• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เด็กสิบเดือนถึงสิบเอ็ดเดือน

 

                              
 

 

 

การเลี้ยงดู


217.ให้ขนมอะไรดี
ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของขนมคือ แป้งและน้ำตาลซึ่งเหมือนกับข้าวและขนมปัง ดังนั้นขนมจึงไม่ใช่ของจำเป็นทางโภชนาการ เราให้ขนมเด็กเพราะเป็นของอร่อยที่เด็กชอบ เด็กจะดีใจเมื่อได้ขนม เป็นการเพิ่มสีสันให้กับชีวิตประจำวันของเด็กเท่านั้น จึงไม่ควรเพิ่มสีจนเลอะโดยให้ขนมเด็กจนเปรอะไปทั้งวัน เราจะให้ขนมเพื่อผลทางจิตใจหรือให้ประโยชน์ทางโภชนาการด้วยนั้น ก็แล้วแต่สภาพของเด็กแต่
ละคน สำหรับเด็กที่อ้วนเกินไปจนต้องควบคุมปริมาณอาหารแป้งทั้งข้าวและขนมปัง ถ้าเราให้ขนม
พวกขนมปังกรอบ ขนมเค้ก หรือคุ๊กกี้ ก็จะขัดกับนโยบายควบคุมแป้งและน้ำตาล ควรเปลี่ยนไปให้ผลไม้แทนขนม ยกเว้นกล้วยซึ่งมีปริมาณแป้งและน้ำตาลสูง

ตรงกันข้าม สำหรับเด็กที่ไม่ชอบกินข้าวหรืออาหารแป้ง น้ำหนักก็เพิ่มน้อยจนคุณแม่ไม่สบายใจ คุณแม่ควรให้ขนมเป็นของว่างระหว่างมื้ออาหาร บางคนอาจกลัวว่าถ้าได้ขนมแล้วเด็กจะยิ่งไม่กินข้าว แต่เด็กแบบนี้ถึงจะไม่ให้ขนมเลยก็จะไม่ค่อยกินข้าวอยู่ดี ซึ่งเรื่องนี้คุณแม่ผู้เลี้ยงจะรู้ดีที่สุด จึงพยายามให้ขนมเพื่อลูกจะได้กินมากขึ้นอย่างไรก็ดี ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าอะไรต่ออะไรจะพอดีไปเสียทุกอย่าง เด็กที่ไม่ชอบกินข้าว มักจะไม่ชอบขนมประเภทแป้งพวกขนมปังกรอบหรือขนมเค้กเสียด้วย เด็กพวกนี้มักจะเป็นเด็กประเภท “เจ้าหนูลูกพ่อคอเหล้า” ชอบของแกล้มเหล้าของพ่อ พวกปลาหมึกแห้ง ข้าวเกรียบกุ้ง มากกว่าขนมหวานสำหรับเด็ก ขนมสำหรับเด็กแบบนี้จึงมักเป็นพวกของเค็มตรงกันข้าม เด็กที่กินข้าวเก่งจนค่อนข้างจะอ้วนเกินไป มักจะชอบขนมหวาน ๆ ให้เท่าไรกินได้หมด แบบนี้ควรให้ผลไม้แทน วันไหนที่อยากให้เด็กดีใจที่ได้กินขนมก็ต้องลดปริมาณข้าวที่ให้ลงเสียหน่อย

คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะให้ขนมเด็กระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเที่ยงและตอนบ่าย วันละ 2 ครั้ง หรือบางคนก็ให้ตอนบ่ายครั้งเดียว ขนมที่ให้เด็กควรเป็นขนมที่ทำใหม่ ๆ ปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีมีพิษทั้งหลาย ไม่ควรซื้อขนมแบกะดิน ขนมใส่สี ขนมเก่าเก็บให้เด็กกิน ขนมแห้งสำเร็จรูปพวกคุ๊กกี้ ขนมปัง ขนมกรอบ คุณแม่ควรอ่านฉลากบนถุงหรือข้างกล่องอย่างละเอียดว่าขนมนั้น ๆ มีส่วนผสมอะไรบ้าง ถ้ามีสารกันบูด ผงชูรส (โซเดียมกลูตาเมต) หรือใส่สี ควรหลีกเลี่ยง(สีผสมอาหารถึงจะดีกว่าสีย้อมผ้า แต่ถ้าไม่ใส่สีธรรมชาติก็ไม่เหมาะสำหรับเด็ก) ขนมที่ข้างถุงหรือกล่องไม่ระบุบริษัทผู้ผลิต และไม่มีรายละเอียดของส่วนผสมบอกไว้ แสดงว่าผู้ผลิตขาดความรับผิดชอบ ไม่ควรซื้อให้เด็กกิน

ตามสภาพความเป็นจริงของบ้านเราในปัจจุบัน ถ้าคุณแม่เข้มงวดกับการเลือกซื้อขนมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น จะปรากฏว่าคุณเกือบหาซื้อขนมสำเร็จรูปให้ลูกกินไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเวลาทำขนมให้ลูกกิน คุณแม่ก็เห็นจะต้องปลงอนิจจัง คิดเสียว่าเป็นเวรกรรมของเด็กไทยทั้งประเทศเหมือนกันก็แล้วกัน
เด็กวัย 10 เดือนนี้ ยังไม่ควรให้กินลูกกวาด ลูกอมหรือถั่วเม็ดเล็ก ๆ เพราะยังมีอันตรายจากการติดคอและหลุดเข้าไปในหลอดลม


 

 

 

 

218.ฝึกขับถ่าย
เด็กวัยนี้ยังบอกอึหรือฉี่ไม่ได้ คุณแม่ต้องกะเวลาเอาเองถ้าไม่อยากให้ทำเลอะเทอะ ซึ่งบางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็ไม่ได้ผล ขึ้นอยู่กับว่าอากาศร้อนหรือหนาว และเด็กฉี่บ่อยหรือไม่ ถ้าลูกของคุณเป็นเด็กซน คุณแม่ก็คงจะเหนื่อยกับการ “จับปูนั่งกระโถน” วันละหลายหนทีเดียวเด็กที่ฉี่เปียกกลางคืนแล้วร้องคุณแม่ก็ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ สำหรับเด็กที่นอนสบายไม่สนใจว่าที่นอนเปียกหรือไม่ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้ถ้าทิ้งไว้แล้วก้นไม่แดง เด็กบางคนถ้าคุณแม่จับให้นั่งฉี่เสียครั้งหนึ่งก่อนที่คุณแม่จะนอน เด็กจะนอนหลับสบายถึงเช้าโดยไม่ทำเปียก
 

 

 

 

 

219.สิ่งที่ควรห้ามต้องห้าม
เมื่อเด็กคลานไปไหนๆ และใช้มือได้ตามใจนึกก็ชักจะ “ซน” เพราะมีความอยากรู้อยากเห็น เวลาเด็กซนอะไรน่ารัก ผู้ใหญ่มักจะหัวเราะชอบใจ แต่บางครั้งความซนของเด็กก็ทำให้ผู้ใหญ่เดือดร้อนโดยที่เจ้าตัวไม่ประสีประสา
ปัญหาอยู่ที่ว่า เราควรจะดุเด็กหรือไม่ตอนที่เด็กทำอะไรที่ผู้ใหญ่ไม่พอใจ เป็นต้นว่า เด็กเกิดทำถ้วย
น้ำชาที่ตั้งอยู่บนโต๊ะอาหารหกระหว่างกินอาหาร เรื่องอย่างนี้เด็กไม่ได้ตั้งใจทำ คุณแม่ต่างหากไม่ดี
เองที่เอาถ้วยน้ำชาไปวางไว้ตรงที่เด็กทำหกได้

แต่ว่า ถ้าหากเด็กปาขนมปังที่ถืออยู่ในมือลงใต้โต๊ะ เรื่องนี้คุณแม่ควรทำให้เด็กรู้ว่าทำอย่างนี้แม่ไม่ดีไม่ชอบครั้งแรกที่ลูกทำ คุณควรดุด้วยสีหน้าและคำพูดว่า “ทำงี้ไม่ได้นะลูก” และอีกสักพักหนึ่ง ถ้าเด็กตั้งท่าจะทำอีกคุณแม่ต้องร้องเตือนก่อนว่า “ไม่ได้นะ” เมื่อลูกเข้าใจที่คุณแม่ห้ามและเลิกปาขนมปัง คุณแม่ต้องชมว่า “ดีมาก” สำหรับเด็กเล็ก ๆ อะไรดีอะไรไม่ดี เด็กจะดูเอาจากสีหน้าคุณแม่ว่ายิ้มหรือดุ
ไม่ควรคิดว่าเด็กวัย 10 เดือนยังไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ถึงเด็กจะทำผิดก็ไม่ควรดุ คุณแม่บางคนไม่ว่าลูกจะทำอะไรผิดแค่ไหนก็ไม่ดุเลย เพราะคิดว่าถึงดุไปเด็กก็ไม่รู้เรื่อง ที่เด็กไม่รู้เรื่องก็เพราะผู้ใหญ่ไม่ดุเวลาที่ควรดุนั่นเอง คุณแม่ควรทำให้ลูกรู้ว่าทำอย่างไหนคุณแม่ชอบ ทำอย่างไหนคุณแม่ไม่ชอบ เด็กจะไวต่อความรู้สึกของแม่ ถึงแม้ว่าเด็กจะยังไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี แต่เด็กอายุ 9 เดือนขึ้นไปพอจะรู้ว่าแม่กำลังชอบใจหรือแม่กำลังโกรธ ถ้าคุณแม่ทำให้เด็กคิดว่า ไม่ว่าจะทำอะไรคุณแม่ก็ไม่โกรธ พอถึงเวลาที่คุณแม่ดุเอาจริง ๆ เด็กจะนึกว่าคุณแม่กำลังแสดงละครเท่านั้นจึงไม่เชื่อ

เวลากินอาหาร เด็กมักแกล้งทำช้อนตกเพื่อให้คุณแม่เก็บให้ พอเก็บให้ก็แกล้งทำตกอีก ในขณะเดียวกันก็มองแม่เหมือนจะสำรวจดูว่า “คุณแม่จะโกรธไหมเอ่ย” กล่าวคือเด็กกำลังทดสอบคุณแม่โดยที่ในใจคิดว่า “คุณแม่ต้องไม่โกรธแน่ ๆ แต่จะแสดงท่าโกรธแบบไหนนะ” คุณแม่ต้องไม่ยอมให้ลูกทดสอบ ครั้งแรกที่ทำช้อนตกต้องทำหน้าดุ ๆ และเมื่อเก็บช้อนได้ต้องไม่ส่งช้อนให้เด็กอีก การทำหน้าดุเพื่อห้ามลูกนั้นต้องนาน ๆครั้งจึงจะได้ผล ถ้าคุณแม่ดุบ่อย ๆ ละก็ เด็กจะคิดว่า คุณแม่ก็เป็นอย่างนี้เองแหละ เด็กบางคนชอบทำในสิ่งที่ห้ามอยู่เรื่อย คุณแม่ต้องเลือกดุในสิ่งที่เป็นอันตรายเท่านั้น และต้องใช้วิธีเก็บบ้านให้เรียบร้อยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ซนในเรื่องต้องห้ามมากนักคุณแม่ใช้ “หน้าดุ” ห้ามเด็กในเรื่องที่ควรห้ามได้ แต่ไม่ควรทุบตีหรือทำให้เด็กเจ็บตัว (แม่บางคนใช้วิธีหยิก) เพราะการทำให้เด็กเจ็บตัว จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแม่ลูกและทำลายความรู้สึกร่วมระหว่างแม่กับลูก ความรู้สึกร่วมที่ลูกมีต่อแม่เมื่อแม่ดีใจนั่นแหละที่ทำให้ลูกดีใจเมื่อทำดี

 
 

 

 

 

220.เลี้ยงลูกให้แข็งแรง
เด็กวัยนี้มักชอบเกาะเดินและพยายามเดินด้วยตนเอง เด็กจะล้มก้นกระแทกบ่อยๆ ควรจัดห้องให้เด็กหัดเดินได้อย่างปลอดภัยและมีที่กว้างพอ ถ้าเก้าอี้หัดเดินลื่นเกินไป ก็ใช้กล่องกระดาษแข็งใส่ของหนักพอสมควรให้เด็กเข็นเดินไปก็ได้ ถึงแม้ว่าเด็กจะยังเดินเองไม่ได้ แต่ถ้าคุณแม่สวมรองเท้าให้และจูงมือพาเดินเที่ยวนอกบ้านเด็กจะชอบใจมาก
เด็กวัยนี้ใช้มือจับชิงช้านั่งได้เองแล้ว พอแกว่งให้เบา ๆ เด็กจะหัวเราะชอบใจ ไม้ลื่นเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อย
ชันนักเด็กก็ชอบ หรือโยนลูกบอลใหญ่ ๆ บนสนามหญ้าให้เด็ก เก็บมาให้ก็เป็นการออกกำลังกายที่ดี
การให้ลูกนั่งรถเข็นพาเดินเที่ยวรอบ ๆ เพื่อตากอากาศสดชื่นเป็นการดีแน่ เพราะช่วยให้ผิวหนังและผนังหลอดลมแข็งแรง แต่เด็กวัยนี้เป็นวัยที่อยากเดินด้วยตนเอง คุณแม่ควรสนับสนุนให้เดินดีกว่าการเลี้ยงลูกให้แข็งแรงไม่ได้หมายถึงการให้อาหารที่ครบถ้วน ถูกส่วนแต่อย่างเดียว การฝึกให้ลูกได้ออกกำลังมีความสำคัญมาก อาหาร การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย และความรักเอาใจใส่เป็นสิ่งที่เด็กทุกคนขาดไม่ได้
 

ข้อมูลสื่อ

61-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 61
พฤษภาคม 2527