• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ผักตบชวา : ความงามบนผืนน้ำสำหรับทุกคน

ผักตบชวา : ความงามบนผืนน้ำสำหรับทุกคน


“เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง”

ข้อความข้างบนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเพลงพื้นบ้าน ในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย มีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ แต่อย่างน้อยก็นับร้อยปี มีเนื้อหาแสดงถึงลักษณะธรรมชาติของที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งมีน้ำนองท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำและท้องทุ่งนา ตั้งแต่เดือนสิบเอ็ด (ตุลาคม) และระดับน้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆจนคงที่ (น้ำทรง) ในเดือนสิบสอง (พฤศจิกายน) ในอดีตน้ำจะนองท่วมบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางทุกปี มากบ้างน้อยบ้างตามปริมาณฝนที่ตกในปีนั้น บ้านเรือนของคนไทย ในบริเวณนั้น จึงเป็นเรือนไทยใต้ถุนสูง ทำให้ไม่เดือนร้อนเมื่อน้ำท่วม แต่เมื่อมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ บริเวณต้นน้ำในภาคเหนือ เช่อ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้า มีผลทำให้น้ำท่วมในภาคกลางเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่วมนานๆครั้ง บ้านเรือนที่สร้างขึ้นในสมัยหลังจึงไม่ค่อยยกพื้นสูงเหมือนแต่ก่อน ยามน้ำท่วมจึงเดือดร้อนกันค่อนข้างมาก

เดือนตุลาคมยามนั้นนองนั้น ในแม่น้ำลำคลองมักจะมีพืชน้ำลอยอยู่เป็นกลุ่ม หายน้ำไหลแรง ก็จะแยกกันเป็นเกาะเล็กบ้างใหญ่บ้าง มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า สวะ (สะ-หวะ) ซึ่งมักไม่เป็นที่ต้องการของผู้อาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำ เพราะหากถูกพัดมาติดอยู่ตามท่าน้ำหน้าบ้านก็อาจทำให้ท่าน้ำหักพังตามแรงน้ำไปก็ได้ และตามกอสวะ มักจะมีสัตว์ต่างๆ เช่น งู อาศัยอยู่ด้วย ดังนั้นคำว่าสวะ จึงกลายเป็นสำนวนไทย มีความหมายว่า ของเลว

ในบรรดาพืชน้ำที่ลอยเป็นสวะอยู่ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ผักตบชวา ซึ่งคนไทยทั่วประเทศมองว่า เป็นวัชพืชน้ำที่สำคัญที่สุด บางครั้งจึงเรียกผักตบชวาว่า สวะ ไปเลยก็มี อย่างไรก็ตาม หากได้ศึกษาธรรมชาติและคุณประโยชน์ด้านต่างๆ ของผักตบชวา อย่างรอบด้านแล้ว ความรู้สึกดังกล่าวที่เคยมีมา ก็คงเปลี่ยนไป หรือหากได้พิจารณาผักตบชชวาอย่างใกล้ชิด ยามมีดอกบานเต็มที่ ก็จะสัมผัสถึงความงามอันโดดเด่นของพืชน้ำชนิดนี้ว่า มีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ ติดตาตรึงใจ ผู้คนทั่วโลกมาตั้งแต่อดีต จนทำให้มีผู้นำผักตบชวา ไปเผยแพร่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

ผักตบชวา : อาคันตุกะจากแดนไกล

ผักตบชวา เป็นพืชน้ำมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eichhornia crassipes Solm. อยู่ในวงศ์ Pontederiaceae ลักษณะคล้ายผักตบไทย แต่ลอยน้ำได้ดี มีลำต้น (เหง้า) อยู่ใต้น้ำ มีใบชูสูงขึ้นพ้นน้ำ สูง ๓๐-๔๐ เซนติเมตร ใบแบนค่อนข้างกลม สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางราว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ก็านใบพอง กลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว ๑-๒.๕ เซนติเมตร ผิดก็านใบสีเขียวเป็นมัน ภายในเป็นโพรงคล้ายฟองน้ำ ทำให้เบา ลอยน้ำได้ดี ดอกออกเป็นช่อตรงกลางลำต้น ตั้งตรง ดอกย่อยออกโดยรอบก็านดอก ซึ่งยาวประมาณ ๒๐-๓๐ เซนติเมตร ดอกสีม่วง กลีบดอกบาง มีวงสีเหลืองกลางกลีบ ดอกรวมกับสีน้ำเงินอ่อน คล้ายแววขนหางนกยูง ทำให้ดูงดงามยิ่งขึ้น ผักตบชวาสามารถแตกไหลจากลำต้นกลายเป็นลำต้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การขยายพันธุ์เป็นไปอย่างเร็วมาก กลายเป็นวัชพืชในเขตร้อน ทั่วโลกที่มีน้ำตลอดปี รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย

ผักตบชวามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศบลาซิล ด้วยความงดงามของดอก จึงถูกนำไปทวีปยุโรป และนำมาสู่เกาะชวา ในสมัยเป็นอาณานิคมของดัตช์(เนเธอแลนด์) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ และเกาะศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ สำหรับประเทศไทยนั้น มีบันทึกว่า นำเข้ามาจากเกาะชวาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะชวา กล่าวกันว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงโปรดว่า ดอกงามเหมือนดอกกล้วยไม้จึงนำกลับมากรุงเทพฯด้วย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรากฏว่า ผักตบชวาได้ขยายไปถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว จึงเรียกกันว่า ผักตามเสด็จ พระยาจัน (บุญยืน) จากเชียงใหม่มาเห็นเข้าก็ชอบใจ จึงน้ำมาใส่เรือกลับไปเชียงใหม่ด้วยในปีนั้น จะเห็นได้ว่า เพราะความงามของดอกผักตบชวา จึงทำให้มีผู้นำไปขยายแพร่พันธุ์กันทั่วโลก ก่อนจะเห็นว่าเป็นวัชพืชน้ำที่สำคัญอย่างในปัจจุบัน

เนื่องจากผักตบชวามีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับผักตบ ซึ่งเป็นพืชน้ำดั้งเดิมของไทยและนำมาจากเกาะชวา จึงเรียกว่า ผักตบชวา บางท้องที่เรียกตามลักษณะก็านใบที่ป่องตรงกลางว่า “ผักป่อง”(สุพรรณบุรี) ภาษาอังกฤษเรียก water  hyacinih เพราะทรงดอกคล้ายดอก hyacinih

ประโยชน์ของผักตบชวา

คนไทยส่วนใหญ่เมื่อเอ่ยถึงผักตบชวา ก็จะนึกถึงข้อเสีย คือ ความเป็นวัชพืชน้ำที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้กีดขวางการไหลขิงน้ำ หรือการสัญจรทางน้ำ แต่ความจริงประดยชนืของผักตบชวามีมากมายหลายด้าน และนับวันคนไทยจะใช้ประโยชน์จากผักตบชวามากยิ่งขึ้นทุกที

ในด้านอาหาร คนไทยนำก็านและใบอ่อนขงผักตบชวามาแกงส้ม เป็นผักชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับผักตบ(ไทย) ที่ใช้กันมาแต่เดิม ลำต้นและใบแก่ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น หมู ใบสดของผักตบชวามีแคโรทีนสูง ทำให้ได้รับวิตามิน เอ ผักตบชวาสด (ต้น ราก ใบ) นำมาทำปุ๋ยหมักได้ดี เพราะมีธาตุโพแทสเซียมสูง หากน้ำมาตากแห้งใช้เป็นเชื้อพลิงได้ มีการนำผักตบชวามาทำให้น้ำใส เพิ่มออกซิเจนในน้ำ เป็นที่อาศัยและร่มเงาแก่สัตว์น้ำ เป็นอาหารของสัตว์น้ำบางชนิด เป็นที่อาศัยของนกน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (เช่น งู เต่า)  ก้านใบผักตบชวานำมาตากแห้ง แล้วใช้เป็นวัตถุดิบในงานหัตถกรรมได้ดี เช่น ถักหมวก กระเป๋า เปลญวน กรงหรือบ้านของสัตว์เลี้ยง (เช่น แมว) และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้รับความนิยมจนสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้มากขึ้นเรื่อยๆ บางชุมชนสามารถพัฒนาหัตถกรรมจากผักตบชวาจนได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ (OTOP)

เมื่อมีการส่งเสริมการผลิตสุราพื้นบ้าน ประเภทสุราแช่ (ไม่กลั่น) ปรากฏว่า มีคนไทยบางคนนำผักตบชวามาทำไวน์ ปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ อาจนับเป็นคนแรกในโลกที่นำผักตบชวา มาทำไวน์ เชื่อว่า อนาคตคงมีผู้ค้นคิดนำผักตบชวามาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ผักตบชวาจะถูกนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้นในด้านต่างๆ แต่ด้านความงามของดอกผักตบชวา ก็ยังไม่มีผู้พัฒนาให้กลายเป็นไม้ดอก ชึ่งเป็นที่นิยมเช่นเดียวกับไม้ดอกชนิดอื่น หากในอนาคตจะมีผู้พยายามปรับปรุงผักตบชวา ให้มีดอกที่มีกลีบหนาและบานได้ทนทานขึ้น มีสีสันหลากหลายขึ้น รูปทรงแปลกออกไปบ้าง เป็นต้น ผักตบชวาก็อาจจะกลายเป็นดอกไม้แสนสวยที่ผู้คนทั่วโลกชื่นชม รักใคร่ แทนความรู้สึกว่าเป็นเพียง สวะ หรือ วัชพืชน้ำ อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
 

ข้อมูลสื่อ

294-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 294
ตุลาคม 2547
ต้นไม้ใบหญ้า
เดชา ศิริภัทร