• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รู้จักแคลเซียมอย่างประโยชน์สูง ประหยัดสุด

หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งโฆษณาผลิตภัณฑ์ตัวเองว่า ใช้เสีมความสูง ออกรายการโทรทัศน์บรรดาผู้ปกครองบ้าง เด็กนีกเรียนบ้าง ก็ออกมาถามหาซื้อกันจ้าละหวั่น ครู-อาจารย์บางโรงเรียนที่เป็นตัวแทนจำหน่ายก็เลยง่วนกับการรับซื้อใบสั่งซื้อจากลูกศิษย์กันยกใหญ่ จึงเกิดคำถามเป็นข้อสงสัยขึ้นมาหลายๆข้อ ดังนี้

๑. ผู้คนเขาคิดเรื่องความสูงกันอย่างไร? "แคลเซียม" มีลต่อกระดูกอย่างไร?
เป็นที่เข้าใจกันดีว่าแคลเซียมมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก แต่คนส่วนใหญ่เห็น "ภาพ" การเจริญของกระดูกในมิติของความสูงอย่างเดียว จริงๆแล้ว กระดูกมีการเจริญตั้งแต่ระยะฟีตัส (อยู่ในครรภ์มารดา) ทารก และเรื่อยไปจนถึงอายุประมาณ ๒๕-๓๐ ปี จากนั้นจะมีการเสริมความแข็งแรงของกระดูก จรถึงระยะมวลกระดูกสูงสุด (Peck Bone Mass) ที่อายุ ๓๕ ปี หลังจากนั้น มวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆตามอายุ สำหรับผู้หญิงมวลกระดูกจะลดลงมากในช่วงหลังหมดประจำเดือน

"มวลกระดูก" หมายถึง ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างหลักและแร่ธาตุต่างๆที่เข้ามาเสริม จึงมีทั้งมิติของความหนา ความใหญ่ มิใช่ความสูง(ยาว) อย่างเดียว สุขภาพกระดูกที่ดีจะหมายถึงความหนาแน่น ซึ่งตรงข้ามกับ ความพรุน ความเปราะบาง หรือความกร่อน มากกว่าจะมุ่งหมายถึง ความสูง(ความยาว)

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของกระดูกในแต่ละช่วงชีวิตมี ๔ ประการคือ พันธุกรรม น้ำหนักที่ลดลง โภชนาการ และฮอร์โมน ในข่วงต้นของชีวิต กระดูกเจริญขึ้นภายใต้อิทธิพลที่สำคัญคือ พันธุกรรม ส่วนโภชนาการมีความสำคัญรองลงมา "อิทธิพลของอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียมจะอยู่ใต้อิทธิพลของพันธุกรรม" จึงเป็นเหตุผลที่ระดับมวลกระดูกสูงสุดของคนแต่ละเผ่าพันธุ์มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในระยะที่มวลกระดูกยังไม่ถึงค่าสูงสุด การบริโภคแคลเซียมมีความสำคัญต่อการสะสมมวลกระดูก หากบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับมวลกระดูกสูงสุดจะต่ำกว่าระดับที่ควรเป็นไปได้ตามศักยภาพ และจะไปมีผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตในช่วงสูงอายุ คือภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่มีความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกบางและเปราะ จึงมีโอกาสแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพก ทำให้หลังค่อม ตัวเตี้ยลง

การดื่มนมตั้งแต่วัยเด็กหรือการให้แคลเซียมเสริมในรูปของยามีผลเพิ่มมวลกระดูกได้ จึงน่าจะมีความสำคัญในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน มากกว่าเรื่องเพิ่มความสูงเสียอีก

การเจริญของกระดูกยังต้องการสารอาหาร แร่ธาตุ รวมทั้งวิตามินอื่นๆอีก ได้แก่ โปรตีน(โดยเฉพาะกรดอะมิโนที่ชื่อ อาร์จีนิน) ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินเอ วิตามินดี เป็นต้น

๒. ค่ามาตรฐานส่วนสูงของเด็กไทยเป็นเท่าไหร่?
จากการสำรวจครั้งล่าสุดของกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ พบว่าเด็กไทยมีส่วนสูงมากกว่าตอนสำรวจเมื่อปี ๒๕๓๐ เราสามารถเทียบจากตารางได้ ดังนี้
 

อายุ             มาตรฐานส่วนสูง                          (เซนติเมตร)                                   มาตรฐานน้ำหนัก (กิโลกรัม)
ชาย                             หญิงชาย                            หญิง
ทารก        
๐-๕ เดือน
๖-๘ เดือน
๙-๑๑ เดือน
เด็ก
๑-๓ ปี
๔-๖ ปี
๑๐-๑๒ ปี
๑๓-๑๕ ปี
๑๖-๑๙ ปี
 
๕๑.๘-๖๖.๐         ๕๑.๔-๖๔.๒
๖๘.๐-๗๑.๒         ๖๖.๒-๖๙.๔
๗๒.๖-๙๖.๐         ๗๑.๐-๙๕.๒

๗๖.๔-๙๖.๐        ๗๔.๒-๙๕.๒
๑๐๓.๔-๑๑๔.๖   ๑๐๒.๔-๑๑๔.๐
๑๑๙.๖-๑๒๘.๔    ๑๑๙.๓-๑๒๙.๖
๑๕๓.๘-๑๖๔.๘   ๑๕๓.๕-๑๕๗.๓
๑๖๗.๗-๑๖๙.๕   ๑๕๗.๕-๑๕๗.๖
๕.๘                            ๕.๘ 
๗.๖                             ๗.๖
๘.๔                            ๘.๔ 

๑๑.๗                         ๑๑.๗ 
๑๖.๕                         ๑๖.๕
๒๑.๙                         ๒๑.๙
๒๙.๓                         ๓๐.๗
๕๓.๙                         ๔๘.๑



 

หากเรามีส่วนสูงไม่ต่ำกว่าค่าดังกล่าว เราก็น่าจะพอใจ และไม่น่าจะเป็นปัญหาใดๆ เพราะความสูงมากกว่านี้ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าจะมีสุขภาพดีหรือไม่ หากขึ้นอยู่กับพฤติกรรมสุขภาพมากกว่า
๓. อาหารของคนไทยขาดแคลนแคลเซียมหรือ?

 ชนิดอาหาร                  ปริมาณ                          แคลเซียม*
มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม
ปริมาณ                            อาหาร**            
ที่บริโภคต่อครั้ง             
ปริมาณ                           แคลเซียมที่ได้รับ มิลลิกรัมต่อครั้ง
กุ้งแห้ง
กะปิ
งาดำคั่ว
กุ้งฝอย
ถั่วแดงหลวง, ดิบ
ผักโขม
เต้าหู้ขาว
ผักคะน้า
ปลาไส้ตัน
งาขาว, คั่ว
นมสด
 
๒,๓๐๕
๑,๕๖๕
๑,๔๕๒
๑,๓๓๙
๔๑๕
๓๔๑
๒๕๐
๒๔๕
๒๑๘
๙๐
๑๑๘
 
๑ ช้อนโต๊ะ (๖ กรัม)
๑ ช้อนชา (๕ กรัม)
๑ ช้อนชา (๓ กรัม)
๒ ช้อนโต๊ะ (๑๔ กรัม)
๓ ช้อนโต๊ะ (๓๐ กรัม)
๕ ช้อนโต๊ะ (๒๕ กรัม)
ครึ่งหลอด (๙๕ กรัม)
๕ ช้อนโต๊ะ (๔๕ กรัม)
๕ ช้อนโต๊ะ (๒๕ กรัม)
๑ ช้อนชา (๓ กรัม)
๑ แก้ว (๒๕๐ มิลลิลิตร)
๑๓๘
๗๘
๔๓
๑๘๗
๑๒๔
๘๕
๒๓๗
๑๑๐
๕๔

๒๙๕
 

เราได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารต่างๆอยู่แล้ว แตกต่างกันตรงที่ว่าแหล่งอาหารชนิดใด ร่างกายสามารถดูดแคลเซียมไปใช้ได้ดีเท่าใด

๔. หากได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น?
ขณะนี้ยังอยู่ระกว่างรวบรวมข้อมูลถึงผลข้างเคียงของการได้แคลเซียมมากเกินไป (มากกว่าวันละ ๒,๐๐๐ มิลลิกรัม) ว่ามีผลอย่างไร ไม่ว่าจะทำให้เกิดนิ่วในไต หรือมีสารสะสมของแคลเซียมในเนื้อเยื่อต่างๆที่มิใช่กระดูกและฟัน รวมทั้งการรบกวนหรือยับยั้งการใช้แร่ธาตุอื่นๆที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น สังกะสี  และเหล็ก เป็นต้น หรืออาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

 

อายุมิลลิกรัม
ทารก
๓-๕ เดือน
๖-๘ เดือน
๙-๑๑ เดือน
เด็ก
๑-๑๐ ปี
๑๑-๒๔ ปี
ผู้ใหญ่ ๒๕ ปีขึ้นไป
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
หญิงวัยหมดระดู

๓๖๐
๔๒๐
๔๘๐

๘๐๐
๑,๒๐๐
๘๐๐
๑,๒๐๐
๑,๐๐๐-๑,๕๐๐

คำตอบและข้อเสนอแนะของคำถามทั้ง ๔ ข้อ คงพอจะให้ข้อคิดและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประโยชน์ที่แท้จริงของแคลเซียมบ้าง เพื่อใช้วิเคราะห์พิจารณารู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา และสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดสุด ในยุคไอเอ็มเอฟนะครับ


 

ข้อมูลสื่อ

234-005
นิตยสารหมอชาวบ้าน 234
ตุลาคม 2541
ภก.นิพล ธนธัญญา