รองเท้าที่มีโลหะช่วยกระชับไว้ ขาก็จะไม่สั้นเลย
 

การรักษาเด็กที่เป็นโปลิโอ

ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการ คือ

ประการแรก เราต้องมุ่งการรักษาผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ แทนที่จะมุ่งรักษาแต่แขนหรือขาที่เป็นอัมพาต สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องให้ผู้ป่วยเดินได้และช่วยตัวเองได้ สามารถมีความเป็นอยู่ในสังคมเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ควรวางแผนการรักษาในระยะยาว อย่าเอาแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าต้องการส่งไปผ่าตัดต้องแน่ใจว่าหลังการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยเดินได้

ประการที่ 2 การรักษาหรือวิธีการรักษานั้น ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสำคัญและยอมทำตามหรือไม่ ถ้าไม่ เนื่องจากอะไร ต้องมีการสำรวจที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยเคยมีการซื้อเก้าอี้เข็นให้ผู้ป่วยแต่ใช้ไม่ได้เพราะพื้นห้องเป็นไม้ไม่เรียบเสมอกันและเป็นบ้านกลางทุ่งนา มีการทำรองเท้าหนังเสริมส้นให้กับผู้ป่วย แต่ไม่มีโอกาสใช้เลยเนื่องจากในนามีแต่โคลนเลนหรืออยู่ริมแม่น้ำลำคลอง การให้ท่าบริหารที่มากไปทำให้เด็กจำไม่ได้ และอาจทำผิด เกิดผลเสียขึ้นได้

ประการที่ 3 การป้องกันการเกิดความพิการย่อมจำเป็นกว่าพยายามหาวิธีแก้ การเริ่มจัดท่าให้ถูกต้อง แนะนำวิธีนั่ง และทำการนวดหรือช่วยทำให้ข้อต่อต่างๆ มีการเคลื่อนไหวตามปกติ ย่อมหลีกเลี่ยงความพิการได้และทำให้การรักษาสั้นลง ไม่ต้องเสียงินเสียทอง

เราจะต้องทำการรักษาตั้งแต่ผู้ป่วยยังเป็นไข้อยู่

ในระยะนี้มักจะมีการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ มีอาการหลังแข็ง กล้ามเนื้อเต้นและอ่อนปวกเปียก หายใจลำบาก ปวดหัวและกระสับกระส่าย (รูปที่ 4)

ในระยะนี้ การจัดท่านอนที่สบายนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่ทรมานแล้วยังช่วยป้องกันความพิการต่างๆ เช่น การหงิกงอของข้อทำให้เดินไม่ได้ (รูปที่ 5 ก) ท่านอนที่ถูกต้อง คือ นอนหงาย นอนหมอนต่ำๆ และนิ่ม ถ้าไม่มีหมอนอาจใช้ผ้าพับหลายๆ ชั้นใส่ใต้คอสูง ไม่เกิน 2 นิ้ว มีหมอนต่ำๆ ใส่ใต้เข่า ใต้หลังส่วนล่าง และข้อมือ ที่สำคัญคือ ต้องเอาแผ่นกระดาษวางชิดฝ่าเท้าเพื่อให้เท้าตั้งฉากกับขา ควรนอนบนที่นอนที่แน่นและเรียบหรือบนพื้นไม้ โดยมีเสื่อหรือผ้าห่มปูอยู่ (รูปที่ 5 ข)

ถ้ามีไข้ควรเช็ดตัวด้วยนุ่นเล็กน้อย ถ้าไม่มีไข้แล้ว เอาผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตามกล้ามเนื้อ จะช่วยลดความเจ็บปวดได้ ไม่ควรทำการบีบนวด แต่อาจลูบเบาๆ ได้ ช่วยการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ โดยผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงเอง เช่น ข้อเท้า (รูปที่ 6) ข้อเข้า (รูปที่ 7) และข้อสะโพก (รูปที่ 8) อาจให้นอนคว่ำเพื่อให้หลังแอ่นและตรง (รูปที่ 9) เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อตึง ข้อติด และช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น อย่าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นในระยะนี้

 

 

 

ในรายที่หายใจลำบาก ควรสอนวิธหายใจด้วยห้อง ให้ท้องโป่งออกเมื่อหายใจเข้าและแฟบลงเมื่อหายใจออก ฝึกหายใจเป่าออกด้วยปากและหายใจเข้าทางจมูก ในรายที่มีเสมหะให้นอนคว่ำ เอาหัวต่ำลง แล้วตบที่หลัง เสมหะจะไหลออกได้ง่าย (รูปที่ 10)

ระยะต่อมา เมื่อไม่มีไข้และการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 3 อาทิตย์ ทำการทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อต่างๆ เพื่อดูว่ากล้ามเนื้อไหนเสียมาก ทำให้เราวางแผนการบริหารและพิจารณาการใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยให้เดินได้ กล้ามเนื้อแบ่งกำลังได้ 6 ขั้นตามสากลนิยม (รูปที่ 11)

 

กำลัง 0 ภาวะที่กล้ามเนื้อไม่มีการหดตัวเลยถึงแม้ผู้ป่วยจะพยายามเต็มที่

กำลัง 1 เห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีแรงพอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว

กำลัง 2 เคลื่อนไหวได้ถ้าเราช่วยยกน้ำหนักเขาไว้ หรือเอาเชือกแขวนส่วนนั้นไว้

กำลัง 3 สามารถยกส่วนนั้นขึ้นในแนวดิ่ง คือ ด้านแรงดึงดูดของโลกได้

กำลัง 4 ยกส่วนนั้นโดยสู้กับแรงหรือน้ำหนักที่เราให้ แต่ไม่มากนัก

กำลัง 5 ยกส่วนนั้นโดยสู้กับแรงกดลงได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือว่าปกติ

เราเริ่มบริหารส่วนต่างๆ ทั้งร่างกายได้เมื่อรู้กำลังของกล้ามเนื้อแล้ว กล้ามเนื้อที่มี กำลัง 0 อาจต้องใช้ไฟฟ้ากระตุ้น กำลัง 1 ให้พยายามเกร็งกล้ามเนื้อจนเริ่มเกิดการเคลื่อนไหว กำลัง 2 ใช้เชือกแขวนส่วนนั้นไว้แล้วแกว่งไปมาอาจหาทุ่นลอย เช่น ลูกมะพร้าวหรือโฟมผูกกับขาแล้วแกว่งไปมาในน้ำ กำลัง 3 และ 4 ให้เดินได้เลย โดยช่วยพยุงหรือใช้ไม้ยันรักแร้ (รูปที่ 12) การวัดความยาวของไม้ให้ผู้ป่วยยืนตัวตรงวัดต่ำกว่ารักแร้ 1 นิ้ว ลงมาที่พื้น ให้ปลายไม้ห่างจากปลายเท้าประมาณ 4 นิ้ว (รูปที่ 13)
การหัดเดินให้เดินระหว่างไม้ก่อน (รูปที่ 14)

 

ถ้าผู้ป่วยเป็นอัมพาตของขาอย่างถาวร ต้องเอาแท่นโลหะเบาๆ แต่มีความแข็งพอสมควร เช่น อะลูมิเนียม หรือไผ่ทาบไว้สองข้างของขา เอาผ้าหรือสายหนังทำเป็นเข็มรัดแท่นโลหะหรือไม้ไผ่กับขาเพื่อให้ตรงและเดินได้ (รูปที่ 13) ในกรณีที่เป็นมานานจนขาสั้นไปข้างหนึ่ง ต้องเสริมรองเท้าข้างที่ส้นให้สูงขึ้น อาจใช้รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้ายาง และทำสายรัดข้อเท้าไม่ควรใส่รองเท้าแตะ เพราะทำให้เท้าตกมากขึ้น อาจใช้รองเท้าเกี๊ยะแต่ทำสายรัดข้อเท้าไว้ ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหงิกงอของขามานานแล้ว อาจต้องส่งให้แพทย์ทำการผ่าตัดเนื่องจากดัดไม่ออก การว่ายน้ำนั้นเป็นวิธีออกกำลังกายและช่วยเหยียดขาได้ดี เด็กโปลิโอทุกคนจึงควรว่ายน้ำทุกวัน

การรักษาเด็กโปลิโอต้องใจเย็น และใช้ความพยายามมาก ความสม่ำเสมอในการฝึกผู้ป่วยและความร่วมมือของผู้ป่วยมีความสำคัญมาก บางครั้งเราจำเป็นที่จะอดกลั้นไม่ช่วยผู้ป่วยมากเกินไป เพื่อให้เขาช่วยตัวองมากที่สุด พ่อแม่ทั้งหลายที่มีบุตรเป็นโปลิโอก็ไม่ต้องกลัวคนอื่นจะรู้ และกักเด็กไว้แต่ในบ้าน ควรจะให้เด็กออกมสู่สังคมภายนอก และสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

ข้อมูลสื่อ

2-006
นิตยสารหมอชาวบ้าน 2
มิถุนายน 2522
อื่น ๆ
รศ.ประโยชน์ บุญสินสุข