• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ตรวจคลื่นหัวใจ

 วิภาดา/กรุงเทพฯ : ผู้ถาม

ดิฉันมีความสงสัยในการตรวจคลื่นหัวใจว่ามีความหมายว่าอย่างไร คุณหมอกรุณาอธิบาย (ตามผลที่ส่ง มาให้ดูนี้) ให้ดิฉันทราบด้วย เพราะวันที่ดิฉันตรวจพอดีคุณหมอไม่อยู่ ดิฉันจึงกลับก่อน เลยไม่ทราบว่าเป็น อย่างไรบ้าง ส่วนหมอเวชปฏิบัติคือหมอฝ่ายใด ช่วยอธิบายด้วยค่ะ
 

นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ : ผู้ตอบ

คลื่นหัวใจ หรือ เรียกเต็มๆว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ฝรั่งเรียก electrocardiogram คุณหมอ คุณพยาบาลชอบเรียกว่า  EKG (อี เค จี) เป็น รูปกราฟ แสดงการนำไฟฟ้าในหัวใจจากหัวใจห้องบนลง ห้องล่างตามลำดับ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการควบคุมการบีบตัว ของหัวใจให้ทำงานประสานกัน ส่งผลให้สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สำหรับคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่คุณส่งมาให้นั้น อ่าน ได้ว่า หัวใจคุณเต้นในอัตราที่เร็วกว่า ปกติคือ เต้นประมาณ ๑๑๐ ครั้งต่อ นาที (ปกติหัวใจจะเต้นประมาณ  ๖๐ ถึง ๑๐๐ ครั้งต่อนาที) แต่เร็วกว่าปกติไม่มาก เช่น อาจเกิดจากเราตื่นเต้น หรือเพิ่งเดินมาเหนื่อย หัวใจจะเต็นอย่างนี้ได้ ไม่ต้องกังวล อะไร นอกจากเรามีอาการผิดปกติเกิดร่วมด้วย เช่น ใจสั่น เป็นลม เป็นต้น ต้องดูเป็นรายๆ ไป ส่วนอย่างอื่น ก็ดูปกติดี แม้ว่าในผลงานจะอ่านว่ามี left anterior fascicular block แปลว่า มีการนำไฟฟ้าหัวใจติดขัดบางช่วง แต่จริงๆ แล้ว เครื่องที่อ่าน ผลนี้อ่านผิดปกติมากเกินไป ถ้าเป็น ผมจะไม่แปลผลว่าผิดปกติ สรุปว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจนี้มีแต่หัวใจเต้นเร็วเล็กน้อยเท่านั้น นอกนั้นปกติหมดครับ

ส่วนหมอเวลาปฏิบัติ เข้าใจว่าคงหมายถึง หมอเวชปฏิบัติทั่วไป คือ คุณหมอที่รักษาโรคทั่วไปทั้งผู้ใหญ่เด็ก โรคสตรี โรคผู้สูงอายุ ทั้งรักษา โดยการใช้ยา ฉีดยา หรือแม้แต่ทำ คลอด ผ่าตัดเล็ก ไม่ใช่คุณหมอที่รักษาเฉพาะโรคใดโรคหนึ่ง หรือรักษาเฉพาะผู้ใหญ่ หรือโดยวิธีใดวิธี หนึ่งเฉพาะ เช่น หมอผ่าตัด หมออายุรกรรม (รักษาด้วยยา ไม่ผ่าตัด) เป็นต้น

ข้อมูลสื่อ

278-013-8
นิตยสารหมอชาวบ้าน 278
มิถุนายน 2545