• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ยาช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมจากโรคข้ออักเสบแต่อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุได้

ยาช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมจากโรคข้ออักเสบแต่อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุได้

ปัจจุบันมีการใช้กันมาก มักนิยมใช้แก้โรคปวดเข่าและข้ออักเสบเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา มีใบสั่งยานี้ถึง ๑๑๑ ล้านใบใน ๑ ปี คิดเป็นมูลค่า ๔,๘๐๐ ล้านเหรียญ (๒ แสนกว่าล้านบาท) ในขณะเดียว กันคนไข้ที่ได้ยากลุ่มนี้จะมีผู้เสียชีวิต ประมาณ ๑๖,๕๐๐ คนต่อปี เพราะ พิษและผลข้างเคียงของยา คือ "แผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร " ในประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้ มากขึ้นอย่างน่าตกใจ และพบอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาใน ผู้ป่วยมากขึ้นเป็นอันดับที่ ๒ รอง จากกลุ่มยาปฏิชีวนะ มีการผลิตยารุ่นใหม่ที่ดีขึ้น แต่พบว่าอาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด

๒. คุณประโยชน์
 เนื่องจากกรดดังกล่าวสามารถยับยั้งและลดการสร้างกลุ่ม สารพรอสตาแกลนดิน ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการปวด บวม ร้อนแดง ที่เรียกรวมว่า" การอักเสบ" ที่บริเวณเนื้อเยื่อและ อวัยวะต่างๆ ทำให้ฤทธิ์ของสารพรอสตาแกลนดินลดลงหรือหมด  ไป จึงเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวด การบวมของโรคข้ออักเสบ ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น สบายขึ้น เคลื่อนไหว ร่างกายได้ดีขึ้น แต่มิได้เป็นยาที่ใช้รักษาโรคให้หายได้ นอกจาก นี้ยังใช้เพื่อลดไข้ ลดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด ลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ความจำเสื่อม)
ฤทธิ์ในการลดการอักเสบและระงับปวดใกล้เคียงกันแทบทุกตัว ข้อแตกต่างที่สำคัญคือระยะเวลาการออกฤทธิ์ (ซึ่งมีผลต่อจำนวนครั้งที่ต้องใช้ต่อวัน) ราคายา และสุดท้ายคือผลข้างเคียง ซึ่งจะใช้เป็นข้อคำนึงที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้
๓. พิษและผลข้างเคียง
 เนื่องจากปกติสารกลุ่มพรอสตาแกลนดินจะขัดขวางการ หลั่งกรดไม่ว่าจะกระตุ้นโดยวิธีใด และยังทำให้เกิดการหลั่งเมือกของกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อสารกลุ่มนี้ลดลงจากการได้รับยาจึงทำให้มีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น จึงมีโอกาสเป็นแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ทำให้การทำงานของไตเสียไป ทำให้ปวดศีรษะและมีภาวะซึมเศร้าได้ อาจทำให้ตับอักเสบ เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้เกล็ดเลือดไม่จับกลุ่ม ทำให้เกิด ผื่นคัน ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว
๔. ใช้ยาอย่างปลอดภัย
* ใช้ยากลุ่มนี้เมื่อมีอาการอักเสบ (ปวด บวม ร้อนแดง) จริงๆ และมีเหตุจำเป็นต้องใช้โดยได้รับการตรวจจากแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกร ไม่ควรไปหาซื้อยามาใช้เอง

* กินยาหลังอาหารทันที และไม่เกินขนาดและจำนวนครั้ง  ที่ระบุในระยะเวลาที่กำหนด (ปกติไม่เกิน ๗-๑๐ วัน)

* หลีกเลี่ยงการใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากจำเป็นต้องได้รับยาป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหาร

* หากเกิดอาการลมพิษหรือผื่นคัน ต้องเปลี่ยนสลับการใช้ยาเป็นตัวอื่น

๕. ข้อห้ามใช้

* ผู้ป่วยอายุเกิน ๖๕ ปี

* ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน

* ผู้ที่ต้องใช้ยาบางอย่างร่วมด้วย เช่น ยากันเลือดแข็ง ตัว ยาสตีรอยด์

* มีโรคประจำตัวที่รุนแรง เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคตับ เบาหวาน และความดันเลือดสูง

๖. ยารุ่นใหม่
เพื่อลดพิษและผลข้างเคียงของ ยาในกลุ่มนี้ที่ทำให้เกิดแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร จึงมีการผลิตยาใหม่ ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งและลดการสร้างเฉพาะ กลุ่มสารที่เป็นต้นเหตุของการอักเสบจริงๆ โดยไม่ไปยับยั้งสารที่ช่วยป้อง กันกระเพาะอาหาร เรียกยากลุ่มนี้ว่า " selecitve cox-2Ž" แต่พบว่าบางชนิด มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่ใช้ติดต่อกันนานๆ ทั้งนี้ ต้องมีการประเมินผล ความคุ้มค่าในการรักษาด้วยเพราะยาใหม่เหล่านี้มีราคาแพง

๘. อย่าใช้ยาในทางที่ผิด

 " แค่ปวดเมื่อยจากการทำงานก็คิดจะกินยาแก้อักเสบแล้ว "

 " กินยาแก้อักเสบทุกวันเพื่อจะทำงานได้ดี "

 " ยาแก้อักเสบช่วยคลายเส้นเอ็นได้ "

 " กินยาแก้อักเสบเพื่อหวังผลให้หายขาด "

 " อยากจะสบายด้วยยา บั้นปลายไม่สน "

"  คิดพึ่งยาอย่างเดียว ไม่สนวิธีอื่น เช่น นวดประคบ กายภาพบำบัด "

๙. โปรดระลึกไว้เสมอว่า...
ยาต้านการอักเสบนั้น หากใช้ไม่ ถูกต้อง หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด อาจ ทำให้เสียชีวิตเนื่องมาจากกระเพาะ อาหารทะลุจนมีเลือดออกในกระเพาะ อาหารได้ ดังนั้น... "ใช้ยาระวังพิษ   รักชีวิตต้องระวังการใช้ยา " มีปัญหาเรื่องยา อย่าลืมปรึกษาเภสัชกรนะครับ   

 

ข้อมูลสื่อ

283-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 283
พฤศจิกายน 2545
ภก.นิพล ธนธัญญา