• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เด็กสี่เดือนถึงห้าเดือน (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

 

                               
 

 

 

สภาพผิดปกติ

 

 

129. น้ำหนักไม่เพิ่ม
มีเด็กจำนวนมากที่แม่พามาหากุมารแพทย์ เพราะน้ำหนักไม่เพิ่ม จนคุณแม่เกรงว่าเป็นโรคอะไรหรือเปล่า แต่ส่วนใหญ่จะพบว่าเด็กเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคอะไรเลย

ที่พบมาก ก็คือ เด็กที่มีนิสัยกินน้อย โดยเฉพาะเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ คุณแม่ไม่ทราบว่าแต่ละมื้อลูกกินนมไปเท่าไร เห็นแต่เพียงว่าลูกน้ำหนักน้อย จึงกลัวว่าลูกจะป่วยเป็นโรคอะไรสักอย่าง

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และลูกน้ำหนักน้อย มักจะกังวลกับเรื่องนี้ เพราะถูกกระตุ้นจากภายนอกมากกว่าเป็นเพราะตัวเด็กเอง เช่น วันหนึ่งพาลูกเดินเล่น บังเอิญมีเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันมาชุมนุมกัน 3-4 คน เด็กคนอื่นๆ ล้วนแต่อ้วนจนคอตัน มีลูกของคุณแม่เอวบางร่างน้อยอยู่คนเดียวแถมแม่คนอื่นยังพูดอีกด้วยว่า “ลูกของคุณเป็นอะไรไปหรือเปล่าคะ ผอมเชียว” ทำเอาคุณแม่วิตกจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ต้องพาลูกไปให้หมอตรวจ 

จริงอยู่ ที่เด็กบางคนน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักเฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน แต่ว่าน้ำหนักเฉลี่ยคืออะไร น้ำหนักเฉลี่ยของเด็กไทย คือ การเอาน้ำหนักของเด็กปกติทั้งอ้วนทั้งผอม รวมทั้งเด็กที่อ้วนเกินไปด้วยมารวมกันแล้วเฉลี่ยหาตัวกลางเป็นมาตรฐานการที่ลูกของคุณน้ำหนักน้อยกว่าน้ำหนักเฉลี่ยไม่ได้แสดงว่าลูกของคุณไม่แข็งแรง

ตารางน้ำหนักและส่วนสูงโดยเฉลี่ยของเด็กไทยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
จาก คุยกับหมอเรื่องลูก โดยแพทย์หญิงฉวีวัณณ์ จุณณานนท์
 

                 เด็กชาย                                                             เด็กหญิง

   ส่วนสูง

(เซนติเมตร)

 

       50

       55.9

       58.0

       61.1

       63.0

       65.0

       66.0

       67.64

       69.0

       70.5

       71.0

       72.0

       74.5

       75.0

       78.0

       79.0

       83.0

       88.75

       94.00

       97.95

      100.70

      102.60

      105.55

      108.65

      110.50

  น้ำหนัก

(กิโลกรัม)

 

      3.17

      4.4

      5.1

      6.03

      6.31

      7.00

      7.23

      7.73

      8.05

      8.30

      8.43

      8.50

      9.00

      9.20

      9.8

    10.10

    11.62

    11.66

    13.30

    14.40

    15.05

    15.30

    15.55

    16.00

    16.35

  อายุ

(เดือน)

 

 แรกเกิด

     1

     2

     3

     4

     5

     6

     7

     8

     9

    10

    11

    12

    14

    15

    18

    24

    30

    36

    42

    48

    54

    60

    66

    72

 น้ำหนัก 

(กิโลกรัม)

 

      3.11

    4.09

    4.08

    5.55

    6.24

    6.39

    7.12

    7.40

    7.52

    7.56

    7.60

    7.64

    8.00

    8.33

    9.10

    9.55

    10.32

    11.71

    12.50

    13.30

    14.50

    14.60

    15.25

    16.00

    16.90

  ส่วนสูง

(เซนติเมตร)

 

    50

    54.35

    58.00

    59.00

    61.90

    63.00

    65.50

    66.70

    67.00

    69.00

    69.00

    70.55

    71.00

    73.00

    75.00

    78.00

    82.50

    87.00

    91.60

    95.30

    99.70

    101.80

    103.00

    106.15

    108.40

 จากการศึกษาของรองศาสตราจารย์แพทยืหญิงเพ็ญศรี กาญจนนัษฐิติ และคณะ พ.ศ.2510-2515 คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

น้ำหนักของเด็กทารก คือ มาตรการบอกว่าเด็กกินจุ หรือ กินน้อยเท่านั้นเอง เด็กที่กินจุตัวก็หนัก เด็กที่กินไม่เก่งตัวก็เบาไม่ใช่ว่าเด็กแข็งแรงจึงกินจุ เด็กไม่แข็งแรจึงกินน้อย ถ้าเด็กเป็นไข้แล้วรู้สึกเบื่ออาหารไม่ค่อยยอมกิน นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเด็กร่าเริงดีอยู่เสมอ แต่ไม่ค่อยกินนม แสดงว่า เป็นเด็กกินไม่จุ ผู้ใหญ่เองยังมีคนกินจุ กินไม่จุ ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร แล้วทำไมเด็กกินไม่จุจะกลายเป็นเรื่องผิดปกติไปได้เล่า ?

เด็กกินน้อย ถ้าคุณแม่ไม่กังวลเรื่องน้ำหนักน้อยแล้วจะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายจริงๆ ไม่ค่อยร้องกวน กลางคืนไม่ตื่น นอนรวดเดียวถึงเช้าเลย

นิสัยกินจุไม่กินจุ มีส่วนสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์อยู่เหมือนกัน คุณแม่ของเด็กกินน้อย มักจะผอมบางและเรียบร้อย คุณแม่ของเด็กกินจุ ส่วนใหญ่มักอ้วน จนต้องหัดกายบริหารเพื่อลดความอ้วน

หมอไม่ค่อยพบเด็กที่ผอมเพราะนมแม่ไม่พอ เด็กที่กินจุ ถ้านมแม่ไม่พอ จะร้องบอกให้รู้ว่าหิว ถ้าชงนมกระป๋องให้จะดูดเอาๆ ส่วนเด็กกินน้อย จะอิ่ม เลิกดูดนมกลาคัน ทั้งๆ ที่น้ำนมแม่ยังเต็มเต้าอยู่ คุณแม่คิดว่านมไม่พอ ชงนมกระป๋องให้ ก็ไม่ยอมดูดอีก คุณแม่สงสัยว่าอาจไม่ชอบนมวัว อุตสาห์ต้มข้าวให้ ก็เอาลิ้นดุนออกมาหมด คุณแม่เห็นลูกน้ำหนักน้อย ก็พยายามทุกวิถีทางที่จะให้กินมากขึ้น แต่เด็กมักไม่ยอมกินอะไรเลย นอกจากนมแม่ คุณแม่จึงรู้สึกเดือดร้อนนัก แต่ในกรณีเช่นนี้ คุณไม่ต้องตกใจ พาลูกไปหาหมอตรวจหัวใจว่า ไม่มีอะไรผิดปกติและตรวจเลือดว่าไม่ได้เป็นโลหิตจาง ถ้าไม่ได้เป็นอะไร แสดงว่าเป็นเด็กกินน้อยคุณแม่คววยอมรับนิสัยกินน้อยของลูกและเลี้ยงได้ตามความต้องการของลูกถ้าอายุ 4 เดือนแล้ว ยังไม่ยอมกินอาหารเสริมก็ไม่เป็นไร เมื่อถึงเวลาที่เด็กอยากกินเด็กจะกินเอง

เด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัวบางคนน้ำหนักน้อย ไม่ถึงน้ำหนักเฉลี่ย ถ้าไม่ได้เป็นโรคท้องเดินบ่อยๆ แสดงว่าเด็กมีนิสัยกินน้อย ทั้งๆที่อายุ 4 เดือนแล้ว เด็กบางคนอาจกินนมเพียงมื้อละ 120 ซี.ซี. ถ้าเด็กอารมณ์ดี พัฒนาการด้านต่างๆ เป็นไปตามปกติ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง คุณแม่ควรสนใจพาลูกเที่ยวนอกบ้านมากกว่านั่งประดิษฐ์ประดอยปรุงอาหาร เพื่อให้ลูกกินมากขึ้น





 

 

130. ท้องผูก
สำหรับเด็กที่ท้องผูกมาตั้งแต่อายุ 1 เดือน ต้องสวนทวารทุก 2 วัน เมื่อคุณแม่หัดให้กินด้วยช้อนได้เก่งแล้ว ควรให้เด็กกินนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต มีของฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค และของฟอร์โมสต์) วันแรกเริ่มจาก 2 ช้อน ถ้าไม่ได้ผลให้เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกวัน ถ้าให้กินจนหมดถ้วยเล็ก(ของฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์ค ประมาณหนึ่งถ้วยฟอร์โมสต์) แล้วยังไม่ได้ผลแต่เด็กชอบ เพิ่มปริมาณให้อีกได้ ถ้ากินหมด 2 ถ้วยยังไม่ได้ผล (ถ้วยใหญ่ 1 ถ้วย) ลองให้ผลไม้บด เช่น มะละกอ กล้วย ฯลฯ ลองให้ดูหลายๆอย่างเพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนกินกล้วยแล้วถ่ายดีขึ้น แต่บางคนกลับอึแข็งก็มี สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาทำผลไม้บด คือ ความสะอาด ถ้าเลือกผลไม้ที่ใช้ช้อนครูดหรือบดเอาในถ้วยได้ยิ่งดี ผลไม้ที่บดยาก เช่น สับปะรด แอ๊ปเปิ้ล ฯลฯ อาจใช้เครื่องปั่น ปั่นเอาก็ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าทำความสะอาดเครื่องปั่นได้หมดจดเสียก่อน ปริมาณผลไม้ควรให้เท่าไรนั้นแล้วแต่เด็ก ต้องลองให้ดูโดยเริ่มให้ตั้งแต่น้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณจนเด็กถ่ายได้ดีก็ให้ปริมาณนั้นต่อไป

คุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้ผลไม้อย่างเดียว ถ้าเด็กใช้ช้อนเป็นแล้วให้กินของอื่นก็ได้ เช่น ฟักทอง มันฝรั่ง มันเทศ แบ่งจากของที่ทำให้ผู้ใหญ่ (ก่อนที่จะปรุง) แล้วใช้ช้อนบดป้อนให้ลูก
แต่ในกรณีที่เด็กไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่อารมณ์ดี 2-3 วัน จึงจะถ่ายเสียทีหนึ่ง เวลาถ่ายก็ออกมาธรรมดา อึไม่แข็งจนเด็กร้องโอดโอย ถ้าเป็นเช่นนี้ ปล่อยไว้ได้ไม่ต้องพยายามช่วยให้ถ่ายทุกวัน เด็กบางคนพอเริ่มให้อาหารเสริม แล้วจึงจะถ่ายทุกวันก็มี
สำหรับเด็กที่ให้ผลไม้ก็แล้ว ให้กินผักก็แล้ว ยังท้องผูก ร้องทรมานทุกครั้งที่อึ คุณแม่สวนทวารให้ต่อไปได้ (ดู 77 ท้องผูก)

เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ซึ่งเดือนก่อนๆ เคยอึทุกวัน พอถึงเดือนนี้กลับไม่ถ่ายทุกวัน อาจเป็นเพราะนมแม่ไม่พอก็ได้ ลองชั่งน้ำหนักเด็กดู ถ้าเพิ่มไม่ถึงวันละ 10 กรัม ต้องให้นมวัวเพิ่ม (ดู 103 เลี้ยงด้วยนมแม่) หรือเร่งให้อาหารเสริมเร็วหน่อย ในกรณีที่ไม่ชอบนมวัว (ดู 105 อาหารเสริม)

เด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว ถ้าท้องผูกในเดือนนี้และเด็กกินนมแต่ละมื้อได้น้อยลง คุณแม่ต้องหาสาเหตุที่เด็กกินนมได้น้อยลงถ้าเป็นระยะที่อากาศร้อนขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน แสดงว่าอากาศร้อนทำให้เด็กเบื่ออาหาร ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเด็กอึไม่แข็งจนร้องไห้ทุกครั้งที่ถ่าย ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติได้
มีเสมหะ ดูหัวข้อ 111 มีเสมหะ
 

 


 



131. ร้องจ้าอย่างกะทันหัน
เมื่อเด็กทารกอยู่ดีๆ ร้องไห้จ้าขึ้นมาอย่างกะทันหัน ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะปวดท้อง ในบรรดาโรคปวดท้องของเด็กมีโรคร้ายแรง คือ โรคลำไส้กลืนกัน ซึ่งทำให้เกิดอาการลำไส้อุดตัน โรคนี้เกิดขึ้นในทารกอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปถ้าเด็กเป็นโรคนี้แล้วปล่อยไว้เด็กจะตาย ถ้ารักษาเร็วก็อาจไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จะต้องผ่าตัด ชะตากรรมของเด็กที่เป็นโรคนี้ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของแม่จริงๆ ถ้าคุณแม่รู้เร็ว เด็กจะรอดและอาจไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าคุณแม่ไม่รู้จักโรคนี้ ลูกอาจถึงแก่ชีวิตได้ดังนั้น สำหรับคุณแม่ทุกคน คุณอาจจะลืมเรื่องอะไรๆ เสียก็ได้ แต่อย่าลืมเรื่องโรคลำไส้กลืนกันเป็นอันขาด

หน้าที่ของลำไส้คือ ทำการย่อยอาหารในขณะที่อาหารผ่านลำไส้ ถ้าลำไส้อุดตัน การจราจรก็ติดขัดอาหารผ่านไม่ได้ลำไส้จะเคลื่อนตัวอย่างรุนแรงเพื่อให้อาหารผ่าน ทำให้เด็กรู้สึกปวดท้องมาก เมื่อทางไม่หายตัน ลำไส้ก็ต้องเคลื่อนตัวรุนแรงหลายครั้ง

เมื่อเหนื่อยก็พักเป็นช่วงๆ อาการปวดท้องของเด็กจึงมีลักษณะเป็นช่วงๆปวดท้องสัก 2-3 นาทีถึง 4-5 นาที แล้วพัก 5-6 นาทีจึงเริ่มปวดใหม่ เป็นลูกคลื่นซ้ำๆ กันอย่างนี้หลายครั้งเมื่อยู่ดีๆ เด็กร้องจ้าขึ้นมา คุณแม่จะตกใจ พยายามปลอบโยน พาออกไปข้างนอกบ้านบ้างให้กินนมบ้างแต่เด็กมักจะขัดขืนร้องดิ้นอยู่อย่างนั้นสัก 3-4 นาทีแล้วจะเงียบ ให้ถือของเล่น จะจับเล่น ให้กินนมก็กิน เงียบอยู่สัก 4-5 นาที คุณแม่นึกว่าไม่เป็นไรจะนั่งพัก กลับร้องจ้าขึ้นมาอีก เด็กจะงอขาเข้าหาท้องทำให้รู้ว่าปวดท้อง ถ้าเด็กร้องปวดท้องเป็นระลอกอย่างนี้ ส่วนใหญ่เป็นโรคลำไส้กลืนกัน เพราะโรคเด็กอย่างอื่นที่มีอาการอย่างนี้ไม่มี

เมื่อเด็กร้องรุนแรงเป็นระลอกได้สัก 2-3 ครั้ง จะอาเจียนนมที่กินเข้าไปเมื่อกี้ออกมาเพราะลำไส้อุดตัน นมไหลไปไม่ได้จึงกลับออกมา เด็กบางคนอาจอาเจียนออกมาก่อนแล้วจึงร้องงอหาย แต่เด็กจะร้องเป็นระลอกๆ ในช่วงปวดท้องเหมือนกัน ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของโรคลำไส้กลืนกัน คือ ไม่มีไข้ โดยเฉพาะในระยะแรก แต่ถ้าปล่อยไว้จนเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จะมีไข้
เด็กบางคนปวดท้องมากจนหน้าเขียว แต่ไม่เป็นทุกคนไป ถ้าคุณสงสัยว่าลูกเป็นโรคลำไส้กลืนกัน ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลที่มีแผนกผ่าตัด พอถึงโรงพยาบาลต้องรีบบอกทันทีว่า สงสัยจะเป็นโรคลำไส้กลืนกัน

อย่างไรก็ดี คุณแม่อย่ากลัวโรคนี้จนถึงกับประสาทผวา พอลูกร้องตอนกลางคืน ก็รีบวิ่งพาไปหาหมอทุกครั้งไป ถ้าเด็กร้องจนอาเจียนออกมาแล้วนอนหลับไป ไม่ได้ร้องเป็นช่วงๆ ก็ไม่ใช่โรคลำไส้กลืนกัน ในกรณีที่เด็กร้องพร้อมกับมีไข้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคหูอักเสบ ถ้าเด็กร้องแล้วสวนทวารให้ ปรากฎว่ามีลมออกมามาก เสร็จแล้วดูเด็กท่าทางสบายดี อาจเป็นเพราะมีแก๊สอยู่ชั่วขณะหนึ่ง
เกี่ยวกับโรคลำไส้กลืนกันนี้ จะกล่าวถึงอย่างละเอียดในหัวข้อ 132 โรคลำไส้กลืนกัน


(อ่านต่อฉบับหน้า)

 

 

ข้อมูลสื่อ

30-005
นิตยสารหมอชาวบ้าน 30
ตุลาคม 2524