• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

พันงูเขียว

พันงูเขียว


                               
 

⇒ ชื่ออื่น
เจ๊กจับกบ (ตราด) ; เดือยงู ; พระอินทร์โปรย (ชุมพร); สารพัดพิษ; สี่บาท (ภาคกลาง);หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ); หญ้าหางงู (ภาคใต้); เง็กเล้งเปียง (แต้จิ๋ว); ยี่หลงเปียน(จีนกลาง);Brazilian tea; Bastard Vervain ;Jamaica False Vervain; Aaron’s Rod


⇒ ชื่อวิทยาศาสตร์
Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl (S.indica Vahl) วงศ์ Verbenaceae (Verbena jamaicensis L.)


⇒ ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุกคล้ายพวกหญ้า ลำต้นตรง สูงประมาณ 50 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง
ใบเดี่ยวเป็นรูปไข่ยาว 4-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ออกตรงกันข้าม ปลายแหลม ฐานรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ช่อดอกยาวเกิดตรงยอด ดอกไม่มีก้าน เกิดห่าง ๆ กัน ดอกสีม่วงน้ำเงินรูปท่อกลมงอเล็กน้อยมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 2 อัน รังไข่ 2 ห้อง ผลแห้งแตกได้ มีกลีบเลี้ยงหุ้ม มีดอกในฤดูร้อนขึ้นตามเนินเขา ทุ่งนา ริมถนน


⇒ ส่วนที่ใช้
ทั้งต้น เปลือกต้น ใบ


⇒ สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้ในโรคนิ่ว ลดไข้ แก้โรคปวดข้อ คออักเสบ ตาแดง แผลอักเสบ แผลเปื่อย โรคกระเพาะ ขับพยาธิ แก้อาเจียน
เปลือกต้น  :  แก้ท้องเสีย บิด
ใบ : ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย แก้ฝีหนอง


⇒ ตำรับยาและวิธีใช้
1.คออักเสบ ใบสดตำให้ละเอียดผสมน้ำตาล (ชนิดใดก็ได้) อม (กินได้ด้วย)
2.แผลอักเสบ แผลเปื่อย ฝี หนอง ใช้ต้นสดตำพอกบริเวณที่เป็น


⇒หมายเหตุ

ในบราซิลให้ “ใบ” แทนใบชาและส่งขายยุโรปในชื่อ “Brazilian tea”

ข้อมูลสื่อ

43-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 43
พฤศจิกายน 2525
อื่น ๆ
ผศ.สุนทรี วิทยานารถไพศาล