คุยสุขภาพ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 183 กรกฎาคม 2537
    การตอบปัญหาสุขภาพ (ตอนที่ 1)ช่วงนี้มีปัญหาสุขภาพเข้ามามาก ปัญหาสุขภาพที่ถามมาทางจดหมายเป็นปัญหาที่ตอบยากแล้วอาจจะผิด ทำให้เป็นอันตรายได้เพราะประวัติหรือข้อมูลที่ให้มาทางจดหมายนั้น เป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยคิดหรือเข้าใจเอาเอง ไม่มีการซักถามหรือสอบถามโดยคนตอบปัญหา เพื่อให้เข้าใจตรงกันกับผู้ป่วยหรือเพื่อให้ข้อมูลชัดเจนขึ้น นอกจากนั้น ยังไม่มีการตรวจร่างกายและการตรวจอื่นๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 183 กรกฎาคม 2537
    การครอบฟัน (ตอนที่ 1)หลายท่านคงรู้จักครอบฟัน (crown) หรือเคยทำครอบฟันมาแล้ว ในการทำครอบฟันนั้นมีวัสดุหลายชนิดที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความประสงค์ที่แตกต่างกันไป อาจจะเป็นการลำบากที่จะจดจำได้ทั้งหมดสำหรับคนไข้อย่างเราๆท่านๆ บางครั้งบางท่านอาจปล่อยให้เป็นไปตามวิจารณญาณของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาโดยฝ่ายเดียว พูดง่ายๆว่า ตัดปัญหายุ่งยากที่จะต้องขบคิดเอง หรือบางท่านอาจเกรงใจหมอ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 182 มิถุนายน 2537
    อิสรภาพกับสุขภาพผมอยากนำเรื่องอิสรภาพกับสุขภาพมาคุยกับท่านผู้อ่าน เมื่อเร็วๆนี้ได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งจากอยุธยา เธอเล่าว่าเมื่อก่อนเธอเจ็บป่วยอยู่หลายโรค ต่อมาเมื่อไปร่วมทำงานเพื่อชุมชน โรคต่างๆหายไปหมด มีความสุขและสุขภาพดีมาก ที่เป็นดังนั้นก็เพราะการทำงานเพื่อชุมชนนั้นทำให้เป็นอิสระจากความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวคือความบีบคั้น เมื่อเห็นแก่ตัวจัดก็จะเครียด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 182 มิถุนายน 2537
    น้ำส้มสายชูน้ำส้มสายชู เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่คู่โลกและเป็นที่นิยมบริโภคกันมาแต่โบราณกาล ฝรั่งเรียกน้ำส้มสายชูว่า Vinegar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “Vinaigre” อันมีความหมายว่าเหล้าไวน์ที่มีรสเปรี้ยวนั่นเองน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสสำหรับอาหารในบ้านเราหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวขาหมู น้ำจิ้มหลายชนิด ฯลฯ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 182 มิถุนายน 2537
    ไขมันในเลือดสูงมีผู้ป่วยบางคนวิ่งมาหาหมอด้วยความตกใจซึ่งที่จริงไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะไม่ได้เจ็บป่วยอะไร เพียงแต่อ้วนกว่าปกติไปสักหน่อย และก็กังวลเรื่องไปวัดไขมันในเลือด และพบว่าสูง 240240 หมายถึง240 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 ซีซี หรือ 100 มิลลิลิตร หรืออาจเรียกว่า 240 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (240 มก.%) ซึ่งถ้าใช้หน่วยใหม่ที่สากลโลกเขาเปลี่ยนมาใช้กัน ก็จะประมาณ 6.2 มิลลิโมลต่อเลือด 1 ลิตร หรือ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 181 พฤษภาคม 2537
    คนในเมืองแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมวิกฤติง่ายนิดเดียว ด้วยการกินอาหารปลอดสารเคมีประเวศ วะสีภาวะแวดล้อมวิกฤติที่สำคัญคือการทำลายป่าไม้ ประเทศไทยมีเนื้อที่ 321 ล้านไร่ เมื่อ 35 ปีก่อนเรามีเนื้อที่เป็นป่ากว่า 220 ล้านไร่ หรือกว่าร้อยละ 69 ของเนื้อที่การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีความสมดุลตามธรรมชาติ ควรมีเนื้อที่เป็นป่าร้อยละ 50 หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 40ภายใน 30 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 181 พฤษภาคม 2537
    ยีน-โครโมโซม-ดีเอ็นเอ(การพิสูจน์ความเป็นพ่อ-แม่-ลูก ตอนที่ 2)ตอนที่แล้วได้พูดจากันถึงความหมายของคำ 3 คำนี้สรุปโดยย่อ ก็คือ พันธุกรรมเปรียบเหมือนรหัสข้อมูลที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลาน ข้อมูลเหล่านี้แฝงอยู่ในโครโมโซม (chromosome) หรือแถบพันธุกรรม โครโมโซมแต่ละแถบจะประกอบด้วยยีน (gene) หรือลักษณะพันธุกรรมมากมาย และยีนแต่ละลักษณะประกอบด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 180 เมษายน 2537
    สถาบันครอบครัว-สถาบันชุมชนทั้งๆ ที่เป็นเมืองพุทธแต่เรามีปัญหาต่างๆ มากมายซึ่งอาจสรุปเรียกว่าเป็นวิกฤติการณ์ทางศีลธรรม และดูเหมือนว่าการเทศน์และการสอนวิชาจริยธรรมต่างๆ จะไม่ให้ความหวังเอาเสียเลยว่าจะแก้ไขวิกฤติการณ์ทางศีลธรรมได้สิ่งปลูกสร้างหรือสถาปัตยกรรมมีส่วนที่เป็นโครงสร้างกับส่วนตกแต่งฉันใด ระบบศีลธรรมในสังคมก็มีส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนตกแต่ง เช่นเดียวกัน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 180 เมษายน 2537
    ยีน-โครโมโซม-ดีเอ็นเอ (ตอนที่ 1)ตอนก่อนๆ ได้พูดถึงเรื่องของโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์หรือพันธุกรรม ครั้งที่แล้วคอลัมน์นี้ได้หายหน้าหายตาไป เนื่องเพราะได้ยกเนื้อที่ให้กับ “เรียนรู้จากข่าว” เรื่อง “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ” ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรมเช่นเดียวกัน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 179 มีนาคม 2537
    การเผชิญกับวิกฤติการณ์น้ำการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหามากขึ้นๆ จนวิ่งเข้าสู่จุดวิกฤติแล้ว แม่น้ำลำธารสายต่างๆ เหือดแห้ง น้ำในเขื่อนต่างๆ มีระดับต่ำจนมีเกาะเกิดในเขื่อน ป่าไม้เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำลำธาร เพราะเราทำลายป่าไม้ของเราลงไปมาก จึงเท่ากับทำลาแหล่ต้นน้ำลำธาร ที่มีการทำลายธรรมชาติมากก็เพราะวิถีชีวิตที่มีการบริโภคมาก ที่เรียกว่า บริโภคนิยมหรือวัตถุนิยม ...