การพักผ่อน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 235 พฤศจิกายน 2541
    ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ นับเป็นการกลับมาครบรอบของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันส่งผลกระทบให้เกิดการส่งเสริมและฟื้นฟูการปลูกพืชผักสวนครัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังในสมัย จอมพลป.พิบูลสงคราม เมื่อกว่า ๕๐ ปีมาแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำโครงการ "ผักสวนครัว รั้วกินได้" ซึ่งมีคำขวัญว่า "ปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ประหยัดรายจ่าย ปลอดภัยสารพิษ" ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 234 ตุลาคม 2541
    “จ้ำจี้มะเขือพวง เมียน้อยเมียหลวงมาสอยดอกแค…”ข้อความที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นตอนต้นของเพลงร้องประกอบการเล่นของเด็กไทยภาคกลางในอดีต เรียกว่าเล่น “จ้ำจี้” ซึ่งมีเพลงประกอบหลายเพลง แต่ที่นิยมร้องมากก็คือ จ้ำจี้มะเขือพวง และจ้ำจี้มะเขือเปราะ เป็นต้น น่าสังเกตว่า เนื้อหาของเพลงที่เด็กนำมาขับร้องนั้น มักมาจากสิ่งที่พบเห็นและคุ้นเคยในสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม การทำมาหากิน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 233 กันยายน 2541
    ในบรรดาผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่มีมากมายนั้น ผู้เขียนรู้สึกผูกพันมากเป็นพิเศษเพียงไม่กี่ชนิด ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป เมื่อนำผักที่รู้สึกผูกพันเป็นพิเศษเหล่านั้นมาพิจารณาดูก็พบว่า เป็นผักที่มิได้มีคุณสมบัติดีเด่น หรือเป็นที่นิยมกันทั่วไปแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะเข้ามาเกี่ยวข้องกับช่วงหนึ่งของชีวิตผู้-เขียนและทำให้เกิดความประทับใจในคุณสมบัติบางประการที่ไม่มีในผักชนิดอื่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 232 สิงหาคม 2541
    ผมได้ไปเจาะเลือด ตรวจแล้วพบว่าเป็น “มะเร็งเม็ดเลือดขาว” จึงอยากทราบว่าโรคนี้เกิดจากอะไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร ผู้ถาม กานต์/กรุงเทพฯ ผู้ตอบ น.พ.วันชัย วนะชิวนาวินถาม ผมอายุ ๒๘ ปี น้ำหนัก ๕๔ กิโลกรัม สูง ๑๖๖ เซนติเมตร อาชีพรับเหมารับจ้างทั่วไป เมื่อก่อนทำงานต้องเร่งงานเป็นประจำ ทำให้มีเวลากินเวลานอนไม่ค่อยเหมือนคนอื่นเขา บางครั้งยังต้องสังสรรค์ตามประสาผู้ชายบ่อยๆ เคยสูบบุหรี่ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 232 สิงหาคม 2541
    "ไก่เอ๋ยไก่ เลี้ยงลูกจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบๆ แม่ก็เรียกมาคุ้ยดิน ทำมาหากิน ตามประสาไก่เอย" บทดอกสร้อยที่ท่องจำมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาบทนี้จำไม่ได้แล้วว่าเป็นบทประพันธ์ของท่านใด แต่เป็นสิ่งประทับใจจากวัยเด็กอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านก็คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ความประทับใจคงเกิดจากการที่ท่านผู้แต่งนำการเลี้ยงลูกของไก่มาเปรียบเทียบกับการเลี้ยงลูกของคน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 231 กรกฎาคม 2541
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra linn.ชื่ออื่น ผักปลังใหญ่ (ภาคกลาง) ผักปั๋ง (ภาคเหนือ) เหลาะคุ้ย (จีนแต้จิ๋ว) ลั่วขุย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 230 มิถุนายน 2541
    ในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าที่ผ่านมาหลายตอนได้นำเสนอพืชตระกูลถั่วที่เป็นอาหารสำคัญของคนไทยและชาวโลก เช่นถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฯลฯ เนื่องจากพืชตระกูลถั่วนับเป็นพืชที่มีมากเป็นอันดับสองรองจากพืชตระกูลหญ้า (เช่น ข้าว ข้าวโพด) นอกจากจะมากด้วยจำนวน (ชนิด) แล้ว พืชตระกูลถั่วยังมีคุณค่าต่อมนุษยชาติอีกชนิดหนึ่งในระดับโลก ซึ่งความสำคัญของถั่วชนิดนี้ในปัจจุบันจะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 229 พฤษภาคม 2541
    จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยเครียดมากขึ้นเพราะปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า คือ คนภาคใต้เครียดร้อยละ ๘๘.๘๙ ภาคกลางร้อยละ ๘๒.๖๔ ภาคเหนือร้อยละ ๘๒.๓๕ ภาคอีสานร้อยละ ๙๔.๔๔เห็นตัวเลขแล้วชักเครียดแล้วสิ ทำไมคนไทยเครียดมากมายปานนี้เชียวหรือ บางคนรู้ตัวหรือเปล่าว่าตนเองเป็นโรคเครียด เอ! แล้วเราเป็นโรคเครียดด้วยหรือเปล่านะ ยิ่งคิดยิ่งรู้สึกเครียดแฮะ โอ้ย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 229 พฤษภาคม 2541
    เมื่อกล่าวถึงความเผ็ดร้อน ชาวไทยส่วนใหญ่จะพากันคิดถึงพริก เพราะชาวไทยเป็นนักบริโภคพริกชั้นแนวหน้าของโลก จนมีคำกล่าวกันว่า อาหารไทยจะขาดพริกเสียมิได้ ดังปรากฏเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศยุคแรกๆพากันนำเอาพริกติดตัวไปด้วยเสมอ เพราะหาซื้อพริกในต่างประเทศไม่ได้เหมือนในสมัยนี้แต่สำหรับชาวโลกส่วนใหญ่แล้ว เมื่อกล่าวถึงรสเผ็ดร้อนก็จะพากันนึกถึงพืชอีกชนิดหนึ่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 228 เมษายน 2541
    สวนครัวภาคปฏิบัติกิจกรรมที่มีแต่กำไรคอลัมน์ “ต้นไม้ใบหญ้า” ได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสวนครัวติดต่อกันมา ๒ ฉบับแล้ว ตอนนี้เป็นครั้งที่ ๓ และคงเป็นตอนสุดท้ายในช่วงนี้ เพื่อกลับไปนำเสนอผักพื้นบ้านชนิดต่างๆ ต่อไป เหตุที่ต้องนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสวนครัวอีกตอนหนึ่งก็เพราะเห็นว่าทั้ง ๒ ตอนที่ผ่านมาเป็นเรื่องราวในทางทฤษฎีที่คงนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ...