• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การแพทย์แผนจีนในศตวรรษที่ ๒๑

ฉบับนี้ผมขออนุญาตถอดความและเรียบเรียงปาฐกถา ของ ฯพณฯ เสอจิ้ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้แสดงในโอกาสเปิดการสัมมนาวิชาการศาสตร์ การแพทย์แผนจีนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕ เพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ ท่านที่กำลังติดตามแนวโน้มของศาสตร์แพทย์แผนจีนในประเทศไทยและในระดับสากล ถ้าตกหล่นบกพร่องประการใด ท่านที่มีบทความเป็นภาษาจีนกรุณาชี้แนะและเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ด้วยนะครับ

ศาสตร์แพทย์แผนจีนถือเป็น การแพทย์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ของประเทศจีน เป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดกันมายาวนานของชนชาติจีน จึงมีคุณูปการต่อประชาชนจีนและประชาชนทั่วโลก รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศาสตร์แพทย์แผนจีนควบคู่กับการแพทย์ แผนปัจจุบัน ศึกษาซึ่งกันและกัน เลือกเอาของดีของแผนหนึ่งไปเสริมจุดอ่อนของอีกแผนหนึ่ง โดยใช้องค์กรระบบสุขภาพของรัฐบาลไปบรรลุภารกิจของการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน

๑. จุดเด่นและข้อดีของศาสตร์แพทย์ แผนจีน
๑.๑ ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของชีวิตกับความสัมพันธ์แบบองค์รวม
แนวคิดเกี่ยวกับองค์รวมได้สะท้อนถึงความเป็นหนึ่งเดียวของ ร่างกายและสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนเป็นผลจากปัจจัย ต่างๆ จากภายในร่างกายและภาย นอกร่างกาย (สิ่งแวดล้อม) เสียสมดุลในระดับต่างๆ เป็นผลให้เกิดโรค

การรู้จัก "โรค"  ซึ่งในทางแผนปัจจุบันมักเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ ยัง ต้องรู้จัก "ผู้ป่วย" (สภาพของผู้ป่วย) มองเห็นปัจจัยก่อโรค กับสภาวะของร่างกายควบคู่ไปด้วย (เพราะการที่จะเป็นโรค หรือ โรคจะหายหรือจะลุกลามมากขึ้น ต้องขึ้นกับสภาวะของปัจจัยก่อโรค และสภาพร่างกาย โดยสัมพัทธ์เปรียบเทียบกัน) หลักการรักษา ของศาสตร์แพทย์จีน คือ การกำจัด เสียชี่ (สิ่งก่อโรค) และพยุงเจิ้งชี่ (พลัง, ภูมิคุ้มกันของร่างกาย) โดยเน้นการปรับกลไกพลังของร่างกายเป็นสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายของการรักษาโรค

๑.๒ ความสัมพันธ์ของสิ่งตรวจพบภายนอกของผู้ป่วยกับการมองวิเคราะห์ถึงภาวะภายในของร่างกาย (นำไปสู่การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค)

ความเชื่อที่ว่า "ฟ้ากับมนุษย์ (ธรรมชาติ) เป็นหนึ่งเดียว"  

ตัวมนุษย์ " ร่างกายกับจิตใจ เป็นเอกภาพกัน"
- อาศัยการ " มอง ดม ฟัง การถาม การจับชีพจร" ตรวจจากสิ่งที่ปรากฏภายนอกเพื่อสรุป ให้เห็นถึงธาตุแท้ภายในของโรค
- การตรวจวินิจฉัยและการ รักษายังต้องเข้าใจภาวะของบุคคล เวลา (ภูมิอากาศ) สถานที่ (ภูมิประเทศ)
(ตัวบุคคลก็มีสภาพร่างกาย ภายนอก (แขน ขา ลำตัว อวัยวะ สัมผัส) และสภาพภายใน จั้งฝู่  ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน สภาพแวดล้อม ฤดูกาล เวลา ภูมิประเทศ ก็ถือเป็นส่วนภายนอก ที่มีผลกระทบต่อร่างกายโดยองค์รวม)

๑.๓ ศาสตร์แพทย์จีนอาศัย เครื่องมือหลายรูปแบบและการพลิกแพลงหลายวิธี เพื่อให้สอด คล้องกับสภาวะทางสรีระและพยาธิสภาพของผู้ป่วย กล่าวโดย สรุปคือ แบบใช้ยา โดยมีตำรับยา ที่มีองค์ประกอบของตัวยาหลายๆ ชนิดที่สามารถใช้ให้สอดคล้องกับ สาเหตุ และสภาวะของผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรคอย่างยืดหยุ่น พลิกแพลง และมีเป้าหมายในแต่ ละช่วงอย่างชัดเจนเพื่อการปรับสมดุล จึงเหมาะกับภาวะของโรคที่มีความสลับซับซ้อน แบบไม่ใช้ยา ได้แก่ การฝังเข็ม การทุยหนา (นวดแผนจีน) เป็นหลัก โดยใช้หลักการกระตุ้นจากภายนอกร่าง กายเพื่อให้เกิดการปรับสมดุลของ ร่างกาย ซึ่งมีขอบเขตการรักษาอย่างกว้างขวาง
ปัจจุบันทั่วโลกมีการนำศาสตร์ฝังเข็มไปใช้มากกว่า ๑๐๐ ประเทศ ในซีกโลกตะวันตกได้นำศาสตร์การฝังเข็ม การทุยหนา ไปเสริมการรักษาของการแพทย์สมัยใหม่

๑.๔ คัมภีร์ ตำรา ศาสตร์แผนจีนโบราณ เป็นมรดกข้อมูลที่ มีค่าของมนุษยชาติ ปัจจุบันคัมภีร์ ตำราเกี่ยวกับศาสตร์แพทย์ที่ตก ทอดมามีอยู่กว่า ๘,๐๐๐ ชิ้น เป็น การบันทึกเกี่ยวกับทางทฤษฎีและ ประสบการณ์ทางการรักษาโรคที่ผ่านมาหลายพันปี ข้อมูลทางคลินิกจำนวนมากมีความหมายต่อ การศึกษาวิจัยสมัยใหม่ เพื่อการศึกษายกระดับทางการแพทย์ ได้เป็นอย่างดี

๑.๕ ศาสตร์แพทย์แผนจีนมีเนื้อหาการผสมผสานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์สังคม สอดคล้องกับแนวโน้มของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
แม้ว่าศาสตร์แพทย์จีนจะเป็น ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่ความคิดหลักทางทฤษฎีและการวิเคราะห์ทางคลินิกมักเกี่ยว ข้องกับวัฒนธรม สังคม มนุษยวิทยา (เกี่ยวข้องวิถีชีวิต การดำเนินชีวิตทางสังคม การเข้าใจกฎเกณฑ์ของชีวิต) ความรู้เหล่านี้ นำมาซึ่งความคิดของการเข้าใจตัวเอง และสามารถพึ่งตนเองได้ในทางการดูแลสุขภาพ
 

๒. การแพทย์จีนเป็นส่วนสำคัญในระบบประกันสุขภาพของการสาธารณสุขจีนร่วมกับการแพทย์สมัยใหม่ ร่วมกันสร้างเสริมสุขภาพดีแก่ประชาชน

๒.๑ การนำการแพทย์แผนจีนโดยโรงพยาบาลแพทย์ แผนจีนเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพของประชาชนในเขตเมือง
ปัจจุบันประเทศ จีนมีโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนกว่า ๒,๖๐๐ แห่ง มีจำนวนเตียงผู้ป่วย ๒๕๐,๐๐๐ เตียง โรงพยาบาลแพทย์แผนปัจจุบันกว่าร้อยละ ๙๐ มีแผนกแผนจีน การฝังเข็ม ทุย-หนา เป็นต้น เพื่อการดูแลผู้ป่วยแบบผสมผสาน จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยกว่าร้อยละ ๗๐ ยอมรับการ รักษาแนวทางผสมผสานแผนจีนกับแผนปัจจุบัน
การปฏิรูประบบสาธารณสุข ครั้งที่ผ่านมาได้จัดให้การแพทย์แผนจีนเข้าสู่ระบบการประกันสุขภาพแล้ว

๒.๒ การแพทย์จีนในชนบท มีบทบาทสำคัญต่องานสุขภาพ
เนื่องจากแพทย์แผนจีนมีขอบเขตการรักษากว้างขวาง ต้นทุนการรักษาต่ำ สามารถกระจาย การบริการได้ง่าย เหมาะสำหรับประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในภาคชนบทของประเทศ
การจัดตั้งเครือข่ายระบบสาธารณสุขเป็นชั้นๆ จากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ให้ผลดีต่องานด้าน การส่งเสริมป้องกันและการรักษา ปัจจุบันจีนมีหมอชนบทระดับอนามัยหมู่บ้าน อนามัยตำบลกว่า ๑.๓๓ ล้านคน หมอมวลชนเหล่านี้กว่าร้อยละ ๕๐ ใช้ความรู้การแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผน ปัจจุบันควบคู่กัน บางแห่งยังใช้การแพทย์พื้นบ้าน เช่น ทิเบต มองโกเลีย การแพทย์หว้า การแพทย์ไทยร่วมด้วย
 

๓. ระบบการผลิตแพทย์แผนจีนสมัยใหม่
การฝึกอบรมแพทย์จีนสมัย ใหม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการสอนแบบครูรับมอบศิษย์ เป็นการสอน ในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มีการอบรมหลายระดับอย่างกว้างขวาง มีมาตรฐาน ทำให้สามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์จีนปริมาณมาก ทั่วประเทศจีนมีสถาบันการสอนแพทย์จีน ๒๗ แห่ง รับนักเรียนได้ประมาณปีละ ๓๐,๐๐๐ กว่าคน
 

๔. การยกระดับมาตรฐานแพทย์จีนอย่างต่อเนื่อง มีผลงานทางด้านวิชาการและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นจำนวนมาก
ด้วยความมุมานะของเจ้าหน้าที่วิจัยแพทย์แผนจีนและนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ทำให้มีการวิจัยทฤษฎีพื้นฐาน การวิจัยทางคลินิกและการวิจัยยาสมุนไพรจีน การวิจัยทฤษฎีเส้นลมปราณในวิชาฝังเข็ม การวิจัยตำรายาสมุนไพรจีน และการศึกษาวิจัยทางคลินิกในศาสตร์แพทย์จีนแขนงต่างๆ เช่น โรคกระดูก โรคทวารลำไส้ โรคผิวหนัง สูตินรีเวช เป็นต้น แพทย์แผนจีนสามารถรักษาโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรัง โรคที่รักษายาก และโรคที่พบเห็นบ่อยๆ จำนวนมาก ทำให้ศาสตร์แพทย์จีนเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
 

๕. ศาสตร์แพทย์แผนจีนมีข้อเด่นในด้านดูแลสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน
ความคิดของการมีสุขภาพดี การมีชีวิตที่ยืนยาว มีการชี้นำไว้ในศาสตร์แพทย์จีน  
" ฟ้าและมนุษย์เป็นหนึ่งเดียว " 
" วิธีการเป็นธรรมชาติ"    
"ร่างกายจิตใจต้องปรับทั้งคู่"
" ยาและอาหารมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน"

จากทัศนะดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาอาหารและสมุนไพร และวิธีการต่างๆ เพื่อการดูแลสุขภาพในมุมมองที่กว้างขึ้น
 

๖. ผลิตภัณฑ์ยาจีนมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศ และมีอนาคตที่สดใส
ประเทศจีนมียาสมุนไพรจากธรรมชาติ ๑๒,๘๐๗ ชนิด มีตำรับยาสมุนไพรกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตำรับ จากพื้นฐานขององค์ความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติทางคลินิกอย่าง ยาวนาน ผ่านการคัดกรองตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัย ใหม่จะนำไปสู่การลงทุนที่ใช้เงินน้อย ความเสี่ยงต่ำ ปัจจุบันจีนมียาจีนสำเร็จรูปกว่า ๕,๐๐๐ ชนิด ผลกระทบดังกล่าวจะมีผลต่อการส่งเสริมการเพาะปลูกสมุนไพร การพัฒนาทางการเกษตร การ เกษตรแบบอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมการเก็บรักษา อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น
 

สรุป " ทัศนะของรัฐมนตรีเสอจิ้ง"
ศาสตร์แพทย์แผนจีนมีข้อเด่นเป็นภูมิปัญญาเป็นแนวคิดทาง วัฒนธรรม ที่สามารถนำมาใช้ ให้สอดคล้องกับการดูแลสุขภาพสมัยใหม่ที่มองความสัมพันธ์ของร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อมเชื่อมสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้ยึดเอา " โรค" เป็นหลัก แต่ให้ความสำคัญของร่างกายผู้ป่วย  ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในระบบองค์รวมของธรรมชาติ สามารถนำไปผสมผสานกับการแพทย์สมัยใหม่ เพื่อเสริมจุดอ่อนซึ่งกันและกันได้  สามารถนำไปประยุกต์กับระบบประกันสุขภาพในเมือง การรักษา ส่งเสริมป้องกันในระบบสาธารณสุขมูลฐานของประเทศ และการช่วยให้มีสุขภาพและอายุที่ยืนยาว

ปัจจุบันจีนให้ความสำคัญต่อ การยกระดับทางวิชาการ โดยนำ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาวิจัยทางด้านทฤษฎี ทางคลินิก ตัวยา ตำรับยา เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจ และการรักษา รวมถึงการผลิตบุคลากรที่ได้มาตรฐานในระดับต่างๆ จำนวนมากเพื่อสนองความต้องการและการปฏิรูป ระบบสาธารณสุขของประเทศ

การพัฒนาแพทย์แผนจีนใน ประเทศจีน นอกจากผลทางด้านสาธารณสุขแล้ว จะส่งผลต่อการยกระดับและการพัฒนาเศรษฐกิจ ทางด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน จะส่ง ผลดีต่อสุขภาพและเศรษฐฐานะ ของประชาชนจีนด้วย

จีนพยายามใช้จุดเด่นและภูมิปัญญาของตนเอง ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นวิทยา-ศาสตร์ และยังไม่ปฏิเสธความรู้จากทางซีกโลกตะวันตก ขยายจุด เด่นของแพทย์แผนจีนที่มีลักษณะ ความรู้ วัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตธรรมชาติในด้านสุขภาพ และขยายผลในปริมณฑลของเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ นับเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและควรแก่การศึกษายิ่ง
 

ข้อมูลสื่อ

286-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน 286
กุมภาพันธ์ 2546
แพทย์แผนจีน
นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล