• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

เข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย


 

 “จะบีบหาสวรรค์วิมานอะไร...”
สมชายรู้สึกสุดจะทนกับเสียงบีบแตรของบรรดาขบวนรถที่เข้าแถวยาวเหยียดยิ่งกว่าขบวนแห่ขันหมากบ่าวผู้มั่นคั่ง
ความเย็นของแอร์ในรถรู้สึกจะไปมีผลทำให้ปริมาณเหงื่อของเขาลดลงเลยแม้สักหยด ความรุ่มร้อนในใจยิ่งทำให้ของรู้สึกเหมือนอยู่ในเตาอบดี ๆ นี่เอง
“พ่อเย็นนี้อย่าลืมกลับบ้านให้เร็ว ๆ นะ ลืมหรือยังว่านัดลูกเอไปทานข้าวกัน”
เสียงสั่งของแม่เจ้าประคุณดังก้องในหูเขาตลอดเวลา แต่ยิ่งด้งมากขึ้นทุกขณะ ๆ ตามเวลาที่ติดอยู่ในรถ
“เดี๋ยวเหอะ ผ่านไฟแดงได้จะเหยียบให้หนักเชียว” เขานึกในใจ...
“ทางโน้นเหลืองแล้ว เมื่อไหร่ทางเราจะเขียวสักทีนะ” เขาลุ้นสุดตัว
แล้วโอกาสของเขาก็มาถึง ทันทีที่เห็นไฟเขียว เขาไม่ต้องรอให้ญาติ ๆ ข้างหลังบีบแตรไล่ เจ้าแก่ของเขาก็พุ่งทะยานออกไป แม้จะไม่สง่างามแต่ก็ทำให้เขารู้สึกชื่นใจ ถนนมันโล่งน่าใช้เหมือนกัน เขารู้สึก
เมามันกับการขับขี่ด้วยความเร็วซึ่งหาโอกาสได้ไม่บ่อยนักสำหรับถนนในกรุงเทพฯ
“เฮ้ย” เขาร้องเสียงหลงเมื่อรถเก๋งที่รอกลับรถเคลื่อนออกมาตัดหน้าเขา เบรก! ของเหยียบเบรกโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากประสาทส่วนใดแต่ช้าไปแล้ว
“โครม” เขาได้ยินเสียงกระแทกของรถที่ดังมาก พร้อม ๆ กับแรงผลักอย่างมหาศาลดันร่างเขาไปกระแทกกับส่วนหน้าของรถที่ยุบตัวเข้ามา
เขาเสียวแปล๊บบริเวณหน้าอกและขาเหมือนถูกกระแสไฟฟ้าแล่นผ่านที่ลำตัว...
ความรู้สึกที่เขารับรู้ต่อมาคือความมืดและความเงียบที่เข้ามาครอบคลุมประสาททุกส่วน...
ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่มุมไหนของโลก ต่างก็รู้วิทยาการสมัยใหม่วิ่งไปเคาะประตูทักทายถึงบ้าน ไม่เว้นว่าจะเป็นชาวเขาหรือชาวดิน วิทยาการทางด้านยวนยานพาหนะได้กลายมาเป็นสินค้าที่บางครั้งก็นำความสูญเสียมาสู่ผู้คน
จากสถิติของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและผู้เสียชีวิตถึง ๑๐,๑๗๙ คน บาดเจ็บ ๑๕๖,๗๘๗ คน ในปี ๒๕๓๔ แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิด จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงตามปริมาณของยวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
ปัจจุบันนี้นอกจากคนเราจะต้องเสี่ยงจากพิษภัยของสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งมนุษย์ด้วยกันเองและดินฟ้าอากาศแล้ว ยวนยานพาหนะได้เข้ามาเป็นอุบัติเหตุอีกส่วนหนึ่งที่คอยบั่นทอนชีวิตคนเราที่นับวันจะสั้นอยู่แล้วให้สั้นลงไปอีก
ฉะนั้นหากจะมีสิ่งใดที่ช่วยทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นมาอีกนิด เพื่อทุกคนจะมีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไปอีกหน่อยก็คงจะดีไม่น้อย และหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยยืดอายุให้แก่คุณที่อยากจะย้ำเตือนให้ระลึกถึงและเรียกใช้มันบ่อย ๆ ก็คือ เข็มขัดนิรภัย (seat belt) นั้นเอง
ที่ไหน ๆ เขาก็ใช้เข็มขัดนิรภัย
ประเทศสวีเดน ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวจากผลที่ได้รับจากการใช้เข็มขัดนิรภัยโดยศึกษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรภายในโรงพยาบาล ๑๖แห่ง ทั้งในระยะแรกก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ๓ เดือน และศึกษาภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมายแล้ว ๙ เดือน ปรากฏว่ามีจำนวนผู้บาดเจ็บที่เกิดอุบัติเหตุทางการจราจรที่ต้องนำมาเข้ารับการรักษาพยาบาลจากห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน ๑ ใน ๑๖โรงพยาบาล ลดลงถึงร้อยละ ๒๙ ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายเข็มขัดนิรภัย
การเกิดอุบัติเหตุรถชนกันระหว่างปีแรกที่กฎหมายเข็มขัดนิรภัยบังคับใช้มีจำนวน ๓๘๒ ราย มี ๒๐๗ คนเสียชีวิต และมีชีวิตรอด ๑๗๕ คน
สำหรับผู้ใช้เข็มขัดนิรภัยเสียชีวิตร้อยละ ๔๖ และร้อยละ ๕๔ รอดชีวิต
แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช้เข็มชัดนิรภัยเสียชีวิตร้อยละ ๖๕ มีผู้รอดชีวิตเพียงร้อยละ ๓๕
นอกจากนี้ยังมีผลสรุปภายหลังมีการแนะนำเรื่องเข็มขัดนิรภัยในรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลียซึ่งมีการบังคับใช้ในปี ๒๕๑๓ ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะผู้บาดเจ็บคือ
ผู้บาดเจ็บบริเวณใบหน้าลดลงไปปริมาณครึ่งหนึ่ง
การบาดเจ็บเกี่ยวกับกระดูกสันหลังลดลง ๑ ใน ๓
การเสียชีวิตเนื่องจากกะโหลกศีรษะร้าว ชำรุด และสมองได้รับการกระทบกระเทือนลดลงร้อยละ๓๐โดยปริมาณ
การสูญเสียชีวิตเนื่องจากกระดูกโคนขาหักหรือแตกลดลงร้อยละ ๗
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีจำนวนผู้บาดเจ็บที่กระดูกต้นขาเพิ่มขึ้น ๒ เท่า ซึ่งผู้บาดเจ็บเหล่านี้ถ้าหากไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยคาดว่าคงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุแน่นอน
ผู้บาดเจ็บในส่วนที่เกี่ยวกับปอดล้มเหลวลดลงร้อยละ ๑๖
การบาดเจ็บที่สะบ้าหัวเข่าและสะโพกลดลงร้อยละ ๔๐
โดยเฉลี่ยแล้วผู้บาดเจ็บที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้นลดลงร้อยละ ๒๐ นอกจากนั้นยังการศึกษาถึงกรณีการได้รับบาดเจ็บจากจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ ๓๕,๐๐๐ ราย และผู้ตาย ๑,๗๐๐ ราย พบว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยทำให้ลดการบาดเจ็บขั้นรุนแรงกับศีรษะ ใบหน้าและหน้าอก หรือถูกเหวี่ยงออกจากตัวถังรถยนต์ลงไปได้
ในสหรัฐอเมริกาก็มีกฎหมายบังตับการใช้เข็มขัดนิรภัยเช่นกัน แต่ระยะแรกที่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยไว้ในรถยนต์ ยังไปมีรายงานที่แน่ชัดว่าจะมีผู้ที่ใช้ประโยชน์จากเข็มขัดนิรภัยสักเท่าไร จะมีก็แต่นักแข่งรถเท่านั้นที่คิดว่าตนเองจำเป็นต้องใช้ แม้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะได้รับเชิญชวนจากตัวแทนของสมาคมความปลอดภัยของอเมริกา อีกทั้งแพทย์ก็ไก้พยายามศึกษาสภาพผู้บาดเจ็บจากการจราจร แต่ก็ไม่สามารถชักชวนคนทั่วไปให้เห็นความสำคัญของเข็มขัดนิรภัยได้
ต่อมาประมาณปลายปี ๒๔๔๓ ผู้เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยทางการจราจรได้กระตุ้นเตือนประชาชนทั่วไปใช้เข็มขัดนิรภัยกันอย่างกว้างในสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง
การรีรอที่จะใช้อุปกรณ์แห่งความปลอดภัยชนิดนี้จึงค่อย ๆ หมดไปในปี ๒๕๐๕ นั้นเอง รัฐวิสคอนซินจึงเป็นรัฐแรกในสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จำหน่ายในรัฐต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย
ในปี ๒๕๑๓ รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ได้ออกกฎหมายบังคับการใช้เข็มขัดนิรภัย
ในปี ๒๕๒๗ รัฐนิวยอร์ก เป็นรัฐแรกในสหรัฐฯ ที่ออกกฎหมายบังคับคนขับให้ใช้เข็มขัดนิรภัยขณะขับรถช่วงเวลานั้นเองได้มีการสำรวจพบว่ามีประเทศที่ออกกฎหมายบังคับการใช้เข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์จำนวน ๓๔ ประเทศทั่วโลกแล้ว
เหตุที่หลาย ๆ ประเทศเริ่มขยับเนื้อขยับตัวเคลื่อนไหวในเรื่องนี้กันมาก คงเป็นเพราะพวกเขาพากันตระถึงความสำคัญในอันที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยหากใช้เข็มขัดนิรภัย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้มีการสำรวจพบว่า การออกกฎหมายบังคับใช้เข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์สามารถอัตราการเสียชีวิตได้กว่า
๑๐,๐๐๐ คนต่อปีทีเดียว
เข็มขัดนิรภัยคืออะไร
ถ้าหากจะแปลกันตรง ๆ แล้ว ล่ะก็ คำว่า “เข็มขัดนิรภัย” (seat belt) น่าจะหมายถึงเข็มขัดแห่งความปลอดภัย หรืออาจใช้ในความหมายที่ว่าการใช้เข็มขัดนี้แล้วผู้ใช้ปลอดภัยก็คงจะได้
นั่นเป็นสิ่งที่เราเข้าใจกันโดยทั่วไป
แต่สำหรับการขอสิทธิบัตรเข็มขัดนิรภัยในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ๒๔๒๘ นั้น อุปกรณ์ชนิดนี้ได้ถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ช่วยลดอิสระการเคลื่อนไหวและเป็นเครื่องป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งการใช้เข็มขัดนิรภัยนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เฉพาะเจาะจงลงไปว่าจะใช้เพื่อความปลอดภัยในด้านใด แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในต้นศตวรรษที่ใช้รถยนต์นั้นผู้ประดิษฐ์ได้จัดทำเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งเพื่อไม่ให้คนขับและผู้โดยสารกระเด็นออกนอกรถ เพราะสภาพถนนที่ขรุขระไม่เรียบร้อยในสมัยนั้น
เป็นเวลานานถึงครึ่งศตวรรษทีเดียวก่อนที่เข็มขัดนิรภัยได้ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานและเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์รถยนต์ ในขณะเดียวกันบนเครื่องบินก็ได้กำหนดให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยซึ่งเรียกกันจนติดปากว่า “เข็มขัดที่นั่ง” และถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องใช้ตั้งแต่เครื่องบินเริ่มเคลื่อนออกจากทางวิ่งเลยทีเดียว
ชนิดของเข็มขัดนิรภัย
เข็มขัดนิรภัยที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑. สายรัดหน้าตัก (แบบ ๒ จุด-lap belt) เป็นเข็มขัดนิรภัยที่รัดตรงบริเวณโคนขา รอบสะโพก สามารถพบเห็นได้ในเข็ดขัดที่ใช้บนเครื่องบิน สำหรับผู้โดยสารในรถยนต์จะเป็นเข็มขัดใช้สำหรับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ด้านหลัง เข็มขัดนิรภัยชนิดนี้ใช้คาดบริเวณต้นขา รอบสะโพก ไม่ควรรัดบริเวณหน้าท้อง
๒. สายรัดต่อเนื่อง (แบบ ๓ จุด-lap shoulder belt) เป็นเข็มขัดนิรภัยชนิดที่คาดอยู่ตรงบริเวณสะโพกและไหล่ คาดรอบสะโพกบริเวณต้นขาและผ่านเฉียงทางหน้าอก และกระดูกไหปลาร้า
ทั้งสองแบบนี้ยังแบ่งออกเป็นประเภท คือ
๑. ประเภทที่มีชุดดึงกลับ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยึดสายรัดให้แน่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และดึงสายรัดกลับเข้าที่เก็บสายด้วย
๒. ประเภทที่ไม่มีชุดดึงกลับเรื่องราวทางด้านกลไกการทำงานของชุดดึงกลับของเข็มขัดนิรภัยแต่ละรุ่นนั้นมีข้อที่น่าสนใจอีกมากมายเนื่องเพราะชุดดึงกลับแต่ละชนิดมีลักษณะการทำงานที่เฉพาะตัวของมันเอง ซึ่งคุณสามารถเลือกได้เมื่อถึงคราวจะต้องซื้อว่าจะต้องการชนิดใดอาทิ
- ชุดดึงกลับชนิด NLR (non locking retractor) หมายถึง ชุดดึงกลับที่ทำหน้าที่ม้วนเก็บสายครึ่งเดียวเท่านั้น
- ชุดดึงกลับชนิด MUR (manually unlocking retractor) หมายถึง ชุดดึงกลับที่สามารถดึงสายรัดออกจากม้วนเก็บได้เมื่อปลดล็อกด้วยมือเท่านั้น
- ชุดดึงกลับชนิด ALR (automatically locking retractor) หมายถึง ชุดดึงกลับที่สามารถล็อกได้โดยอัตโนมัติที่ตำแหน่งความยาวที่ต้องการ
- ชุดดึงกลับชนิด ELR (emergency locking retractor) หมายถึง ชุดดึงกลับที่ผู้ใช้สวมใส่แล้วจะปรับความยาวให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติและในสภาวะปกตินี้ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ อุปกรณ์
ล็อกสายรัดจะทำงานเมื่อรถยนต์ลดความเร็วอย่างกะทันหัน และ/หรือ เกิดการกระชากสายรัดอย่างกระกะทันหัน
แม้ว่าบ้านเราจะยังไม่มีประกาศกฎหมายบังคับการใช้เข็มขัดนิรภัยในขณะนี้ก็ตาม แต่หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ตระรู้และมีความห่วงใยในชีวิตของคนที่คุณรักและของตัวคุณเองเชื่อว่าคุณคงไม่ละเลยจะมองหาเข็มขัดนิรภัยดี ๆ สักชุดมาไว้ในรถคุณแน่น หรือถ้าหากในรถของคุณมามีเข็มขัดนิรภัยติดไว้อยู่แล้ว (ตั้งแต่ครั้งที่ซื้อรถ) ก็ลองตรวจสอบดูว่ามันเข้าได้กับมาตรฐานที่ทางการ (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) มาเริ่มตรวจกันเลยดีกว่า
- สายรัด ต้องทำจากเส้นใยธรรมชาติ และ/หรือเส้นใยสังเคราะห์มีลักษณะเหมือนสายพานแบน มีความเหนียว อ่อนเรียบ ไม่มีรอยต่อรอยสัก
- หัวเข็มขัดและชุดดึงกลับ ทำจากวัสดุผิวเรียบ ไม่มีส่วนคมแหลม มีขนาดและรูปร่างที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้
- ร่องเลื่อนและชุดดึงกลับ ทำจากวัสดุที่มีผิวเรียบ ไม่มีส่วนคมแหลมและไม่ทำให้สายรัดเกิดชำรุดได้ง่ายขณะที่ใช้
จะใช้เข็มขัดนิรภัยอย่างไร
ถึงแม้ว่าการใช้เข็มขัดนิรภัยจะไม่ป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความรุนแรงของอุบัติเหตุจากมากให้ลดน้อยลงได้หรือถ้ากรณีที่เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยได้รับบาดเจ็บเลย แต่นั่นก็หมายถึงว่าคุณจะใช้อุปกรณ์พิเศษชินนี้อย่างถูกวิธีด้วย ดังนี้
คุณต้องคาดเข็มขัดนิรภัยโดยให้เข็มขัดส่วนล่างทาบไปกับกระดูกเชิงกราน เพราะกระดูกเชิงกรานนี้สามารถรังแรงกระแทกได้ถึง ๑ ต้น (๑,๐๐๐ กิโลกรัม) และควรจะต้องคาดให้ต่ำกว่าเข็มขัดธรรมดาประมาณ ๕ – ๑๐ เซนติเมตร เข็มขัดส่วนบนพาดทแยงผ่านกระดูกไหปลาร้ายังด้านตรงข้าม แต่ระวังอย่าให้สายเข็มขัดพาสชิดลำคอ หรือบนท่อนแขน
ในการคาดเข็มขัดนิรภัยให้เด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๑ ปี ไม่ควรให้เด็กนั่งเบาะหน้า และในกรณีที่ผู้โดยสารเป็นทารก จะต้องรัดเบาะที่รองหรือรถเข็นให้แน่น และต้องวางเบาะหรือรถเข็นไว้บริเวณเบาะหลังเท่านั้น
สำหรับการใช้เข็มขัดนิรภัยในหญิงมีครรภ์นั้น ควรจะพาดให้ส่วนที่ยึดตัวพาดผ่านต้นขาทั้งสองข้าง และอยู่ต่ำกว่าครรภ์ของผู้คาด โดยให้อยู่ห่างสะโพกให้มากที่สุด ส่วนที่ยึดไหล่ให้พาดผ่านไประหว่างกึ่งกลางของลิ้นปี่ ด้วยวิธีนี้จะช่วยป้องกันอันตรายได้ทั้งแม่และลูกในครรภ์ ที่สำคัญคืออย่าให้สายเข็มขัดรัดบนช่องท้องอย่างเด็ดขาด
ในคนบางคนที่มีรูปร่างเล็ก ซึ่งมีส่วนสูงน้อยกว่า ๑.๕ เมตรหรือในเด็กอาจพบปัญหาเวลารัดเข็มขัดนิรภัยแล้วเข็มขัดส่วนบนไปคล้องอยู่กับลำคอของผู้คาด
กรณีอย่างนี้ให้พยายามเลื่อนตัวขึ้นไปให้ชิดกับส่วนบนของเข็มขัดนิรภัยให้มาที่สุดและควรหาเบาะรองที่นั่งด้วยเพื่อจะทำให้สายเข็มขัดทาบอยู่บนหัวไหล่ได้พอดี ไม่รัดลำคอจนเกิดไป
หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
ใคร ๆ ที่เป็นนักวิ่งหรือเป็นนักกีฬาที่ต้องวิ่งด้วยความเร็ว หรือแม้แต่คุณ ๆ ที่เคยวิ่งหนีวิ่งไล่ด้วยความเร็วสูง คงจะพอรู้สึกถึงความยากลำบากในการที่จะหยุดวิ่งโดยทันทีทันใด
ในกรณีเดียวกันกับความเร็วของรถยนต์ ซึ่งมีความเร็วกว่าการวิ่งหลายเท่า ในกลไกของการหยุดรถยนต์ก็ต้องค่อย ๆ ลดความเร็วลงจึงจะทำให้ผู้ขับรถและผู้โดยสารไม่เกิดอันตราย
ในขณะที่รถยนต์หยุดวิ่งด้วยความเร็วสูงถึงระดับ ๑๐๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ร่างกายของผู้ขับขี่และผู้โดยสารก็จะวิ่งไปด้วยความเร็วเท่ากัน ฉะนั้น ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้รถยนต์ต้องหยุดชะงักลงทันทีทันใด จากการกระแทกอันเกิดจากการหยุดรถอย่ากะทันหัน ร่างของคนที่นั่งอยู่บนรถจึงพุ่งเข้าปะทะกับส่วนต่าง ๆ ของรถ อันเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งความเร็วของแรงเหวี่ยงอาจเปรียบได้กับการตกจากชั้นที่ ๑๓ ของตึกสูงเลยทีเดียว
สาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดในขณะที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยมีตั้งแต่ศีรษะกระแทกกระจกหน้ารถ หน้าอกกระแทกพวงมาลัยหรือแผงหน้าปัดรถ หรือถูกเหวี่ยงออกนอกรถ โดยเฉพาะการหลุดออกจากตัวถังรถจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่กระเด็นออกไปถึง ๖ เท่า
เข็มขัดนิรภัยช่วยชีวิตคุณได้
เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ฉุดครั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ลดความเร็วของแรงเหวี่ยง
และฉุดรั้งร่างของผู้โดยสารไม่ให้พุ่งไปปะทะกับส่วนต่าง ๆ ของรถ
จากสถิติดังตารางข้างบน เราจะเห็นว่าแตกต่างของความรุนแรงและอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ขับขี่และผู้โดยสารอย่างชัดเจน
สรุปแล้วในขณะเกิดอุบัติเหตุหากรัดเข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรง การกระแทกของศีรษะที่หน้าและหน้าอกกับกระจกหน้า พวงมาลัยและป้องกันไม่ให้ตัวคนหลุดออกจากรถได้แน่นนอน
ในชีวิตแต่ละวันที่ผ่านไป มีกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายหลายอย่างซึ่งคุณมักจะเตือนลูกหลานเสมอว่าให้พวกเขาระมัดระวัง อาทิ อย่าเล่นของมีคมนะ ระวังจะตกลงมา...อย่า...อย่า...และอย่า...เพราะสิ่งที่คุณเตือนพวกเขาคุณรู้ดีว่าหากไม่ระวังมันจะทำให้เขาบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
แต่ในขณะที่นั่งอยู่ในรถที่ขับเลื่อนไปบนถนน คุณเคยตระหนักรู้บ้างหรือไม่ว่าชีวิตลูกหลานของคุณเหมือนว่ากำลังไต่อยู่บนเส้นด้าย หากพลาดเพียงนิดเดียว อาจต้องบาดเจ็บ พิการ หรือ...ตายได้เช่นเดียวกับอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันอื่น ๆ เช่นกัน
มีบางอย่างที่ช่วยให้เราทุกคนมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นในขณะที่นั่งโดยสารอยู่ในรถยนต์ แต่หลายคนอาจมองข้าม ละเลย หรือหลงลืมที่จะใช้ประโยชน์จากมัน...เข็มขัดนิรภัย
ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลชีวิตของคนที่เรารัก และชีวิตของเราเอง ด้วยการคาดเข็มขัดนิรภัยขณะที่นั่งในรถยนต์
คาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิต
ข้อมูลจาก
• สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ)
• สำนักงานประสานงานทางการแพทย์
• สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
• บริษัท เชลล์แห่งประเทศ จำกัด
• โครงสร้าง THINK EARTH


เวทีทัศนะ

นายแพทย์วินัย พากเพียร
ภาควิชาออโธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการใหญ่ของเข็มขัดนิรภัยคือ ช่วยป้องกันไม่ให้คนกระเด็นหรือลอยออกนอกรถในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น การวางตำแหน่งของเข็มขัดนิรภัยที่นิยมก็คือ แบบรัด ๓จุด และแบบรัดเอว ๒ จุด และถ้ายิ่งพื้นที่สัมผัสมากเท่าไรโอกาสเหนี่ยวรั้งตัวเราให้ติดกับรถก็จะดีขึ้นเท่านั้นซึ่งก็จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นเช่นกัน
แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้เข็มขัดนิรภัย อันตรายที่เกิดก่อนเวลารถชนกันก็คือ ศีรษะจะพุ่งออกไปกระแทกกับหน้ารถ การบาดเจ็บตามใบหน้า สมอง หน้าอก และกระดูกสันหลังส่วนคอ
ตามหลักของความเร็ว คือเมื่อรถชน แรงเฉื่อยของร่างกายจะทำให้ตัวเราพุ่งออกไปข้างหน้า พอศีรษะได้รับบาดเจ็บเราก็แย่ล่ะเพราะเมื่อมีอัตราเร็วสูงถูกกระแทกอย่างแรง คอจะหัก หน้าแตก ทุกอย่างแย่ แค่นี้ก็ตายแล้ว
ถ้ากระเด็นออกไปนอกรถยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย ผลกระทบต่อเนื่องภายหลังที่ทำการรักษาไปแล้วก็มี ที่คอนี่สำคัญ คอหัก ก็สามารถทำให้เกิดอัมพาตขึ้นได้ คือเมื่อมีแรงดึงมาก ๆทำให้คอบาดเจ็บแถวเอ็นยึดข้อกระดูกไขสันหลัง โครงสร้างต่าง ๆ อาจแนสาเหตุของโรคปวดคอตลอดชีวิต หรือเสียชีวิตไปเลย ซึ่งเข็มขัดนิรภัยจะช่วยในจุดนี้ คือช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
แต่ข้อเสียของเข็มขัดนิรภัยก็มีเหมือนกัน คือ อาจจะทำให้มีการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน หรือมีการบาดเจ็บที่กระดูกไขสันหลังได้เนื่องมาจากแรงดึงแยก เมื่อรถเบรกกระทันหัน พอรถหยุดเราก้มตัวอย่างแรงทันที ทำให้กระดูกสันหลังอาจฉีกขาดได้ ถึงแม้จะเป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากเข็มขัดนิรภัยแต่ก็สามารถรักษาได้ ดีกว่าที่จะต้องเสียชีวิตเพราะตัวกระเด็นออกไปนอกรถเนื่องจากไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
อย่างไรก็ตาม เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุ คือสามารถช่วยผ่อนหยักให้เป็นเบา จากตายเป็นไม่ตาย หรือช่วยให้เราบาดเจ็บน้อยลงจนสามารถส่งถึงโรงพยาบาลให้แพทย์รักษาได้ทัน

เทพฤทธิ์ เวศอุรัย
ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยและอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
บริษัท เซลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
เราเป็นบริษัทที่ทำงานทั่วประเทศ มีปั้มน้ำมันประมาณ ๙๐๐-๑,๐๐๐ แห่ง จึงมีเจ้าหน้าที่ของเรารณรงค์ที่ต้องเดินทางทั่วประเทศอยู่ตลอดเวลา เราจึงรณรงค์ให้ทุกคนใช้เข็มขัดนิรภัย เมื่อ ๖-๗ ปีที่ผ่านมา เพราะความเสี่ยงบนท้องถนนของเรา ของพนักงานของเรา ของผู้รับเหมาของเราสูงมาก และหลังจากที่เราได้มีการรณรงรค์ให้ทุกคนใช้เข็มขัดนิรภัยไปแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นเราพบว่าระยะหลัง ๆ นี้ไม่มีพนักงานเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เลย
การรณรงค์ของเราเริ่มออกสู่สาธารณชนเมื่อปลายปีที่แล้ว ประมาณเดือน พฤศจิกายน ทางสถานี้วิทยุ จส.๑๐๐ ใช้เวลาประมาณ ๑๐ กว่าวัน เพื่อให้ประชาชนทราบว่า เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดอันตรายขณะที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ได้ช่วยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
สิ่งที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยขณะที่เกิดอุบัติเหตุนั้นไม่ได้มีแต่เข็มขัดนิรภัยอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับเก้าอี้ด้วย ในกรณีที่เราชนเขา เราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเล็กน้อย เข็มขัดนิรภัยจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงได้ แต่ถ้าในกรณีที่ถูกชนจากข้างหลัง ก่อนที่เราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เราจะหงายไปข้างหลังก่อน เก้าอี้และหมอนรองกระดูก จะช่วยลดความรุนแรงได้ในกรณีนี้
แต่ถ้าไม่มีหมอนรองศีรษะคอก็จะหัก เพราะส่วนนี้เป็นส่วนที่เปราะบางที่สุดของมนุษย์ หลังจากนั้นเข็มขันจะเป็นตัวยึดไม่ให้ตัวเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกครั้งหนึ่ง ทำให้อันตรายที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงมากนัก
อีกจุดหนึ่งก็คือ เด็ก ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงเด็กที่มีอายุประมาณ ๑๐ ขวบ ไม่ควรให้เด็กนั่งข้างหน้าเพราะไม่มีความปลอดภัยเลย
ประการแรก หากเด็กนั่งด้านหน้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เด็กจะลอยทะลุหน้ากระจกออกไปเลย
และอีกประการหนึ่ง ถึงแม้เด็กจะคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว แต่ตัวเด็กเล็กเกินไป เข็มขัดจะอยู่บริเวณคอของเด็ก เด็กจะเสียชีวิตทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพราะคอหักหรือถูกเข็มขัดรัดคอ
ในต่างประเทศ อย่างในประเทศอังกฤษนี่เขาจะไม่ให้เด็กนั่งข้างหน้าเลย แต่จะมีเก้าอี้พิเศษตรึงไว้ที่เบาะหลังและมีเข็มขัดคาดสำหรับเด็กแทน
ประเทศของเรายังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกมากนัก เพราะฉะนั้นเราจึงควรจะต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน

บุญพีร์ พันธ์วร
เลขานุการโครงการ THINK EARTH
โครงการ THINK EARTH เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม เรามีแนวทางอยู่ ๓ ทางคือ หนึ่ง จะทำอย่างไรให้คนรักชีวิต สองรักวัฒนธรรม และสาม รักธรรมชาติ เพราะว่าชีวิตนี่สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีชีวิตก็ไม่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่มาของโครงการเข็มขัดนิรภัยเพื่อชีวิต ก็จะมีคำขวัญว่า รักชีวิต คิดคาดเข็มขัดนิรภัย
โครงการนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการที่รัฐบาลได้รณรงค์และออกกฎหมายในเรื่องหมวกนิรมัยโดยได้นำแนวคิดมาจากโฆษณาของบริษัทเซลล์ ทำให้คิดเป็นโครงการเข็มขัดนิรภัยเพื่อชีวิตขึ้นมา ซึ่งโครงการฯ ได้ร่วมมือกับเซลล์ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และจ.ส. ๑๐๐
ในขั้นแรกเราได้ทำการผลิตสื่อเพื่อให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเข็มขัดนิรภัยแก่ประชาชนโดยมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายคืผู้มีรถยนต์ที่มีเข็มขัดนิรภัยอยู่แล้วประมาณร้อยละ ๖๐ ให้เกิดพฤติกรรมในการดึงเข็มขัดนิรภัยที่มีอยู่มาคาดกับตัวไห้ได้
ส่วนขั้นที่สอง เมื่อเราผลิตสื่อเรียบร้อยแล้ว เราก็มีการเปิดตัวคือเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ที่ผ่านมาซึ่งเราได้ตกลงกับกระทรวงมหาดไทยว่า ก่อนที่รัฐบาลจะออกกฎหมายบังคับใช้เราควรจะสร้างความคิดความเข้าใจ สร้างทัศนคติที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น สติ๊กเกอร์ เสื้อยืด หรือโฆษณาทางสถานีวิทยุ เช่น จ.ส. ๑๐๐ และโทรรทัศน์ เป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนก่อนที่รัฐบาลจะออกกฎหมาย
โดยเราจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของการตายของผู้ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัย ซึ่งมี ๔ อย่างคือ
๑. หัวไปกระแทกกระจกแล้วทะลุออกไป
๒. หน้าอกกระแทกกับพวงมาลัย
๓. เวลาหัวไปข้างหน้าแล้วกระแทกกลับอย่างแรงจะทำให้คอหัก ซึ่งเป็นสาเหตุที่คนตายกันมาก
๔. เมื่อรถคว่ำจะกระเด็นออกไปข้างนอกรถ
ทั้ง ๔ ข้อนี้ เราจะรณรงค์ให้ประชาชนเห็นอันตรายในจุดนี้ แล้วหันมาใช้เข็มขัดนิรภัย โดยเราจะเริ่มที่คนในกรุงเทพฯ ก่อน และจะขยายไปตามต่างจังหวัด
ส่วนแนวโน้มในการใช้เข็มขัดนิรภัยต้องเข้าใจว่าจะบังคับใช้วันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะให้ข้อมูลให้ความเข้าใจแก่ประชาชนมากขึ้นก่อนออกกฎหมาย ซึ่ง THINKG EARTH ก็จะเสริมภาพรัฐฯ ในการรณรงค์ตรงนี้ให้เกิดความคิด ความเข้าใจ ผมก็อยากฝากไว้ว่า ‘รักชีวิต คิดคาดเข็มขัดนิรภัย’ เสียแต่วันนี้เถอะครับ อย่าคิดว่าจะให้ผู้อื่นมารักชีวิตของตน เราต่างหากที่จะเป็นผู้รักชีวิตของตนเอง

ธีรเดช พุมอาภรณ์
ผู้เคยประสบอุบัติเหตุ
วันนั้นผมกลับมาจากน่าน ถึงที่เกิดเหตุประมาณ ๓ ทุ่ม ฝนกำลังจะตก สภาพถนนลื่นมาก ความเร็วตอนนั้นคิดว่าประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือกว่านั้น ผมกำลังรีบจะเข้าพิษณุโลก บนถนนจากอุตรดิตถ์ไปพิษณุโลกตรงช่วงอำเภอวัดโบสถ์ ตอนนั้นสภาพร่างกายล้าและเหม่อ เลยลื่นไถลลงข้างทางซึ่งต่ำกว่าผิวจราจร พอไถลลงไปน้ำที่ผิวถนนมันกระจายขึ้นมา ผมตกใจก็หักพวงมาลัยขึ้นขวางกลางถนน พอดีมีรถปิกอัพสวนมาเลยชนกันตรงช่วงล้อหน้าด้านซ้าย แต่ไม่คว่ำ ยางรถแตก กระจกหน้าหลังหลุดหมด สภาพรถเสียหายมาก ผมลงจากรถมาก็ตกใจ คนขับรถปิกอัพถูกพวงมาลัยกระแทกหน้าอกบาดเจ็บ แต่ไม่สลบ ฟกซ้ำดำเขียวไปทั้งตัว ส่วนตัวผมไม่เป็นอะไรเลย เพราะตอนนั้นผมคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๘ ซึ่งก็ผ่านมานานแล้ว ผมเริ่มใช้เข็มขัดนิรภัยเพราะได้แนวคิดมาจากบริษัท ก็ ๑๐ ปีกว่า ผมกับครอบครัวก็ใช้เข็มขัดนิรภัยมาตลอด ตอนแรกที่ใช้ก็รู้สึกรำคาญบ้าง แต่พอนานไปก็จะเคยชิน และถ้าไม่มีเข็มขัดนิรภัยก็จะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เหมือนอย่างวันนั้นถ้าผมไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ผมคงต้องตายแน่
ผมว่าถ้าจะมีการบังคับใช้เข็มขัดนิรภัยก็น่าจะทำให้เหมือนกับการบังคับใช้หมวกนิรภัยที่ไม่ควรขะบังคับใช้เฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ผมว่าน่าจะบังคับใช้กันทั่วประเทศ เพราะการเดินทางบนถนนต่างจังหวัดก็มีอันตรายที่เกิดจากการใช้ความเร็วไม่ต่างกับถนนในกรุงเทพฯ ซึ่งบางช่วงรถไม่ติดและถนนว่างเราก็อาจจะขับเร็วจนถึง ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งการใช้เข็มขัดนิรภัยช่วยลดความรุนแรงได้หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ทิพวรรณ ชัชวาลย์
ผู้เคยประสบอุบัติเหตุ
วันนั้นไปอำเภอแม่สอดกับเพื่อน ๒ คน ตอนขากลับเป็นตอนกลางวัน แต่ฝนตกถนนลื่นก็คาดเข็มขัดนิรภัยอยู่นะคะ พอดีเพื่อนเขาไม่ได้คาดเพราะไม่ชอบ ก็เลยบอกเขาให้คาดเข็มขัดชะ ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า เกิดบาดเจ็บขึ้นมาก็จะได้บาดเจ็บน้อยลง เขาก็เชื่อเพราะสภาพถนนลื่นมาก
พอขับลงมาได้ไม่ถึง ๑ กิโลเมตร ตรงนั้นเป็นทางโค้งหักศอก เราขับกินเลนเขาพอดีมีรถปิกอัพสวนขึ้นมา คนขับเป็นผู้ชายมีผู้หญิงกับเด็กนั่งมาด้วย ถนนมันลื่นมาก เราหักเข้าซ้ายสุดพวงมาลัย ก็ไม่เข้าแล้ว เรารู้เลยว่าต้องชนแน่ ๆ พอชนกันปุ๊บ รถเรากระเด็นไปจนรถหมุนกลับขึ้นเขามาอีกทางหนึ่ง จุกมากค่ะ ลุกไม่ขึ้น
เพื่อนเขารู้สึกตัวก่อน ก็ออกจากรถทางหน้าต่าง เพราะสภาพรถส่วนหน้ายุบไป ๓๐ เปอร์เซ็นต์ คนที่ดูสภาพรถแล้วก็คงคิดว่าไม่รอดแน่ แต่ก็รอดมาได้เพราะเข็มขัดนิรภัยนี่แหละค่ะ โดยเฉพาะเพื่อนเขาขอบคุณดิฉันมากเพราะถือว่าดิฉันเป็นคนช่วยเขาแท้ ๆ ถ้าดิฉันไม่บอกให้เขาคาดเข็มขัดนิรภัย ก็คงต้องกระเด็นออกจากรถและคงไม่รอดแน่ ๆ เพราะชนกันแรงมาก
ส่วนรถปิกอัพนั้นเขาตกลงไปข้างทางซึ่งโชคดีมาก เพราะตรงที่ตกลงไปนั้นพอมีเนื้อที่ให้รถอยู่ได้ไม่ตกเหวไป รถยางแตก ได้รับบาดเจ็บกันทุกคน คนขับนี้รู้สึกจะน้อยหน่อย ผู้หญิงฟันข้างหน้าหลุดเพราะไปกระแทกกับคอนโซลข้างหน้า ส่วนเด็กนี่หัวเจาะเลย เพราะรถเขาไม่มีเข็มขัดนิรภัยให้คาด
ส่วนตัวดิฉันไม่มีบาดแผล มีที่คอเป็นรอยเข็มขัดนิดหน่อย แต่ว่าเจ็บตรงช่วงหลัง หน้าอก เพราะโดนกระชากไงคะ แต่เข็มขัดไม่หลุด ตอนกลางคืนนี่จะปวดตัวช่วงบนมาก พอกลับมาที่กรุงเทพฯ ไปเอกซเรย์ดูปรากฏว่าเป็นแค่กล้ามเนื้อช้ำเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าไม่มีเข็มขัดนิรภัยนี่ก็คงตายไปแล้ว โดยเฉพาะคนขับนี่ไม่รอดแน่ ๆ
ตั้งแต่นั้นมาก็คาดเข็มขัดนิรภัยตลอด พอขึ้นรถก็คาดเลย เพราะถึงเราไม่ชนเขา เขาก็ชนเราได้ เราไม่รู้นี่คะว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นมาตอนไหน และถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยนี่ดิฉันก็จะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยตลอดเวลา
อยากจะฝากไว้นะคะว่าควรจะคาดเข็มขัดนิรภัยซะเพื่อคนที่รักเรา หรือเพื่อคนที่เรารัก เพราะมันจะช่วยเราได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้บาดเจ็บน้อยลง ปลอดภัยไว้ก่อนดีที่สุด อย่าไปเสี่ยงเลยนะคะ

ข้อมูลสื่อ

169-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 169
พฤษภาคม 2536
บทความพิเศษ
สนประดิพัทธ์