ลักษณะของนิ้วมือ
การแพทย์จีนเชื่อว่าความแข็งแรงของพลังม้าม(ในทัศนะของแพทย์จีน) มีผลกระทบต่อสมรรถนะของมือโดยตรง นอกจากนี้นิ้วทั้งห้ายังสามารถสะท้อนสภาพความแข็งแรงของร่างกายตามขั้นตอนของวัยที่แตกต่างกัน คือ (ตารางที่ 1)
การดูลักษณะของนิ้วนั้นที่สำคัญคือ ดูความสั้นยาว ความตรง ความคด ความอ่อน ความแข็ง สีของนิ้วมือ เป็นต้น ลักษณะต่างๆ ของนิ้วมือดังที่กล่าวมาแล้วจะทำให้เราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของร่างกายกับการเกิดของโรค ดังตารางที่ 2
ลักษณะของนิ้ว ลักษณะพิเศษที่ปรากฎ สภาวะความแข็งแรงของ
ให้เห็นภายนอก ร่างกายและโรคที่เกิดได้ง่าย
ปลายนิ้วเป็นรูปเหลี่ยม โดยทั่วไปมีร่างกายแข็งแรงแต่
มีบางคนอาจเกิดเกี่ยวกับระบบ
ประสาท
ปลายนิ้วมีรูปร่างคล้ายช้อน ร่างกายแข็งแรง แต่มีบางคน
อาจเกิดโรคความดันสูง โรค
หลอดเลือดในสมอง และโรค
หัวใจ
นิ้วเรียวยาว ข้อนิ้วห่าง โดยทั่วไปร่างกานค่อนข้าง
อ่อนแอ มักเกิดดรคเกี่ยวระบบ
ย่อยอาหารได้ง่าย
ปลายนิ้วกลม นิ้วยาวปลาย สุขภาพพอใช้ได้ บางคนอาจ
เล็ก ลักษณะปลายเรียวยาว เกิดโรคเกี่ยวกับทรวงอก และ
ซี่โครงได้ง่าย
นิ้วมือทั้ง 5 มีลักษณะแตกต่าง ร่างกายแข็งแรงไม่ค่อยเป็นโรค
กันบางครั้งลักษณะรูปช้อน รูป
ข้อไผ่ หรือรูปอื่นๆผสมกัน
ปลายนิ้วโตคล้ายหัวไม้ขีด แสดงให้เห็นว่ามีอาการโรค
กลาง และโคนนิ้วมีขนาดเล็ก หัวใจมาตั้งแต่กำเนิด และมีโรค
กว่าปลายนิ้วกล้ามเนื้อบริเวณ เรื้อรังเกี่ยวกับระบบทางเดิน
ฝ่ามือไม่ค่อยมี หายใจ
หมายเหตุ จะต้องสังเกตและจำแนกความแตกต่างระหว่างนิ้วมือรูปช้อนกับรูปหัวไม้ขีด(ภาพที่2และ6)
นิ้วมือรูปช้อน ปลายนิ้วคล้ายช้อน นิ้วและฝ่ามือมีเนื้ออูมแน่น(ภาพในข้อ 2) ส่วนนิ้วมือรูปไม้ขีดมักเกิดโรค ด้วยเหตุนี้นิ้วมือและฝ่ามือจะค่อยๆเล็กลงไม่ค่อยมีเนื้อ(ภาพในข้อ 6)
ด้วยเหตุนี้การดูลักษณะรูปร่างของนิ้วมือ จึงทำให้เราสามารถเข้าใจถึงสมรรถนะของอวัยวะภายในได้
นอกจากนี้การดูลักษณะรูปร่างของนิ้วมือแต่ละนิ้วมือ ยังสามารถทำให้เรารู้ถึงความบกพร่องของอวัยวะภายใน และทำนายการเปลี่ยนแปลงของโรคได้
- อ่าน 11,573 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้