• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ลดอาการปวดประจำเดือนด้วยท่าบริหารกาย

ลดอาการปวดประจำเดือนด้วยท่าบริหาร

ถาม สิริวรรณ/ชลบุรี


ดิฉันมีลูกสาวอายุ 17 ปี ปวดประจำเดือนประจำ ปวดมากจนต้องขาดเรียน มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยลดอาการ ปวดได้ นอกจากการกินยาแก้ปวด

 

ตอบ อาจารย์สุมนา ตัณฑเศรษฐี

สตรีวัยเจริญพันธุ์ประมาณร้อยละ 50 จะมีอาการ ปวดประจำเดือน และในจำนวนนี้ 5 คนจะปวดรุนแรงจนกระทั่งไปทำงานไม่ได้หรือขาดเรียน

อาการปวดประจำเดือน คือ การปวดบริเวณท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวหน่าว ปวดบิด บีบเกร็งคล้ายกับเจ็บครรภ์คลอด อาจปวดร้าวไปที่หลัง และด้านในของต้นขาแต่ไม่ต่ำกว่าเข่า ผู้ที่ปวดประจำเดือน มากกว่าร้อยละ 50 จะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ท้องเสีย ปวดหลัง ปวดศีรษะ อาจมีอาการหน้ามืด

การปวดประจำเดือนแบ่งตามสาเหตุได้ 2 ชนิด

1.อาการปวดประจำเดือนปฐมภูมิ เดิมยังไม่มี ใครทราบว่าสาเหตุมาจากอะไร จึงได้มีการศึกษากันอย่างมาก และได้ทราบว่าสาเหตุของการปวดประจำเดือน เนื่องจากสารพรอสตาแกลนดินส์ ที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลั่งออกมาเมื่อมีการทำลายผนังมดลูกเป็นประจำเดือน ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัว ถ้าสารนี้ถูกหลั่งออกมามาก การหดตัวก็จะมาก อาการปวดก็จะรุนแรง แต่ถ้าไข่ที่สุกตกออกมาจากรังไข่แล้ว ได้รับการผสมกับอสุจิ เกิดการตั้งครรภ์ หรือตัวอ่อนมาฝังตัวที่ผนังมดลูก ผนังมดลูกไม่ถูกทำลาย
ก็จะไม่เกิดสารตัวนี้ขึ้น และไม่มีการปวดประจำเดือน

อาจกล่าวได้ว่า การปวดปฐมภูมิเกิดในรอบเดือนที่มีการตกไข่ ดังนั้น การกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม หรือการระงับการตกไข่ ยาต้านพรอสตาแกลนดินส์จะช่วยรักษาอาการปวดได้ อาการปวดปฐมภูมิ
อาจเริ่มก่อนประจำเดือนมา 1-2 ชั่วโมง หรือภายหลังประจำเดือนเริ่มมา และปวดมาก ในวันแรกที่ประจำเดือนมา จากนั้นอาการจะค่อยๆ ลดน้อยลง มักปวดไม่เกิน 2-3 วัน อาการปวดจะทุเลาลงมากภายหลังการคลอดบุตรแล้ว

2.อาการปวดประจำเดือนทุติยภูมิ คือการปวด ประจำเดือนที่ไม่สัมพันธ์กับการตกไข่ อาจปวดก่อนประจำเดือนมา ถ้ามีการอักเสบของอุ้งเชิงกราน หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดปกติ อาการปวดอาจเริ่มพร้อมกับประจำเดือนก็ได้ ถ้ามีความผิดปกติของมดลูก เยื่อบุมดลูก ปากมดลูก การใส่ห่วงคุมกำเนิดก็ทำให้ปวดประจำเดือนได้
 

การบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

1.ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ต้องมีประจำเดือน และสาเหตุของการปวดประจำเดือนจะช่วยลดความวิตกกังวน ลดความเครียดเกิดความสบายใจ

2.ประคบด้วยกระเป๋าน้ำอุ่น คุณสามารถช่วยตัวเองได้ โดยคุณนั่งไขว่ห้าง งอตัวเล็กน้อยหรือนอนตะแคงในลักษณะงอตัวเล็กน้อยให้สบายนำกระเป๋าน้ำอุ่นที่ห่อด้วยผ้าขนหนู ให้ได้ความรู้สึกอุ่นปานกลาง วางประคบบริเวณท้องน้อย นานประมาณครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี อาจใช้ขวดใส่น้ำ ลูกประคบ สมุนไพร กระเป๋าไฟฟ้าแทนกระเป๋าน้ำอุ่นได้

3.ทำจิตใจให้สงบ สนใจที่การหายใจเข้าและออก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการปวดประจำเดือน
หายใจเข้าทางจมูกตามธรรมชาติ แล้วหายใจออกทางปากโดยเผยอปากสบายๆ เป่าลมออกช้าๆ ให้ไกลประมาณ 1 ฟุต พยายามฟังเสียงการหายใจออกให้ได้ยิน ถึงแม้เสียงจะเบา หายใจเข้าและออกเช่นนี้ 5 ครั้ง สลับกับการหายใจตามปกติ 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลา ที่ปวดประจำเดือน

4.โยกเอว

5.นวดหน้าท้อง

6.กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำ (TENS)

7.บริหารร่างกายด้วยท่าต่อไปนี้

8.บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

9.ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ ไม่มีโรคของอุ้งเชิงกราน

 

 

                      

 

 

ข้อมูลสื่อ

302-013
นิตยสารหมอชาวบ้าน 302
มิถุนายน 2547
สุมนา ตัณฑเศรษฐี