คุยสุขภาพ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 188 ธันวาคม 2537
    อำนาจที่4 เครื่องมือสู้เอดส์เนื่องในวันเอดส์โลก 1 ธันวาคม หมอชาวบ้านนำเรื่องโรคเอดส์เป็นเรื่องขึ้นปก ขณะนี้คนไทยติดเชื้อโรคเอดส์ไปแล้วประมาณ 6-8 แสนคน ถ้าอยากดูนรกบนดินให้ไปดูที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา เพราะเต็มไปด้วยผู้ป่วยโรคเอดส์ และความทุกข์ทรมานของผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ อีก 6ปีจากนี้ไปคือในปี ค.ศ.2000 จะมีคนไทยติดเชื้อเอดส์ประมาณ4 ล้านคน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 188 ธันวาคม 2537
    ความดันต่ำไม่ใช่โรค“คุณหมอคะ ดิฉันมีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดบ่อยๆ ไม่ทราบว่าใช่เป็นโรคความดันต่ำหรือเปล่าคะ” หญิงสาววัย ๓o เศษเอ่ยขึ้น“ส่วนมากจะมีอาการตอนไหน หรือขณะทำอะไรครับ” หมอซัก“มักจะเป็นอยู่วูบเดียวตอนลุกขึ้นนั่งหรือลุกขึ้นยืน พอตั้งหลักได้สักครู่ก็หาย แล้วก็ทำอะไรได้ปกติทุกอย่าง”หลังจากซักถามอาการต่างๆ ตรวจร่างกาย พร้อมทั้งวัดความดันเลือดเสร็จ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 188 ธันวาคม 2537
    เจ็บหัวใจ (ตอนที่ 4)ตัวอย่างคนไข้รายที่ 3ชายไทยรูปร่างท้วม อายุ 40 กว่าปี หิ้วถุงเอกซเรย์และกระเป๋าเอกสารเข้ามาพบหมอชาย : “สวัสดีครับคุณหมอ ผมไม่ค่อยสบาย แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไรแน่ รักษามาหลายแห่งแล้ว อาการไม่ดีขึ้น จึงมาหาหมอ”หมอ : “สวัสดีครับ คุณเอาใบส่งตัวจากหมอคนเดิมมาด้วยหรือเปล่า”ชาย : “เปล่าครับ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 187 พฤศจิกายน 2537
    ตัณหาหรือปัญญาทางสื่อหมอชาวบ้านฉบับนี้ได้นำเรื่องผลกระทบของสื่อที่มีต่อสังคมมาตีพิมพ์ ในสมัยโบราณมีสื่อความรู้น้อย มนุษย์ได้ข้อมูลข่าวสารจากพ่อแม่ จากครู จากเพื่อนบ้าน ใครฟังมากเขาเรียกว่าเป็นพหูสูต คือคนฉลาด การฟังถือว่าเป็นทางที่มาแห่งปัญญาทางหนึ่ง ที่เรียกว่าสุตมะยะปัญญาในสมัยปัจจุบันที่เรียกว่าสมัยแห่งข่าวสาร มีวิทยุเป็นร้อยๆสถานี ยังมีสถานีโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์อีกมากมาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 187 พฤศจิกายน 2537
    20 ถาม – ตอบ เรื่อง...กาฬโรค1. ทำไมจึงชื่อกาฬโรค บางคนเรียกไข้ดำ หรือมฤตยูทมิฬ บ้างว่ามฤตยูดำชื่อกาฬโรค เป็นศัพท์ที่เมืองไทยใช้เฉพาะมานาน มาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่าพล๊าก(plague) จากรายงานการบันทึก โรคนี้เริ่มระบาดครั้งแรกในคริสศตวรรษที่6 (ประมาณ พ.ศ. 1085) ที่ประเทศอียิปต์ ทวีปแอฟริกา หรือกาฬทวีป (แห่งลุ่มน้ำไนล์) จะได้ชื่อโรคตามทวีปหรือไม่ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 187 พฤศจิกายน 2537
    เจ็บหัวใจ (ตอนที่ 3)ฉบับที่แล้วผมค้างไว้เรื่องตัวอย่างรายการตรวจสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พร้อมทั้งราคาโดยประมาณ เผื่อบางทีคนที่ชอบเป็นโรคหัวใจเห็นรายการตรวจแล้วอาจจะเลิกอยากเป็นโรคหัวใจก็ได้4. การถ่ายภาพรังสีของกล้ามเนื้อหัวใจหลังให้สารกัมมันตภาพรังสี (radionuclide cardiac imaging) : เช่น การฉีด thallium – 201 แล้วถ่ายภาพรังสีหัวใจเป็นระยะๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 186 ตุลาคม 2537
    สมุนไพร – ยารักษาสังคมสังคมไทยเหมือนสังคมเครื่องหลุด ที่ส่วนต่างๆไม่เชื่อมโยงกัน หลุดแยกจากกันไปเป็นส่วนๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จิตใจ ครอบครัว การเมือง ศาสนา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม กระจายหลุดจากกันไปเป็นส่วนๆปัญหาต่างๆเกิดขึ้นจากการหลุดจากกันเป็นส่วนๆ แม้จะทำงานหนักอย่างไร ถ้ายังทำแบบเป็นส่วนๆ ไม่เชื่อมโยงกันแล้วไซร้ จะไม่มีวันแก้ปัญหาได้ เปรียบประดุจการสร้างบ้าน ต้องนำดิน ปูน ทราย ไม้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 186 ตุลาคม 2537
    เจ็บหัวใจ (ตอนที่ 2)ตัวอย่างผู้ป่วยรายที่ 2หญิงไทยอายุ 45 ปี หน้าตามีแววกังวลและไม่สบาย เดินอย่างระโหยโรยแรงเข้ามาพบหมอหญิง : “อิชั้นมาขอตรวจโรคหัวใจค่ะ”หมอ : “ทำไมคุณรู้ว่าคุณเป็นโรคหัวใจครับ”หญิง : “อิชั้นไปตรวจมาหลายแห่งแล้วค่ะ ครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง หมอบอกว่าเป็นโรคหัวใจค่ะ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย ”หมอ : ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 185 กันยายน 2537
    พันธุกรรม - พฤติกรรม หมอชาวบ้านฉบับนี้ได้นำเรื่องดาวน์ซินโดรมมาขึ้นปก สภาวะเช่นนี้เกิดจากพันธุกรรมสภาวะหรือโรคที่เกิดจากพันธุกรรมมีหลายชนิดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมต่อต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ก็มีการประชุมพันธุศาสตร์การแพทย์แห่งเอเชียแปซิฟิกกันในกรุงเทพฯนี้เอง โรคที่เกิดจากพันธุกรรมมีมากหลาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 185 กันยายน 2537
    เจ็บหัวใจ(ตอนที่ 1)ปัจจุบันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary atherosclerosis) ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหัวใจ(angina pectoris) และกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) ได้มีการพบบ่อยขึ้นและมากขึ้นในเมืองไทยการพบบ่อยหรือพบมากขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีโรคนี้(อุบัติการของโรคนี้)เพิ่มขึ้น เนื่องจากคนไทยเราดำรงชีวิตแบบคนฝรั่งมากขึ้น เช่น กินอาหารไขมันเพิ่มขึ้น อ้วนขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง ...