คุยสุขภาพ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 179 มีนาคม 2537
    แสงเลเซอร์กับงานทันตกรรมเพื่อให้ไปกันได้กับยุคโลกานุวัตร (Globalization) จึงจะขอนำเรื่องการใช้แสงเลเซอร์ในงานทันตกรรมมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีตัวนี้คงจะเข้ามาทีบทบาทในวงการทันตแพทย์มากพอๆ กับที่กำลังแสดงบทบาทในวงการแพทย์อันได้แก่ การผ่าตัดน้อยใหญ่ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ สำหรับโอกาสนี้จะขอนำเสนอในลักษณะนำร่องให้พอเห็นภาพกว้างๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 178 กุมภาพันธ์ 2537
    วิกฤติการณ์จราจรเวลานี้การจราจรในกรุงเทพฯ ได้ถึงวิกฤตที่ก่อความทุกข์และความเสียดายให้กับทุกฝ่าย ที่จริงเรามีวิกฤติการณ์พร้อมๆ กันหลายอย่าง เช่น วิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม วิกฤติการณ์ทางสังคม วิกฤติการณ์ทางศีลธรรม แต่วิกฤติการณ์จราจรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนกรุงเทพพฯ มากที่สุดวิกฤติการณ์เหล่านี้แก้ไขได้ยาก เพราะต้นเหตุเกิดจากทรรศนะที่ผิด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 178 กุมภาพันธ์ 2537
    หินปูน, เหงือกร่นผู้ถาม : นงลักษณ์ / กรุงเทพฯผู้ตอบ : พ.ญ. สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญาอยากทราบว่า การขูดหินปูนเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์หรือไม่หินปูนที่เกาะฟันมีสาเหตุเกิดจากอะไรหินปูนเป็นสารประกอบแคลเซียมที่ตกตะกอนเป็นผลึก จากการที่แคลเซียมในน้ำลานรวมตัวกับสารบางอย่างจากคราบจุลินทรีย์ (บางทีเรียกว่า “พลัก” [plaque] หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า “ขี้ฟัน” นั่นเอง)ควรขูดหินปูนออกหรือไม่ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 178 กุมภาพันธ์ 2537
    น้ำท่วมปอดผู้ถาม นิลาวรรณ/กาญจนบุรีผู้ตอบ น.พ. พรชัย วัชระวณิชกุล, นพ. สว่าง แสงหิรัญวัฒนาสาเหตุของโรคน้ำท่วมปอดคืออะไร มีวิธีป้องกันและรักษาตัวอย่างไรอยากทราบว่าสาเหตุของโรคน้ำท่วมปอดเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันและรักษาตัวอย่างไร เพราะเพื่อนบ้านผู้ชายอายุ65 ปี กำลังป่วยเป็นโรคนี้ นอนอยู่ที่โรงพยาบาลและหมอเจาะน้ำที่ปอดออก กรุณาให้รายละเอียดด้วยน้ำท่วมปอด คือ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 177 มกราคม 2537
    เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2537 ขอส่งความสุขมายังผู้อ่าน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหมอชาวบ้านทุกท่าน ขอให้ประสบความสุขสวัสดีและแคล้วคลาดจากภัยภยันตรายทั้งปวง ขอให้ความดีของท่านเป็นปัจจัยให้ท่านถึงพร้อมซึ่งความเป็นมงคลทั้งปวงความดี คือ คิดดี พูดดี และทำดีคิดดี คือ การมีความรักในธรรมชาติ และเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล ไม่คิดเบียดเบียน ธรรมชาติแวดล้อม หรือผู้ใดผู้หนึ่งพูดดี คือ พูดความจริงอันประกอบด้วยประโยชน์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 177 มกราคม 2537
    หมอยาพื้นบ้านสมัยรุ่นคุณตายังหนุ่ม คุณย่ายังสาว การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าปัจจุบันนี้ หากย้อนไปมองในยุคนั้นก็จะพบว่า แต่ละชุมชนมักจะมีผู้ที่มีความรู้เรื่องวิธีรักษาโรค รู้เรื่องยาดีที่สุด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “หมอยา“ ประจำอยู่ เมื่อเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะได้หมอยานี่แหละที่บรรเทาเบาบางอาหารเจ็บไข้ให้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 177 มกราคม 2537
    ฟาสต์ฟู้ดกับผลกระทบต่อโลก“ใดๆ ในโลกล้วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน“ คุณเชื่อมั้ยคะว่าทุกอย่างโยงใยไปถึงกันหมดแม้กระทั่งการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ชีวิตที่เร่งรีบ รุนแรง และปัญหาที่รุมเร้า ดูเหมือนจะทำให้คนเรามีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวให้ตัวเองเสมอ เช่น เมื่อกล่าวถึงฟาสต์ฟู้ดหรือแฮมเบอร์เกอร์ ทุกคนจะสำนึกว่านั้นเป็นวัฒนธรรมตะวันตก ราคาแพง คุณค่าสารอาหารน้อยแต่แล้วก็ยังเสพอย่างโหยหา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 176 ธันวาคม 2536
    การป้องกันโรคปวดหัวหมอชาวบ้านครั้งนี้มีเรื่องปวดหัวขึ้นปก ที่จริงปวดหัวไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการคือมีสาเหตุหรือโรคต่างๆ กันที่นำมาสู่อาการปวดหัวปวดหัวคงจะเป็นอาการที่มนุษย์รู้สึกบ่อยที่สุดในบรรดาอาการทั้งหลายเพราะหัวอยู่ใกล้สมองอันเป็นที่รับรู้ ที่จริงอาการอื่นๆ มันก็คงจะมีมากเหมือนกัน เช่น ปวดแข้ง ปวดขา ปวดนิ้วเท้า แต่เนื่องจากมันอยู่ไกลที่รับรู้ จึงไม่ค่อยคำนึงถึง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 176 ธันวาคม 2536
    ภัยเงียบคุณชัชเงยหน้าขึ้นมองป้าหมอเหมือนกับพยายามกลั้นน้ำตาไม่ให้ไหล แต่ก็ยังมีน้ำเสียงหลุดออกมาอย่างเคียดแค้นว่า “ผมอยากจะฆ่ามัน!”‘คุณชัช’ คุณพ่อวัย30 ปีกว่าๆ คนนี้ ป้าหมอจำได้ดีว่าเมื่อ2 สัปดาห์ก่อนเขามารับยาครั้งสุดท้ายด้วยท่าทองที่ดูแจ่มใส โดยบอกป้าหมอว่าคราวนี้ตนต้องขอเยอะหน่อย เพราะอีกประมาณ10 วันทางบริษัทจะส่งไปดูงานที่ต่างประเทศหลายเดือน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 175 พฤศจิกายน 2536
    การแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯความทุกข์อย่างทั่วถึงของคนในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ คือ เรื่องการจราจรติดขัด ไปที่ไหนๆ ก็พูดกันแต่เรื่องนี้ไม่เป็นอันทำอะไรอื่น เรื่องนี้มีความเสียหายอย่างน้อย3 อย่าง คือ1. เสียหายเรื่องอารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของคนทั่วทั้งกรุงเทพฯ เป็นอย่างน้อย2. เสียชื่อกลไกการทำงานของประเทศ ว่าแก้ปัญหาไม่ได้3. เสียชื่อไปถึงต่างประเทศ ต่อไปคนจะหลบการลงทุนที่นี้ ...