• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

บานบุรี

เดชา  ศิริภัทร  มูลนิธิข้าวขวัญ
บานบุรี ความงามจากสำนวนไทย สู่ปีมหามงคล

สำนวนไทยข้างบนนี้ ผู้เขียนได้ยินชาวบ้านพูดกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่ในชนบท จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันสำนวนนี้เริ่มมีคนใช้น้อยลง จนแทบจะสูญหายไปแล้ว ผู้เขียนจึงถือโอกาสบันทึกเอาไว้ในโอกาสที่จะเขียนถึงดอกไม้ที่คนไทยปัจจุบันคุ้นเคย และนิยมปลูกกันมากชนิดหนึ่ง นั่นคือ บานบุรี

บานบุรี : ความงามในสีเหลืองทองรูปแตร
บานบุรี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allamanda cathartica Linn. อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้เถารอเลื้อย 
ลำต้น เป็นข้อปล้อง ความถี่ห่างระหว่างข้อปล้อง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของลำต้น
ใบ  หนานุ่ม สีเขียวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบ แหลม ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง ใบกว้างราว ๕ เซนติเมตร ยาวราว ๑๒-๑๕ เซนติเมตร มีน้ำยางสีขาวในใบ และก้านใบ
ดอก  ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามซอกใบ ช่อละ ๒-๕ ดอก บานไม่พร้อมกัน ดอกรูปปากแตร ปลายดอกแยกเป็น ๕ กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอก  สีเหลืองทอง กลีบเลี้ยงสีเขียว ออกดอกดกตลอดปี โดยเฉพาะฤดูร้อนจะมีดอกดกเป็นพิเศษ

บานบุรีชอบแสงแดดกลางแจ้ง แต่อาจอยู่ได้ในสภาพแสงรำไรด้วย สามารถปลูกเป็นไม้พุ่ม หรือเลื้อยขึ้นค้างเป็นไม้เลื้อย
การขยายพันธุ์ ทำได้ง่ายทั้งการตอนกิ่ง และการปักชำ

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของบานบุรี อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เขตร้อน และประเทศบราซิล บานบุรีคงมีผู้นำเข้ามาปลูก ในประเทศไทย ช่วงไม่เกิน ๑๐๐ ปีนี้เอง เพราะไม่ปรากฏ ชื่อในเอกสารก่อนหน้านั้น รวมทั้งไม่พบบันทึกการนำเข้าที่ชัดเจน 

ปัจจุบันบานบุรีได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นดอกไม้ที่ปลูกง่าย ทนทาน ใช้ประดับได้หลายรูปแบบ ออกดอกงดงามตลอดปี

เนื่องในโอกาสปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ดอกบานบุรีที่มีสีเหลืองทองงดงามตลอดปี จึงเป็นดอกไม้  ที่ประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าสมควรนำมาปลูกเอาไว้เป็นสิริมงคลเป็นอย่างยิ่ง 

ข้อมูลสื่อ

341-019
นิตยสารหมอชาวบ้าน 341
กันยายน 2550
ต้นไม้ใบหญ้า
เดชา ศิริภัทร