• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

อัมพฤกษ์ อัมพาต มหันตภัยใกล้ตัว

อัมพฤกษ์ อัมพาต มหันตภัย ใกล้ตัวที่ทุกคนไม่ควรประมาท เพราะอาจจะมาเยือนเมื่อไหร่ เวลาใด โดยไม่ทันระวังหรือป้องกัน หากรักษาไม่ทันหรือรักษาไม่ถูกต้องทันท่วงที อาจจะทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้

อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลอดเลือดในสมองตีบ ตันหรือแตก ส่งผลให้เนื้อสมอง ซึ่งทนต่อภาวะขาดเลือดได้น้อย เกิดพยาธิสภาพขึ้น ความรุนแรงขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมอง และขนาดของพยาธิสภาพนั้น ถ้าเป็นน้อยอาจหายเองได้ในเวลาไม่นาน ถ้าเป็นมากอาจเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอัมพาตและเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงป้องกันและให้การรักษา ได้แก่
๑. โรคความดันเลือดสูง ผู้ที่มีความดันเลือดสูงเป็นเวลานานๆ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว จะทำให้สมองทำงานผิดปกติ เกิดการตีบแตกของหลอดเลือดสมอง โอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปกติสูงถึง ๓–๑๗ เท่า
๒. โรคเบาหวาน ถ้าให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบแข็งทั่วร่างกาย หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทำให้เกิดอัมพาตได้
๓. ไขมันในเลือดสูง ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็ง เกิดการอุดตัน เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอัมพาตได้
๔. การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นตัวเร่งทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการตีบตันขึ้นได้ โอกาสเป็นอัมพาตได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ๓ เท่า
๕. ปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมทำให้เกิดอัมพาต ได้แก่ :-
ก. โรคอ้วน
ข. ภาวะเครียด ผู้ป่วยเครียดมากๆ อาจส่งผลทำให้ผู้ที่มีความดันเลือดสูง หลอดเลือดเกิดแตกได้ง่าย ทำให้เป็นอัมพาตตามมา
ค. ภาวะการขาดการออกกำลังกาย

อาการเตือนของอัมพาตมีอะไรบ้าง
๑. แขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจภาษา
๒. เวียนศีรษะ หัวหมุน อาเจียน เสียการทรงตัว
๓. ตามองไม่เห็นครึ่งซีก หรือสองซีก
๔. ประสาทตาอัมพาต กลอกตาไม่ได้ ตาเหล่ เห็นภาพซ้อน
๕. กล้ามเนื้อ ใบหน้าเป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ปิดตาไม่สนิท
๖. กลืนลำบาก พูดไม่ชัด เสียงแหบ
๗. ซึมหรือหมดสติ
๘. ถ้ามีหลอดเลือดแตกจะมีก้อนกดทับสมอง สมองบวม ความดันในกะโหลกเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการต่างๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน ต้นคอแข็งเกร็ง หมดความรู้สึก

เมื่อมีอาการเตือนของอัมพาตเกิดขึ้น คนใกล้ชิดหมั่นสังเกต หากมีอะไรผิดปกติรีบพบแพทย์ ทำการรักษาทันที บางรายถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหมดสติไป อาจจะต้องรีบทำการผ่าตัดด่วน เพื่อรักษาชีวิตของคนไข้

การดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความพิการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการนอนนานๆ ได้แก่ โรคปอดบวม โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคแผลกดทับ โรคหัวใจและหลอดเลือด

การป้องกันและการดูแลแผลกดทับ
แผลกดทับเกิดจากบริเวณอวัยวะส่วนนั้นถูกกดทับเป็นเวลานาน ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้เนื้อเยื่อตายและเกิดแผล
การดูแล
๑. รักษาความสะอาดผิวหนัง อาบน้ำเช็ดตัว วันละ ๒ ครั้ง
๒. ผิวหนังแห้งแตกให้ทาโลชั่น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น
๓. นวดบุ๋ม หรือรอยที่ถูกกดทับ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
๔. หมั่นเปลี่ยนท่านอนทุก ? - ๒ ชั่วโมง เพื่อไม่ให้แรงกดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นนานเกินไป
๕. ใช้หมอนรองบริเวณที่ถูกกดทับ
๖. ขยับขึ้นลงทุก ? - ๑ ชั่วโมง ขณะนั่งเก้าอี้ – รถเข็น
๗. เปลี่ยนผ้าปูที่นอนให้แห้งสะอาด และเรียบตึงอยู่เสมอ

การดูแลการขับถ่ายปัสสาวะ
ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการถ่ายปัสสาวะ ไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย ยังมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากถ่ายออกไม่หมด จะทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
การดูแล
๑. ควบคุมการดื่มน้ำ ๒ ลิตรต่อวัน เพื่อระบายสิ่งที่ตกค้าง และทำให้ปัสสาวะใสขึ้น
๒. ฝึกขมิบฝีเย็บ โดยการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและรอบทวารหนัก ๑–๔ ครั้ง แล้วคลายออก ทำซ้ำประมาณ ๑๐– ๒๐ ครั้ง วันละหลายๆ ครั้ง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
๓. ใช้ถุงยางอนามัยในผู้ป่วยชาย สังเกตลักษณะสี จำนวนของปัสสาวะ ไม่ควรใส่ไว้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ควรมีระยะพักบ้าง หมั่นทำความสะอาดทุกครั้งที่เปลี่ยนถุงยางอนามัย
๔. ใส่ผ้าอ้อม เลือกขนาดให้พอเหมาะกับผู้ป่วย เปลี่ยนทุกครั้งที่ปัสสาวะ และทำความสะอาดบริเวณอวัยวะขับถ่าย เช็ดให้แห้งเสมอ
๕. ใช้แผ่นรองซับ ในกรณีควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
๖. การใส่สายสวนปัสสาวะ ต้องหมั่นรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะขับถ่ายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ คอยดูแลสายปัสสาวะไม่ให้อุดตันหรือหักงอ เพื่อให้ปัสสาวะไหลได้สะดวก ติดเทปตรึงสายปัสสาวะ เก็บถุงปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ

การดูแลการขับถ่ายอุจจาระ
ในผู้ป่วยอัมพาตพบปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ยังมีปัญหาท้องผูก อุจจาระคั่งค้างอยู่ในลำไส้ อุจจาระแข็ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วยมาก
การดูแล
๑. กินอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก ผลไม้
๒. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ วันละ ๖–๘ แก้ว จะช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ
๓. ออกกำลังกาย โดยฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง เพื่อช่วยในการเบ่งถ่าย
๔. ให้กำลังใจผู้ป่วย
๕. จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด มิดชิด ปลอดภัย
๖. จัดห้องส้วมให้เหมาะกับผู้ป่วย มีราวในการช่วยยึดเกาะ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
๗. ฝึกควบคุมการถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
๘. ให้ยาระบายในตอนเช้า
๙. ให้ผู้ดูแลช่วยล้วงอุจจาระในกรณีที่อุจจาระแข็งเป็นก้อน

การบริหารร่างกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ควรเริ่มบริหารร่างกายเพื่อการรักษาโดยเร็วประมาณ ๔๘ ชั่วโมง หลังมีการอัมพาต โดยเริ่มบริหารแขน ขา ข้างอัมพาต พร้อมกับแขน ขาข้างดี โดยเริ่มบริหารตั้งแต่นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่ บริหารขา เริ่มตั้งแต่ข้อเท้า ข้อสะโพก

ประโยชน์ของการบริหาร เพื่อป้องกันการยึดของข้อต่อและการหดรั้งของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต กระตุ้นความรู้สึกและการรับรู้ให้กับผู้ป่วย การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สามารถบริหารให้ผู้ป่วยได้ไม่ยาก (ดูในโปสเตอร์)

๑.การบริหารนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือ


กางเข้าและออก                                                     หุบนิ้ว-กางออก                                                                                       เหยียดและงอ

๒.การบริหารข้อมือ                                                                                                          ๓.การบริหารข้อศอก
                 


๔.การบริหารแขนด้านหน้า



๕.การบริหารไหล่
                           
ยกขึ้นเหนือศรีษะ-ลง                                                                               กาง-หมุน                         หมุนข้อศอก           

๖.การบริหารเข่าและสะโพก
             
                   

๗.การบริหารเข่าและสะโพก
         

๘.การบริหารข้อเท้า


การบริหารนิ้วมือ


                   

ท่าบริหาร 
หุบ-กางนิ้วมือ งอ-เหยียยดนิ้วมือ
                   ปฏิบัติท่าละ ๑๐-๑๕ ครั้ง
                   การบริหารนิ้วมืออาจใช้อุปกรณ์ช่วย
                   เช่น ผ้า ดินสอ เป็นต้น

การบริหารหัวไหล่และแขน
     ๑.ใช้มือข้างดีจ้บข้อมือข้างอัมพาต
    ๒.ใช้มือข้างดียกแขนข้างอัมพาตขึ้น ยกให้เหยียดตรง
  ๓.วงาแขนข้างอัมพาตไว้เหนือศรีษะ
 ๔.ยกแขนข้างอัมพาต กลับมาที่จุดเริ่มต้น (ปฏิบัติท่าละ ๑๐-๑๕ ครั้ง)


การบริหารข้อมือ                                      

ท่าบริหารกระดกมือขึ้น-ลง โดยใช้มือข้างดีช่วย ปฏิบัติท่าละ ๑๐-๑๕ ครั้ง

           

ท่าบริหารขาข้างอัมพาตด้วยตนเอง
                        


การที่ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็วหรือช้านั้น มักจะขึ้นกับอาการที่เป็น เช่น มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน และมีการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ มีสุขภาพจิตดี มีกำลังใจที่เข้มแข็ง กินอาหารถูกส่วน ย่อมหลีกพ้นอัมพฤกษ์ อัมพาตอย่างแน่นอน

 

ข้อมูลสื่อ

320-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน 320
ธันวาคม 2548
บทความพิเศษ
อรุณี เจษฎาวิสุทธิ์